7.5.09

Supermarket Tour(5) จีเอ็มโอ ต่อชีวิตหรือปลิดชีวิต


ภาพจาก http://i.treehugger.com/files/gmo-patent-pending-01.jpg

เทคโนโลยีทางชีวภาพ แบบหนึ่งที่เรารู้จักกันดี คือ การตัดต่อพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ (Genetically Modified Organisms or GMOs) ซึ่งก็เป็นหัวข้อที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในวงการทางวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง ว่าแท้จริงแล้วข้อดีข้อเสียของจีเอ็มโอคืออะไรกันแน่ แต่แม้ไม่มีเทคโนโลยีตัวที่ว่านี้ เกษตรกรก็มีวิธีการคัดเลือกเมล็ด และพัฒนาสายพันธุ์พืชที่มีมานานแล้ว ทั้งยังเป็นกระบวนการที่ปล่อยให้เป็นไปตามวิถีของธรรมชาติ และมักจะเป็นการผสมในสายพันธุ์เดียวกัน

ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้า และทั้งก้าวกระโดดอย่างมากของจีเอ็มโอนี่เอง ทำให้มีการผสมข้ามสายพันธุ์ ข้ามประเภท ไม่ว่าจะเป็นการใส่ยีน (หน่วยพันธุกรรม) แบคทีเรียลงไปในข้าวโพด ใส่ยีนต้านการเยือกแข็งของปลาลงในมันฝรั่งฯลฯ มีข้ออ้างต่างๆ นานาในการเดินหน้าทดลองและนำใช้พืชจีเอ็มโอของบรรษัทยักษ์ใหญ่อย่างมอนซานโตนั้น เราลองมาดูซิว่าเขามีเหตุผลอะไรกันบ้าง

ข้ออ้างข้อแรก ของทางฝั่งมอนซานโต นั่นก็คือ เทคโนโลยีทางชีวภาพนี้จะช่วยให้เราสามารถขยายสายพันธุ์พืชให้ดีกว่ายิ่งขึ้นได้ เพิ่มปริมาณผลผลิต ทั้งนี้ก็เพื่อการช่วยลดบรรเทาความอดยากหิวโหยของจำนวนประชากรโลกที่นับวันก็มีแต่จะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากข้อมูลงายวิจัยล่าสุด การตัดต่อพันธุกรรมพืช หรือการพัฒนาสายพันธุ์กว่า 80% เป็นไปเพื่อให้พืชมีภูมิต้านทานโรคและแมลงให้ดีขึ้น ส่วนที่เหลือเป็นการยืดอายุให้พืชผัก ผลไม้สุกช้ากว่าปกติเพื่อให้การขนส่งสินค้าได้นานขึ้น หรือพยายามให้มีปริมาณน้ำมันในเนื้อมันฝรั่งลดน้อยลง ไม่มีการการดัดแปลงเพื่อการผลิตอาหารที่พัฒนาเพื่อคุณภาพอาหารอย่างแท้จริง เพื่อความหิวโหยเลย

ยกตัวอย่าง การพัฒนาพันธุ์ข้าวสีทอง กล่าวคือ เป็นการเพิ่มสารเบต้า แครอทีน (ช่วยสร้างแหล่งกักเก็บวิตามินเอให้ร่างกาย) ซึ่งเป็นการพัฒนาอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าหรือสารอาหารบางอย่างให้พืช แต่ไม่ได้เป็นความพยายามจะตอบปัญหาที่จะลดปัญหาประชากรโลกที่กำลังประสบภาวะขาดสารอาหาร หรือมีอาหารไม่เพียงพอแต่อย่างไร

ภาวะขาดแคลนอาหาร หรือความอดยาก มีสาเหตุจากความยากจน พืชจีเอ็มโอไม่ได้เปลี่ยนแปลงความเป็นจริงตรงนี้ได้เลย (มีแต่สร้างความร่ำรวยให้กับบรรษัทนายทุน) ตอนนี้เรามีอาหารมากเพียงพอที่จะให้กับมนุษย์ทุกๆ คนบนโลกอย่างน้อยที่สุด คนละ 3,500 แคลอรี่ต่อวัน สูงกว่ามาตรฐานความความต้องการอาหารในแต่ละวันด้วยซ้ำ (แต่เนื่องด้วยปัญหาการกระจายทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรม และเท่าเทียม นโยบายทางการเมือง และนโยบายทางเศรษฐกิจของโลกยุคโลกาภิวัตน์ต่างหากที่เป็นสาเหตุสำคัญ) ปัญหาที่เป็นอยู่จึงไม่ใช่ความอดยากที่ผลผลิตไม่มากพอ

แต่ตอนนี้ กลับมีเด็กจำนวนมากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และกินอาหารเกินความจำเป็น (เช่น โรคอ้วนของเด็ก และผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ จากการกินอาหารฟาสฟู้ดมากจนเกินไป) ฉะนั้นโลกจึงต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น ที่จะกระจายอาหาร และความอุดมสมบูรณ์ไปสู่ประเทศต่างๆ ในโลกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่การหันมาสู่พืชจีเอ็มโอ (อีกทั้งผลผลิตจากการทำเกษตรกรรมตามธรรมชาติให้ผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ และมีความยั่งยืนมากกว่าเกษตรเข้มข้น หรือการตัดตอนการเติบโตทางธรรมชาติด้วยจีเอ็มโอ)

Supermarket Tour(4) เกษตรเชิงเดี่ยว ฆ่าตัดตอนพันธุ์พืช


















ความหลากหลายของพันธุ์พืชทางการเกษตรถือเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างมาก เพื่อความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์โลก หากปราศจากสิ่งนี้เชื่อแน่ว่า คงไม่ใช่แค่รสชาติบางอย่างจะสูญหายไป แต่คุณลักษณะ คุณสมบัติที่สำคัญบางอย่างของพืชนานาชนิดนี้ก็คงจะสูญสลายไปด้วย ในฟิลิปปินส์ ประเทศซึ่งเคยมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหลายพันชนิด แต่ภายหลังการปฏิวัติเขียวในช่วงกลางศตวรรษ 1980 (พ.ศ.2523) ทำให้เหลือพันธุ์ข้าวเพียง 2 ชนิดที่ปลูกในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศมากถึง 98%

ชะตากรรมของพืชพันธุ์ไม่ได้หยุดยั้งแค่นี้ เพราะการทำเกษตรแบบเข้มข้น-เกษตรเชิงเดี่ยวเพิ่มขึ้น ทำให้อำนาจในการพัฒนาสายพันธุ์พืชตกไปอยู่ในมือของบริษัทใหญ่ๆ ต่างๆ ที่มีอำนาจล้นพ้นในการเกษตรแบบใหม่ ที่จะเป็นทั้งผู้ให้เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย (ยาปราบศัตรูพืช) แก่เกษตรกร และบริษัทเหล่านี้ยังเป็นผู้กำหนดชะตาอุตสาหกรรมการเกษตรอีกด้วย

การเปลี่ยนมือครั้งสำคัญนี้เอง ทำให้การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของเกษตรรายย่อยจำนวนนับล้าน ตกไปอยู่ในกำมือของบรรษัทขนาดใหญ่ที่คอยควบคุม ผลิตและขายเมล็ดพันธุ์พืชเพียงไม่กี่แห่ง แค่ในสหรัฐฯ และแคนาดา แม้บริษัทค้าเมล็ดพันธุ์ขนาดเล็ก จำนวนกว่า 125 บริษัทกลับต้องถูกเขี่ยออกจากธุรกิจนี้ไป หรือไม่ก็ถูกบริษัทด้านเภสัชกรรม และยาเคมีซื้อต่อ เพื่อฮวบรวมกิจการด้านการเกษตรเข้าไว้ด้วยกัน แล้วเกษตรกรรายย่อยจะเหลือไหมเนี่ย

ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งที่พันธุ์พืชต่างๆ ที่เกษตรกรได้พัฒนาสายพันธุ์ (ทนทานต่อฟ้าฝน ความแห้งแล้ง แมลงศัตรูพืช) หรือวิธีคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ไว้กำลังสูญหายไป พร้อมกันกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และกลวิธีอันชาญฉลาดด้านการเพาะปลูก

คุณผู้อ่านค่ะ “ความหวังยังคงมีอยู่” ปัจจุบันมีธนาคารเมล็ดพันธุ์จำนวนหนึ่ง ที่นักวิทยาศาสตร์นักวิจัยกำลังช่วยเก็บรักษาพันธุ์พืชที่ตกอยู่ในอันตรายแล้ว ไม่เพียงเท่านั้นยังมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ ที่คอยช่วยด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ในการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ และช่วยส่งเสริมความหลากหลายทางเมล็ดพันธุ์กันอย่างแข็งขัน เราทุกคนก็จำเป็นต้องช่วยกันส่งเสริม สนับสนุนเกษตรแบบยั่งยืน หรือเกษตรทางเลือกด้วย เพื่อจะสามารถเสริมพลังอำนาจให้เกษตรกรรายย่อย และเพื่อรักษาสายพันธุ์พืชดั้งเดิมต่างๆ ไว้ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นคือ มรดกทางธรรมชาติ และความหลากหลายทางด้านเกษตรกรรมอย่างแท้จริง

Supermarket Tour(3) เท่าที่เห็น คือ เท่าที่มีอยู่จริงหรือ?

DSC01232

คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมร้านค้าซุปเปอร์มาร์เก็ตทั้งหลาย ถึงมีสินค้าวางขายเพียงไม่กี่ชนิด และเราก็จะเห็นอยู่ซ้ำๆ แบบเดิมๆ เห็นได้ว่ามีข้าวเพียงไม่กี่ชนิด มีแอปเปิ้ล มีกล้วยวางขายอยู่ไม่กี่ชนิด เอ...หรือว่ามันมีอยู่แค่นั้นจริงๆ แต่คุณคงต้องประหลาดใจว่าพืชผัก ผลไม้เหล่านี้มีอยู่หลายพันชนิด และอีกหลายร้อยสายพันธุ์ ว่าแต่ว่าทำไมเราไม่เคยเห็น ไม่มีเอามาวางขาย แล้วมันหายไปไหนหมดเนี่ย...

ในอดีตกาลสามารถกล่าวได้ว่า พืชพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลกถูกสร้างสรรค์ขึ้นมากมาย และด้วยการสะสมประสบการณ์จากผู้เพาะปลูกและธรรมชาติ ทำให้พืชพันธุ์ที่ปลูกมีความต้านทานโรค/แมลงได้ดี ทดต่อสภาพแห้งแล้ง แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป หลังจากการปฏิวัติเขียว และการผสมข้ามสายพันธุ์ต่างๆ ทำให้สายพันธุ์มีจำนวนลดน้อยลง เป็นปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นไปทั่วโลก

เกษตรกรในอินเดียสามารถพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต่างๆ ได้มากถึง 200,000 ชนิด อย่างไรก็ตามเวลาผ่านไปนานกว่า 20 ปี พันธุ์ข้าวหลายพันชนิดก็ได้สูญหายไปแล้ว ในขณะนี้มีข้าวเพียง 12 ชนิดเท่านั้นที่ครอบครองตลาดผู้บริโภคอยู่ นอกจากนี้ด้านการค้าพันธุ์ปศุสัตว์ ทั่วโลกที่มีพันธุ์สัตว์กว่า 4,000 ชนิด ในจำนวนนี้ ประมาณ 27% ของทั้งหมดกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ และกำลังสูญพันธุ์ไปอย่างน้อย 5% ในทุกปี, 1 สายพันธุ์ของวัวที่เสียไปทุกปี และสำหรับพันธุ์ม้าและหมู เรากำลังเสียพันธุ์สัตว์เหล่านี้ไปทุกสัปดาห์ สัตว์น้ำทะเล และน้ำจืดก็ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน จากการจับปลาที่มากเกินไป (ธรรมชาติไม่สามารถฟื้นฟูได้ทัน)

ช่วงปี 2443 มีแอปเปิ้ลกว่า 7,500 ชนิดที่ปลูกในแถบอเมริกาเหนือ ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่ร้อยชนิดเท่านั้นที่ยังหลงเหลืออยู่ และมีแอปเปิ้ลเพียงแค่ 12 ชนิดเท่านั้นที่ปลูกเพื่อการค้า อีกทั้งแม้ว่าจะมีมันฝรั่งมากถึง 2,000 สายพันธุ์/ตระกูล แต่ในเชิงพาณิชย์ทำให้มันฝรั่งเหลือเพียง 12 ชนิดใน 1 สายพันธุ์เท่านั้นที่ครอบครองพื้นที่ในการเพาะปลูกของสหรัฐมากถึง 85%

แปลและตัดต่อ/เรียบเรียงจาก The Supermarket Tour (2002). Research and writing by Stella Lee, Caroline Liffman, and Cidy McCulligh. OPIRG Publication, McMaster University – Hamilton Ontario Canada.

1.5.09

Supermarket Tour(2) : เตือนสติก่อนซื้อ – อาหารปนเปื้อนสารเคมี

GMOs copy

ลองใช้เวลาหยุดคิดกันอีกสักยก ผักผลไม้ที่คุณกำลังจะซื้อ สดจริงหรือไม่? แล้วเป็นพืชผักตามฤดูกาลหรือเปล่า? แล้วที่สำคัญสิ่งที่คุณกำลังกินเข้าไป เป็นพืชผักปลอดสารเคมีหรือไม่? คุณรู้จักเกษตรอินทรีย์ หรือ พืช Organic อ่ะเปล่า?

เพราะในปัจจุบันแม้ว่าชาวแคนาดาจะซื้ออาหารกินกันอยู่ตลอดเวลา แต่ก็มีน้อยคนนักที่รู้ว่าแหล่งผลิตอาหารที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใด และหนึ่งคำที่คุณกำลังหม่ำอยู่ กำลังส่งผลกระทบไปทั่วโลก เพราะสุขภาพของแรงงานในภาคเกษตรกำลังย่ำแย่เนื่องมาจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกอย่างเข้มข้น และกำลังทำลายสภาพสิ่งแวดล้อมในประเทศกำลังพัฒนาให้เสื่อมโทรมลง อย่างน่าใจหาย

ทั้งนี้คนได้รับสารเคมีทั้งทางตรง และทางอ้อม จากพืชผักผลไม้ที่เราเลือกกิน และจากเนื้อสัตว์ที่อาหารเลี้ยงสัตว์ (พืช) มีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ สารเคมีดังกล่าวคือยาปราบศัตรูพืชนานาชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ขึ้น แม้ว่าการตรวจสอบของรัฐบาลจะไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไรที่ว่า หากร่างกายมนุษย์ได้รับสารเคมีเพียงเล็กน้อยนั้น จะไม่ส่งผลกระทบร้ายแรงอะไรเลย ต้องขอบอกได้ว่าไม่จริง...

หากร่างกายสะสมสารเคมีไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ย่อมจะแสดงผลออกมา ทั้งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง เกิดข้อบกพร่องในการตั้งครรภ์ กระทบกระเทือนระบบสืบพันธุ์-การทำงานของฮอร์โมน ทั้งยังทำลายระบบประสาทและสมอง และมีส่วนทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายด้วย

ถ้าคุณฝากความหวังไว้กับการค้นคว้าวิจัยของรัฐแล้วล่ะก็ มันอาจไม่ปลอดภัย 100% เนื่องด้วยในจำนวนสารเคมีกว่า 100,000 ชนิดที่ใช้กันอยู่รอบโลกนี้ และสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด เพิ่มไปอีกกว่า 1,000 ชนิดใหม่ๆ ที่ถูกนำมาใช้มากขึ้นเกือบทุกปี แน่นอนว่าระยะเวลาของการทดลองผลกระทบจากสารเคมีแต่ละชนิดย่อมไม่รอบด้าน และครบถ้วนเพียงพอ ด้วยระยะเวลาอันสั้น และการทดลองแยกชนิดจึงไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่สารเคมีถูกใช้อย่างแพร่หลาย เป็นเวลานาน แถมยังใช้ปนกันด้วย

การสะสมของสารเคมีในระยะเวลานานวัน กอปรกับการใช้สารเคมีผสมกันหลายชนิด ยังไม่มีรายงานผลกระทบที่ชัดเจนจากรัฐบาลเลย อีกทั้งไม่มีการวิจัยอย่างจริงจัง ในขณะที่เด็กกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงมากที่สุด เพราะตามธรรมชาติเด็กกินอาหารเยอะกว่า ดื่มน้ำเยอะกว่า และสูดอากาศเยอะกว่าผู้ใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบตามอัตราส่วนปริมาณน้ำหนักของร่างกาย

ยาปราบศัตรูพืชเหล่านั้นจึงส่งผลเสียต่อเนื้อเยื่อสมองและการเจริญเติบโตของร่างกายของเด็ก ที่ยังไม่หยุดนิ่ง ทั้งยังมีอัตราการทำงานของกระบวนการเมทตาบอลิซึมสูงกว่าวัยผู้ใหญ่อีกด้วย ฉะนั้นเราคงต้องจริงจัง และตระหนักเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ลูกหลานในอนาคตของเราจะสามารถดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไรกัน...

ย้อนกลับไปดูสารดีดีที และเมททิล โบร์ไมด์ ที่เพิ่งกำลังมาค้นพบเมื่อไม่นานมานี้เองว่าเป็นสารเคมีที่เป็นพิษร้ายแรง ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกา แคนาดา ห้ามใช้สารเคมีนี้แล้ว แต่กระนั้นเราก็ยังพบการใช้สารตัวนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และด้อยพัฒนาอยู่นั่นเอง (การเลือกปฏิบัติ)

ส่วนคำขวัญที่ว่า “กินแอปเปิ้ลวันละลูก ช่วยให้คุณห่างไกลหมอ” นั่นก็ไม่จริงอีกต่อไปแล้ว ข้อมูลในสหรัฐอเมริการายงานว่า เด็กอายุราว 5 ปีและต่ำกว่าประมาณ 20 ล้านคน เด็กได้รับสารเคมีเฉลี่ย 8 ชนิดต่อวัน และราว 2,900 ชนิดต่อปี จากการกินอาหารล้วนๆ โดยเฉพาะจากผลแอปเปิ้ลและลูกพีช (ผลไม้ชนิดหนึ่งคล้ายลูกท้อ) อีกทั้งสถิติการใช้สารเคมีในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่า 8% (หรือราว 27 ล้านกิโลกรัม) นับจากปี 2532

เรื่องกล้วยๆ ที่ไม่ง่าย และไม่อร่อยเลย
ขอยกตัวอย่างเรื่อง “กล้วย กล้วย” ในแคนาดาสักหน่อย กล้วยสีเหลืองอร่ามน่ากิน ที่มีราคาถูกแต่คุณค่าทางอาหารเยี่ยมนี้ ทำให้คนแคนาดากินกล้วยเฉลี่ย 13 กก.ต่อปี แต่เสียเงินซื้อเพียงน้อยนิดเท่านั้น แต่คนแคนาดาคงตกใจเมื่อทราบว่า กล้วยที่นำเข้ามาจากประเทศคอสตาริกานี้ อุตสาหกรรมปลูกกล้วยกำลังขยายพื้นที่เพาะปลูกจนคุกคามพื้นที่ป่าฝนที่อุดมสมบูรณ์ไปเป็นจำนวนมาก และกำลังทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพืชและสัตว์ไปอย่างรุนแรง (ไม่ต่างไปจากประเด็นเรื่องสวนส้มสายน้ำผึ้งที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่เลย) พื้นที่หนึ่งของโลกกำลังเสียสมดุลทางธรรมชาติจากการส่งออก และนำเข้ากล้วย

แม้ว่าการใช้สารเคมีเพื่อให้กล้วยออกมาสีเหลืองน่าอร่อยแล้ว มันกำลังส่งผลให้สภาพดินเสื่อมโทรมลง ศัตรูพืชเพิ่มขึ้น (เนื่องจากการดื้อยา และแมลงที่ควรจะกินพวกมันถูกฆ่าตัดตอนไปแล้ว) ทางเลือกเดียวของบริษัทกล้วยคือโหมใช้สารเคมีมากขึ้น ใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้นเท่านั้นเอง! “นกที่เคยบินไปมา ร้องขับขาน เสียงสัตว์ป่าที่เคยบรรเลงเพลงธรรมชาติ” สิ่งเหล่านี้กำลังเลือนหายไป...

การปนเปื้อนของสารเคมีไม่ได้ตกอยู่ที่เราในฐานะผู้บริโภคโดยตรงเท่านั้น แต่สิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ อากาศก็ตกเป็นเหยื่อไม่ต่างไปจากมนุษย์ แต่สุดท้ายแล้วมนุษย์ก็คงมีชีวิตอยู่ต่อไปไม่ได้ หากธรรมชาติเป็นพิษสำหรับเรา ขยะและกากจากสารเคมีเกิดขึ้นทุกครั้งหลังใช้ ถุงพลาสติกจำนวนมากถูกเททิ้งลงแม่น้ำและลำธาร สารพิษกระจายสู่ดินและน้ำ ปนเปื้อนไปทุกหนทุกแห่ง สารตกค้างจากสารเคมีเพียง 0.1% เท่านั้นจะสะสมอยู่ที่แหล่งที่ใช้ แต่อีก 99.9% จะปนเปื้อนไปกับสิ่งแวดล้อม และด้วยเหตุนี้จึงมีข่าวเกิดขึ้น เมื่อสารพิษจากสวนกล้วยเป็นเหตุทำลายแนวปะการังชายฝั่งคอสตาริกาในทะเลแคริบเบียนไปแล้ว 90%

คนงานที่ใช้แรงงานเพื่อการปลูกและเก็บเกี่ยวต้องเผชิญกับค่าแรงต่ำกว่ามาตรฐาน และต้องเผชิญกับสภาวะการทำงานที่เป็นพิษ พวกเขาไม่มีทางเลือกในการทำงานมากนัก (เนื่องจากขาดการศึกษาเพราะเข้าไม่ถึง เป็นแรงงานผิดกฎหมาย แรงงานข้ามชาติ เป็นต้น) จึงมีเพียง 2 ตัวเลือกให้เลือกเท่านั้น คือ ไม่ต้องทำ ไม่ได้เงิน หรือทำได้เงินจริง แต่ก็เป็นค่าแรงแสนต่ำและยังถูกกดขี่

ไม่เพียงแค่นั้น ด้วยค่าแรงสุดโหด จึงผลักให้แรงงานเหล่านี้ประสบกับภาวะยากจน ติดเหล้า ติดยาเสพติด การใช้ความรุนแรง ปัญหาอาชญากรรม และการขายบริการทางเพศ... องค์กรอนามัยโลกเคยประมาณการณ์ว่ามีแรงงานจากภาคเกษตรซึ่งมีฐานะยากจนกว่าภาคส่วนการผลิตอื่นๆ ต้องสังเวยชีวิตไปถึง 200,000 คนในจำนวน 3 ล้านคนต่อปี เนื่องจากสารพิษที่ใช้ในการเกษตรกรรมอีกด้วย

อย่ายอมแพ้ – คุณช่วยได้!
วิธีการช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่น คุณสามารถทำได้ (จงอย่ายอมแพ้กับปัญหา) ดังนี้คือ 1.หันมาบริโภคผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ และแม้ว่าคุณต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกสักนิดหน่อยก็ตาม เนื่องจากเกษตรอินทรีย์นั้นจ่ายค่าแรงงานอย่างเป็นธรรม ปลอดสารพิษ แต่คนไม่นิยมเท่าไร และรัฐบาลก็ไม่ค่อยสนับสนุน 2. บอกผู้จัดการร้านค้าข้างบ้านว่าคุณต้องการซื้อสินค้าปลอดสารพิษ ขอให้เขาหามาเพิ่มและขายให้เรา 3. หากคุณมีที่ดินอยู่หลังบ้าน หรือที่ดินสาธารณะ ลองปลูกพืชกินเอง แต่อย่าลืมทดสอบดินก่อนปลูกด้วยว่า มีสารพิษเจือปนอยู่หรือไม่ 4. ซื้อผักผลไม้ที่ปลูกในท้องถิ่น และกินพืชผักตามฤดูกาล 5. หากคุณไม่สามารถซื้อหาพืชปลอดสารได้ ก็จงปลอกเปลือกผักผลไม้ที่คุณกิน โดยเฉพาะหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ก็ขอให้ลด หรือเลิกกินไปเลย

6. อย่าใช้สารเคมีในละแวกบ้านของคุณ เพราะเด็กๆ จะได้รับผลกระทบอย่างมาก 7. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หรือตั้งบ้านใกล้สนามกอล์ฟ เนื่องจากเขาใช้สารเคมีมากกว่าที่ใช้ในการเกษตรเสียอีก พร้อมทั้งร้องเรียนไปยังรัฐบาลของคุณด้วยว่า ให้หยุดใช้สารเคมีในพื้นที่สาธารณะเช่น สวนสาธารณะ และโรงเรียน และ 8. หันมาซื้อสินค้าที่ระบุว่าเป็น “Fair Trade” หรือการค้าที่เป็นธรรม เพราะแม้ว่าคุณจะจ่ายเงินแพงขึ้น แต่คุณก็รู้ว่าคุณจ่ายไปเพื่ออะไร เพื่อค่าแรงที่เป็นธรรม การเพาะปลูกที่ปลอดสารเคมี การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ทำลายป่า ดิน น้ำ อากาศ และมีกระบวนการกำจัดขยะที่ดี ข้อสำคัญกรุณาช่วยบอกต่อสิ่งเหล่านี้ให้คนรอบข้างของคุณด้วย

...ติดตามอ่านต่อได้ เพื่อรู้ลึกรู้ทัน “ซุปเปอร์มาร็เก็ต” ให้มากขึ้น ในตอนต่อไป

มาตาปารี เด็กชายจากดวงดาว





























จักรวาลก้าวไปข้างหน้าภายใต้ปริศนา
และคนเราน่ะก็เกิดมากิน เต้นรำ หลับนอนกัน
แล้วก็ใช้เวลาที่เหลือ...
พยายามล้วงความลับที่ซุกซ่อนภายใต้รูปลักษณ์ที่ตามองเห็น
เพราะเหตุนี้คนถึงเขียนหนังสือ
ส่วนคนที่เขียนหนังสือไม่เป็นก็เรียนรู้จากป่า
ฟังเสียงสัตว์ขุดดินหรือจ้องมองดวงดาว
จงหัดอ่านหนังสือไว้นะหลานเอ๊ย
จงหัดอ่านทั้งหนังสือที่มนุษย์และจักรวาลเขียนไว้
แล้วก็หมั่นเรียนรู้ จงเรียนรู้จากปราชญ์อยู่เสมอ...
(เทซโซ ดิอา มาเยลา ปู่ของมาตาปารี)

มาตาปารี เด็กชายจากดวงดาว/ เอ็มมานูเอล ดอนกาลา : เขียน; งามพรรณ เวชชาชีวะ : แปล จากภาษาฝรั่เศส เรื่อง Les petits garçons naissent aussi des étoiles.- กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์, 2548.

เช้าวันหนึ่ง...
มีเด็กชายฝาแฝดสองคนถือกำเนิดขึ้น แต่หากรู้ไหมว่ามีเด็กชายที่เป็นแฝดคนที่สามอีกคนติดอยู่ในท้องแม่ เวลาผ่านไปถึงสองวัน ผู้เป็นแม่รู้สึกปวดท้องขึ้นมาอีกครั้ง สุดท้ายก็ได้คลอดเด็กน้อย น้องคนสุดท้อง (สุดท้องจริงๆ) ออกมา และให้ชื่อเด็กที่ถือกำเนิดอย่างพิสดารคนนี้ว่า “มาตาปารี”

มาตาปารี
เด็กน้อยที่เป็นตัวเล่าเรื่องหลักในนวนิยาย (อิงประวัติศาสตร์) เล่มนี้
เล่าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศของเขา ดินแดนแห่งหนึ่งในแถบทวีปแอฟริกา
เมื่อลัทธิล่าอาณานิคม-จักรวรรดินิยมใหม่ฝรั่งเศส เข้ามาครอบครองดินแดนของเขา
ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไป คริสต์ศาสนาเข้ามามีบทบาทชะล้างความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่น
บาทหลวงเข้ามา ทหารเข้ามา ระบบการเมืองการปกครองแบบใหม่ก็เข้ามาด้วย

ปู่ของมาตาปารี เป็นครูในโรงเรียนชนบทแต่กลับมีบทบาทสำคัญเรียกร้องให้รัฐหันกลับมาสนใจหลักสูตรท้องถิ่น ที่สอนให้เด็กเข้าใจวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม รู้จักป่า รู้จักพืชท้องถิ่น เรียนรู้จากต้นไม้ เรียนรู้จากปราชญ์ท้องถิ่น... ปู่ของเขายืนหยัดต่อสู้กับรัฐบาลอย่างจริงจัง สุดท้ายต้องตกเป็นเป้า
“ผู้ที่สั่นคลอนความมั่นคงของประเทศชาติ” อีกต่างหาก

ต่อมา เมื่อภายหลังการปลดแอกจากฝรั่งเศส ระบอบประชาธิปไตยเข้ามา แต่มันกลับไม่ยั่งยืน ด้วยระบอบของอำนาจนิยม และเผด็จการ ประชาธิปไตยในบ้านเกิดของมาตาปารีจึงเป็นอันต้องล้มลุกคลุกคลานเสมอ มาตาปารี เรียนรู้จากการได้ฟัง การได้เห็น และการสัมพันธ์ กระสุนปืนและคราบเลือดของผู้คน ที่พยายามจะต่อกรกับรัฐบาลเผด็จการยุคแล้วยุคเล่า

หนังสือเล่มนี้ แม้ชื่อเรื่องจะฟังดูแล้ว เหมือนกับนวนิยายเด็ก วรรณกรรมเยาวชน แต่ขอยืนยันว่า “เด็กอ่านได้ แต่ผู้ใหญ่อ่านดีกว่า” ความซับซ้อนของความคิดของผู้ใหญ่ ความฉ้อฉลคดโกง ความกระหายในศักดิ์และศรี หรืออำนาจของมนุษย์ ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านการบอกเล่าอย่างไม่ประสีประสาของมาตาปารี

แต่ใครจะรู้ว่า มาตาปารี เป็นตัวดำเนินเรื่องที่มาจากดวงดาวโดยแท้ เพราะเด็กน้อยคนนี้ได้บอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกมนุษย์ ไม่ใช่แค่ในอดีต แต่สามารถเห็นเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในปัจจุบัน และยังคงต่อเนื่องไปในอนาคตด้วย

“เมื่อมีการปฏิวัติ คนกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาล้มล้างอำนาจของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ด้วยคำว่าประชาธิปไตย สุดท้ายก็ยึดติด หลงระเริงกับอำนาจ กลายมาเป็นเผด็จการอีกครั้ง แล้วก็จะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาล้มล้างระบอบนั้นอีกครั้ง เป็นวงจรอย่างนี้เรื่อยไป... ส่วนประชาชนตาดำๆ จำนวนมาก ที่ต้องการเพียงชีวิตที่สงบสุข อยู่กับป่า กับภูเขา และครอบครัวเท่านั้น แต่ต้องมาพัวพันอยู่กับผู้นำที่ไม่เคยดำรงซึ่งความเป็นธรรมได้อย่างถาวรเลย”

ว่าแต่... จะมีคนอีกสักเท่าไรที่ต้องสูญเสียญาติ พ่อแม่ พี่น้อง ไปกับการปฏิวัติครั้งแล้วครั้งเล่าเหล่านั้น
... ... ... ...

7.4.09

Stargirl – เด็กสาวจากดาวใส

หนังสือเล่มนี้ได้สร้างปาฏิหาริย์ขึ้นแล้ว ไม่ใช่ปรากฏการณ์สำคัญระดับโลก ไม่ใช่การค้นพบดาวตก ดาวหาง ดาวเคราะห์ดวงใหม่ แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในใจของเรา จุดเปลี่ยนของการคิดต่าง คิดอย่างอิสระ สนใจในรายละเอียดของชีวิตมากขึ้น ที่สำคัญคือการให้ความสำคัญในเรื่องของจิตใจมากกว่าวัตถุสิ่งของ และเงินตรา

-- -- --
เด็กสาวจากดาวใส/ เจอร์รี่ สปินเนลลี่ (Jerry Spinelli) : เขียน, จิระนันท์ พิตรปรีชา : แปลจากภาษาอังกฤษ เรื่อง Stargirl.- กรุงเทพฯ: แจ่มใสสำนักพิมพ์, 2547.

“เธออุตส่าห์ทำการ์ดให้ทุกคนในโรงเรียน...”
“เธอชื่อหนูดาว! ชื่อจริงหรือเปล่านั่น...”
“แต่ที่ประหลาด ก็คือในขณะที่เราค้นพบและแสดงตัวตนของเราแต่ละคนออกมา ความรู้สึกเป็นหมู่คณะแบบใหม่ก็เกิดขึ้นอย่างคึกคัก สามัคคี มีสปิริตอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน...”

“นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสิบห้าปีก่อน สิบห้าครั้งแล้วที่วันวาเลนไทน์ได้ผ่านไปโดยไม่มีเธอ...ทุกครั้งที่ผมกลับไปยังเมืองนั้น ผมจะต้องขับรถผ่านไปทางหน้าบ้านเก่าของเธอเสมอ...”

Stargirl เล่มนี้ ถูกแปลออกมาเป็นฉบับภาษาไทยที่ทั้งอ่านง่าย อ่านสนุก ทั้งภาษาก็สวยงาม ตามแบบฉบับงานแปลของคุณจิระนันท์ เป็นงานวรรณกรรมสร้างสรรค์สำหรับเยาวชนคนหนุ่มสาวจริงๆ เหมาะกับการหามาอ่านอย่างยิ่ง ยิ่งในช่วงวันเด็กแห่งชาติด้วย... แต่ไม่ว่าโอกาสไหนๆ ก็อยากให้ลองหามาอ่านกันนะค่ะ

วรรณกรรมเยาวชน แบบผู้ใหญ่อ่านได้ เด็กอ่านดีเรื่องนี้ สำนักพิมพ์แจ่มใสกล่าวในบทนำว่า “เป็นวรรณกรรมที่สร้างความประทับใจให้กับนักวิจารณ์และนักอ่านในสหรัฐอเมริกาอย่างกว้างขวาง ด้วยบทประพันธ์เรียบง่ายแต่ลุ่มลึก (และอบอุ่น) ถ่ายทอดเรื่องราวของเด็กสาวตัวน้อยๆ คนหนึ่ง ที่สร้างความหมายยิ่งใหญ่ในใจของใครหลายๆ คนได้ ทำให้ Stargirl ได้รับการกล่าวขวัญกันอย่างหนาหู และการันตีด้วยตำแหน่งอันดับขายดีจาก New York Times นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในบรรดาวรรณกรรมเยาวชนที่ดีที่สุดสิบเล่มของสมาคมห้องสมุดในอเมริกาด้วย”

เรื่องราวของเด็กสาวสตาร์เกิร์ลคนนี้ อาจทำให้หลายคนทั้งตะลึง ทั้งประทับใจ แล้วห้วนกลับไประลึกถึงเรื่องราวในสมัยอดีตตอนที่ยังเอ๊าะๆ กันอยู่ก็ได้ แต่สำหรับเด็กวัยรุ่นทั้งหลายก็คงทำให้นึกถึงตัวเอง เพื่อนพ้องที่รายล้อมอยู่รอบข้าง ทำให้ความรู้สึกถึงคำว่า “เพื่อน” “คนรัก” “ครอบครัว” ดูจะเป็นความสัมพันธ์ที่มีความหมายมากขึ้น เป็นความสัมพันธ์ที่เราต้องดูแลด้วยใจ ไม่ใช่แค่เงินทอง หรือวัตถุสิ่งของ

นอกจากนี้แล้ว อาจทำให้ผู้อ่านนึกถึงชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมปัจจุบันอย่างที่เราๆ เป็นอยู่ขณะนี้เพิ่มขึ้นด้วย การดำรงอยู่แบบตัวใครตัวมัน ต่างคนต่างมีกิจกรรมประจำวันให้ทำมากมาย นั่นอาจทำให้เราละเลยบางสิ่งบางอย่างไป แม้จะเป็นการกระทำที่แสนจะเล็กน้อย น้อยนิด แต่อาจมีความหมายมากมายสำหรับใครบางคนก็เป็นได้ การแสดงความห่วงใยต่อกันและกัน ด้วยคำพูดเพียงไม่กี่คำเท่านั้น ก็อาจเป็นน้ำหล่อเลี้ยงหัวใจคนเราได้เหมือนกัน...

จากเด็กสาวที่ไม่ธรรมดาคนหนึ่ง... ที่ทุกคนต่างเรียกเธอว่าสตาร์เกิร์ลเพราะด้วยบุคลิกภาพที่สดใส ร่าเริง จริงใจ สนอกสนใจความเป็นอยู่ของผู้คนรอบข้าง ทำให้ผู้คนที่ได้อยู่ใกล้เธอ ได้รู้จักเธอ บอกว่า “เธอเป็นมากกว่าดวงดาว”

หนังสือเล่มนี้ได้สร้างปาฏิหาริย์ขึ้นแล้ว ไม่ใช่ปรากฏการณ์สำคัญระดับโลก ไม่ใช่การค้นพบดาวตก ดาวหาง ดาวเคราะห์ดวงใหม่ แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในใจของเรา จุดเปลี่ยนของการคิดต่าง คิดอย่างอิสระ สนใจในรายละเอียดของชีวิตมากขึ้น ที่สำคัญคือการให้ความสำคัญในเรื่องของจิตใจมากกว่าวัตถุสิ่งของ และเงินตรา

...ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์เช่นนี้ อยากให้ลองปล่อยจิตใจ เปิดความคิดไปกับสิ่งที่ธรรมดา เล็กน้อย ไม่เหมือนใครดูบ้าง ลองสร้างความหมายแบบใหม่ๆ มุมมองใหม่ๆ ลองมองหาความสุขที่ซื้อไม่ได้จากห้างสรรพสินค้า เซ่เว่น เทสโก้ฯลฯ แต่เป็นความสุขจากต้นไม้ที่อยู่ข้างๆ บ้าน คนที่อยู่นั่งอยู่ข้างๆ หรือคนที่คุณกำลังจะเดินไปคุยด้วยหลังจากอ่านนี้จบก็ได้ค่ะ...

Supermarket Tour(1) : หยุดคิดสักนิด! ก่อนหยิบของบนชั้นสินค้า


เรามีคำถามอยากจะถามคุณสัก 2-3 ข้อ เกี่ยวกับการซื้อสินค้าจากซุปเปอร์มาร์เก็ต อะไรเอ่ยที่ดึงดูดให้คุณตัดสินใจไปเดินเลือกซื้ออาหาร สิ่งของเครื่องใช้จากซุปเปอร์มาร์เก็ต ? ชั้นวางอาหาร - ผักผลไม้ที่สะอาด สด ใหม่ ? หรือชั้นวางที่เต็มไปด้วยเนื้อแช่แข็งเตรียมพร้อม รอให้คุณเลือกซื้อ ?

งานเขียนชิ้นนี้ เป็นการแปลและเรียบเรียงเนื้อหามาจากงานวิจัยเกี่ยวกับซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่ชื่อว่า “Supermarket Tour” เป็นความพยายามของคณะวิจัยชาวแคนาดาที่ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงสายโยงใย ระหว่างกระบวนการผลิตอาหารต่างๆ และพัฒนาการของห่วงโซ่การผลิตอาหารในการบริโภคของคนแคนาดา ที่คณะวิจัยเดินสำรวจซุปเปอร์มาร์เก็ตไปทั่ว ถือว่าเป็นการทัวร์และตั้งคำถามไปพร้อมๆ กัน จากประเด็นด้านแรงงานสู่การติดฉลากสินค้า จากการค้าที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพันธุกรรมพืชและสัตว์ จากยาปราบศัตรูพืชสู่การทำกำไร ล้วนแต่เป็นเรื่องสำคัญทั้งนั้น

Supermarket Tour จะ พาคุณไปค้นหาคำตอบเหล่านั้น พร้อมทั้งเพิ่มเติมข้อมูลให้เราทุกคน (ไม่ใช่แค่เพียงชาวแคนาดาเท่านั้น แต่เพื่อผู้บริโภคทั้งโลก) เพื่อการรู้เท่าทันกลยุทธ์ต่างๆ ของซุปเปอร์มาเก็ต (ของบริษัท/นายทุน) ตลอดจนเพื่อป้องกันตัวคุณเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของตลาดไฮเทคแบบนี้

สุดท้ายก็เพื่อลดความเสี่ยงในการบริโภคอาหารของคุณ ที่เชื่อมโยงไปถึงปัญหาการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และในโลก ที่อาหาร ผักผลไม้ และผลิตภัณฑ์นานาชนิดบนชั้นวางที่ส่องประกายความสดใหม่นั่นไม่ได้สด สะอาด ถูกหลักอนามัยและดี อย่างที่คุณคิด ด้วยเบื้องลึกเบื้องหลังที่คุณต้องรู้ แล้วคุณจะมีทางเลือกอย่างไรบ้าง...

หากคุณยังต้องรับประทานอาหารอยู่ทุกวี่วัน ข้อมูลจาก Supermarket Tour นี้ - ก็เพื่อคุณๆ โดยเฉพาะเลยทีเดียว!

ปลดแอกผู้บริโภค ต้านบริษัทผูกขาดตลาด
“ข้อ ดีของระบบอาหารแบบใหม่นั้นเป็นเพียงภาพลวงตา เพราะมันคือ การขูดรีดโดยผู้ผลิต ด้วยสินค้าราคาถูกที่แลกมาด้วยการทำลายสิ่งแวดล้อม การหลอกลวงผู้บริโภค คุณภาพอาหารต่ำ และสุดท้ายนั่นคือการบั่นทอนความมั่นคงด้านอาหารของชาติ”

ระบบ ทางด้านอาหารของแคนาดาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว กลับปราศจากซึ่งการยอมรับ และการตระหนักรู้ของประชาชน ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สภาพสิ่งแวดล้อมและค่านิยมของชาวแคนาดามาโดยตลอด

ในสมัยอดีตการจับจ่ายซื้อของ มักเป็นการไปซื้อตามร้านเฉพาะต่างๆ ในท้องถิ่น เช่น ไปร้านพ่อค้าขายเนื้อ ร้านทำขนมปังอบหอมกรุ่นทุกๆ วัน เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นการซื้อของแยกเฉพาะตามร้านตามประเภทอาหาร พ่อค้าแม่ค้าหรือเจ้าของร้านมักจะรู้จักลูกค้าของพวกเขา และเขาก็ต้องให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับประทานอาหารที่ดีมีคุณภาพ แต่ปัจจุบันระบบการค้าขายแบบนี้ถูกตัดทอนให้เป็นแบบตัวใครตัวมันมากขึ้น ผู้ผลิตไม่รู้จักผู้บริโภค และดูเหมือนว่ากำไรจะสำคัญกว่าการห่วงใยสุขภาพผู้บริโภคอีกด้วย

ปัจจุบัน ซุปเปอร์มาร์เก็ต (หรือห้างค้าส่ง-ค้าปลีกยี่ห้อต่างประเทศ) ที่มีสินค้าและบริการรอให้เราเลือกซื้ออยู่มากมาย ผู้อ่านลองนึกดูซิว่า ใครเป็นเจ้าของ ? แล้วเจ้าของบริษัทเหล่านี้มีศูนย์กลางการดูแลจัดการ และการบริหารอยู่ที่ไหน ? และหากคุณคิดออก คุณจะพบว่าตลาดไฮเทคเหล่านี้แม้จะมีสาขาต่างๆ มากมาย แต่ก็พบว่ามีเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่เป็นเจ้าของสาขาหลายร้อยสาขานั้น

สิ่ง ที่เกิดขึ้นจากการเสนอขายสินค้าแบบครบวงจรเช่นนี้ ยังทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Oligopoly” คือ สภาวะที่มีผู้ขายน้อย ทำให้ผู้ขายสามารถกำหนดราคาและปัจจัยอื่นๆ ทางตลาดได้ ซุปเปอร์มาร์เก็ตแบบนี้จะควบคุมตั้งแต่การผลิตจากฟาร์ม ไร่สวน เมล็ดพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ย ตลอดจนกระบวนการผลิต และการบรรจุหีบห่อ ท้ายที่สุดบริษัทเพียงไม่กี่แห่งก็จะมีอำนาจเหนืออุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ แล้วย่อมส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคที่มีทางเลือกน้อยลง หรือไม่ได้รับผลประโยชน์จากการแข่งขันทางการตลาดอย่างแท้จริงอีกด้วย

กลยุทธ์ร้อยแปด ที่ทำให้คุณควักจ่าย
นอก จากนี้ ระยะทางระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคก็ดูเหมือนจะยิ่งห่างไกลกันมากขึ้นด้วย จากการไปตลาดเพื่อจับจ่ายซื้อของ - ผักผลไม้ที่ปลูกขึ้นในท้องถิ่น กลายมาเป็น “ความไม่รู้” ผู้ซื้อไม่รู้เลยว่า ผักผลไม้ที่ต้องซื้อกินกันอยู่นี้ ปลูกขึ้นที่ไหน ใครเป็นผู้ปลูก มีอะไรบ้างที่ถูกใส่เข้าไปและเอาออกจากผัก ผลไม้ หรือเนื้อที่เรานำมาปรุงเป็นอาหารมื้อเย็นบนโต๊ะอาหารในค่ำวันนี้...ไม่มี ใครรู้เลย

ไม่เพียงแค่นั้น ด้วยหลักวิจัยทางการตลาดเพื่อการดึงดูดผู้ซื้อให้เพิ่มขึ้น ฉะนั้นตั้งแต่ก้าวแรกที่คุณเดินเข้าไปในซุปเปอร์มาร์เก็ต ทางร้านได้เตรียมการต้อนรับคุณไว้เป็นอย่างดีแล้ว ด้วยเสียงเพลงไพเราะ บันเทิงอารมณ์ เพื่อทำให้คุณเดินนานขึ้น เพลิดเพลินกับการจ่ายเงินมากขึ้น รายการสินค้าที่คุณตั้งใจจะซื้อและคิดไว้ในหัว สุดท้ายแล้วคุณก็จะมีสินค้าติดมือกลับบ้านเพิ่มขึ้นแบบไม่ตั้งใจ ด้วยกลยุทธ์โปรโมชั่น แบบลดแลก แจกแถม การสมัครเป็นสมาชิก ฯลฯ

นอก จากนี้ การวางสินค้าในระดับสายตาก็ช่วยกระตุ้นให้เลือกซื้อสินค้ายี่ห้อนั้นมากขึ้น (ถึงกับบริษัทผู้ผลิตต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือด - ลงทุนจ่าย เพื่อให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตวางสินค้าของเขาไว้ตรงชั้นนี้) ส่วนสินค้าสำหรับเด็กก็จะวางในระดับสายตาเด็ก ส่วนสินค้าที่ไม่ค่อยจำเป็นในชีวิตแต่ทำกำไรดี ก็จะวาง - แขวนปะปน ใกล้ๆ กับสินค้าที่คนจำเป็นต้องซื้อ นั่นจึงไม่แปลกใจเลยที่เงินออกจากกระเป๋าตังค์ของคุณไปได้อย่างไร แต่ขอบอกว่าเงินที่ไหลออกไปนั้น คุณก็เสียไปให้กับการลงทุนโฆษณาสินค้าในโทรทัศน์ วิทยุและตามสื่อต่างๆ ของยี่ห้อนั้นด้วย... (ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงเช่นกัน)

วิธีการแก้ไข-ป้องกันการเสียรู้
วิธี ที่ดีที่สุด คือ การจดบันทึกรายการสินค้าที่คุณจำเป็นต้องซื้อไปซุปเปอร์มาร์เก็ตด้วย และซื้อตามรายการนั้นจริงๆ , หรือไม่ก็เลือกไปซื้อตามร้านค้าในท้องถิ่นซึ่งมีต้นทุนน้อยกว่าทั้งในการ โฆษณาสินค้าหรือพยายามล่อใจคุณให้ซื้อ สินค้าและบริการที่คุณได้รับมักมีคุณภาพดีกว่า หรือเลือกซื้อสินค้าจากสหกรณ์การค้า “คุณก็จะหลุดจากวงจรที่ให้ตลาดไฮเทคควบคุมได้ในที่สุด”

แปลและเรียบเรียงจาก The Supermarket Tour (2002). Research and writing by Stella Lee, Caroline Liffman, and Cidy McCulligh. OPIRG Publication, McMaster University – Canada.

จักรยานชุมชน: สองล้อแก้จน - พึ่งพาตัวเอง


จักรยานดีๆ สักคัน ราคาไม่แพง ซ่อมก็ง่าย แถมยังไว้ใจได้ พาเราเดินทางไปที่ต่างๆ ไม่เพียงเท่านั้น ในพื้นที่ชนบทบางแห่ง ที่ไม่มีเส้นทางคมนาคม หรือถนนดีๆ ไม่มีรถเมล์ รถราง ‘จักรยาน’ นี่แหละที่ต้องยอมรับว่ามันใช้ได้จริง ยิ่งในพื้นที่ชนบท และสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย จักรยานจึงเป็นทั้งยานพาหนะ และเพื่อนที่ดีที่สุดเลยทีเดียว ยิ่งในยุคที่เราต้องช่วยกันประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล แม้ผู้ที่มีเงินถุงเงินถัง หรือคนทั่วไป การหันมาปั่นจักรยาน หรือเดินเท้ากันมากขึ้นน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี - ดีทั้งต่อเงินในกระเป๋าของคุณ และดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ‘พลังงานจากสองขาและสองเท้า’ ดึงมาใช้กันให้สุดๆ ไปเลย!!

[ข้อมูลจาก “The Bicycle Debates” เอกสารในโครงการ Bicycle for Poverty Reduction ฉบับเดือนมิถุนายน 2008 ของ International Forum for Rural Transport and Development (www.ifrtd.org)]

ทั้ง นี้ การหันมาปั่นจักรยาน ไม่ใช่แค่เรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือประหยัดพลังงานเพียงเท่านั้น แต่มันก็คือการพึ่งพาตัวเองได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ในบางประเทศ เช่น ในเคนย่า กาน่า บังกลาเทศ อินเดีย และอีกหลายๆ แห่ง จักรยานไม่เพียงเป็นเพื่อนแท้ยามยากของผู้ยากไร้เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่จะนำพาพวกเขาไปสู่โอกาสในชีวิต ในทางเศรษฐกิจและสังคมอีกมากมาย...

1
ถึงกับมีกลุ่มเครือข่ายแห่งหนึ่ง ที่ทำงานที่มุ่งเน้นเรื่องนี้โดยเฉพาะ นั่นคือ International Forum for Rural Transport and Development หรือ IFRTD ซึ่ง เป็นเครือข่าย ที่เกิดจากการรวมตัวขององค์กรและคนทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาทางสังคม ที่ต้องการจะยกระดับความสามารถ และการเข้าถึงยานพาหนะเพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวันสำหรับคนยากจนในชนบท และเพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจ –การทำงานที่ดีขึ้น เครือข่ายนี้ยังได้วางกรอบการทำงานร่วมและแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร และความช่วยเหลือที่จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างพื้นที่วัฒนธรรมท้องถิ่น กับหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในหลายๆ ประเทศ

ว่า ด้วยเรื่องของจักรยาน สองล้อปั่นด้วยสองขานี้เอง ที่ IFRTD ได้ฉายภาพและให้ข้อมูลแก่เราว่า มันได้ช่วยบรรเทาความยากจน และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้คนในชุมชนอีกมากมาย ทั้งอุตสาหกรรมการผลิตจักรยาน ที่แม้ว่าในช่วงแรกมีการนำเข้าจักรยานจากนอกประเทศเข้ามามาก กระนั้นในระยะยาวควรจะเน้นการส่งเสริมการผลิตในประเทศ ด้วยผู้ประกอบการในประเทศ จึงจะช่วยทำให้ระบบเศรษฐกิจ หรือเงินหมุนเวียนได้ในระบบ, การเกิดขึ้นของร้านซ่อมจักรยานในท้องถิ่น, การนำจักรยานที่ถูกทิ้งขว้างจากประเทศโลกที่หนึ่ง มาปรับปรุง ซ่อมแซมและกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง, สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดการพึ่งพิงอยู่กับน้ำมันได้ดีทีเดียว

ใน กาน่า โครงการจักรยานชุมชนเริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1999 เพื่อให้คนในชุมชนสามารถหาซื้อจักรยานได้, IFRTD ทำงานใน 3 พื้นที่หลัก โดยจัดให้แต่ละครอบครัวมีจักรยานเป็นของตัวเอง รวมไปถึงการช่วยเหลือด้านชิ้นส่วนและอะไหล่ เครื่องมือซ่อมต่างๆ และยังมีโปรแกรมฝึกอบรม หรือสอนการซ่อมจักรยานให้แก่คนที่สนใจด้วย ในเขตพื้นที่ชนบท หากใครสนใจเข้าฝึกอบรมการซ่อมจักรยานให้เป็นแล้ว จะได้สิทธิพิเศษซื้อจักรยานได้ ในราคาเพียงครึ่งเดียว ในขณะที่โครงการนี้ช่วยให้คนในชุมชนมีจักรยานใช้แล้ว ที่สำคัญได้ช่วยเพิ่มอำนาจให้คนในท้องถิ่นชนบทห่างไกล สามารถดูแลตัวเองและสมาชิกในครอบครัวให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย

2
สำหรับ ที่ ศรีลังกา การครอบครองรถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซด์สักคันถือว่าเป็นเรื่องเกินกำลัง เพราะมีราคาแพงมาก แถมยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนในท้องถิ่นที่ห่างไกล ดังนั้นในการเดินทางไปมาในชนบท หรือการเดินทางไปยังถนนสายหลัก จักรยานจึงกลายเป็นตัวเลือกเดียวสำหรับผู้ที่ต้องการสัญจรไปยังที่ต่างๆ

นับ ตั้งแต่ ศรีลังกาประยุกต์ใช้นโยบายเปิดตลาด และเศรษฐกิจมากขึ้น ในปี 1977 ทำให้มีการนำเข้ายวดยานพาหนะจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งรถยนต์ ตุ๊กตุ๊ก รถตู้ รถมอเตอร์ไซด์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมผลิตจักรยานภายในประเทศซบเซาลงไป ไม่เพียงเท่านั้นการนำเข้าจักรยานจากประเทศพัฒนาแล้วเข้ามา ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ทำให้การเพิ่มขึ้นของจักรยานบนท้องถนนตั้งแต่ช่วงปี 1970 เป็นต้นมา เพิ่มขึ้นจาก 150,000 เป็น 200,000 คัน ในระยะเวลาเพียงหนึ่งปีมานี้เอง

ใน ศรีลังกา จักรยานนับว่าเป็นยานพาหนะที่ครอบครัวที่มีรายได้น้อย สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด และยังใช้ประโยชน์ได้หลากหลายอีกด้วย โดยเฉลี่ยแล้ว ทุก 2 ใน 3 ของครอบครัวชนบท มักจะมีจักรยานหนึ่งคันไว้ใช้ นับรวมแล้ว มีประมาณ 3.5 ล้านคันทั่วทั้งประเทศ มีร้านซ่อมจักรยานประมาณ 3,500 ร้าน – หากคุณได้เดินทางไปเที่ยวที่ศรีลังกา คุณจะพบว่า มีจักรยานหลากหลายรูปแบบ ที่ใช้งานแบบสารพัดประโยชน์ ทั้งการเพิ่มตะกร้าข้างหน้า หรือรถพวงข้างๆ และข้างหลัง เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้สอย มีการใช้จักรยานตั้งแต่ปั่นธรรมดาทั่วๆ ไป ไปจนถึงการปั่นพร้อมเร่ขายสินค้า มะพร้าว หนังสือพิมพ์ และน้ำมันกันเลยทีเดียว

3
ที่ เคนย่า การที่รัฐบาลลดภาษีการนำเข้าจักรยาน มันกลับสร้างความเจ็บปวดและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ เหลือเพียงแต่ร้านซ่อม หรือธุรกิจประกอบจักรยานในท้องถิ่น แต่ในขณะเดียวกัน การนำเข้าจักรยานเข้ามา กลับทำให้ธุรกิจแท็กซี่จักรยาน หรือที่เรียกกันว่า โบดา โบด้า (boda boda) เติบโตขึ้น

ก่อน หน้านี้ ในช่วงปี 1980s โรงงานผลิตจักรยานในระดับท้องถิ่นของเคนย่าถูกทิ้งร้างไป เนื่องมาจากไม่มีตลาดรองรับ อีกทั้งไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่มาจากจีนหรืออินเดียได้ มีแต่การนำเข้าชิ้นส่วนเข้ามาประกอบในประเทศเท่านั้น มาจนกระทั่งปี 2002 รัฐบาลเคนย่าประกาศลดภาษีการนำเข้าจักรยานจากต่างประเทศ ยิ่งทำให้จักรยานราคาถูกลง และหลั่งไหลเข้ามาในประเทศอย่างมาก จากข้อมูลทางสถิติของรัฐบาลเคนย่า พบว่า จากปี 2002 มีการนำเข้ามา 386,503 คัน, ในปี 2003 นำเข้ามาเพิ่มขึ้นเป็น 446,638 คัน และในปี 2004 จำนวนนำเข้าขึ้นไปอยู่ 722,418 คัน โดยในปี 2002-2005 มีจักรยานนำเข้าเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 87% ในขณะที่จำนวนการนำเข้ายานพานะชนิดอื่นๆ อยู่ที่ร้อยละ 28% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ทว่า ‘โบดา โบด้า’ ได้รับความนิยมอย่างมาก ประกอบกับมีคนว่างงานจำนวนมาก ที่หันมายึดอาชีพนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองขนาดกลางของเคนย่า คาดว่ามีแท็กซี่จักรยานประมาณ 5,000 และมีมากถึง 20,000 คันในบางเมือง ทว่าก็ยังมีปัญหาอยู่ เนื่องจากจักรยานไม่ถูกจัดว่าเป็นพาหนะโดยสารที่ได้รับความคุ้มครองทาง กฎหมายจากรัฐ ความคุ้มครองด้านอุบัติเหตุ หรือการจัดเลนถนนสำหรับจักรยานโดยเฉพาะที่มีความปลอดภัย รวมไปถึงที่จอดรถ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ยังไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นมากเท่าที่ควร นอกจากนี้ เมื่อปี 2007 รัฐบาลเคนย่าประกาศขึ้นภาษีการนำเข้าจักรยานขึ้นมาอีกร้อยละ 10 ทำให้ราคาจักรยานในประเทศเพิ่มขึ้น จากโดยเฉลี่ยคันละ 48 ดอลล่าร์ (ประมาณ 1,680 บาท) ไปอยู่ที่ 71 ดอลลาร์ (ประมาณ 2,485 บาท)

4
แม้ ว่าในตัวเมือง บราซิล มีคนหันมาปั่นจักรยานจะมีเพิ่มมากขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ เบื่อกับการจราจรติดขัด หรือจะด้วยปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมฯลฯ แต่อย่างไรก็ดี ความปลอดภัยสำหรับนักปั่นทั้งหลาย ยังคงเป็นประเด็นสำคัญ ผู้ปกครองและเด็กที่ต้องปั่นจักรยานไปโรงเรียนยังคงวิตกกังวลเรื่องนี้ จนมีนักวิจัยสองกลุ่มที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับเส้นทางสำหรับจักรยานที่เชื่อมต่อ ระหว่างโรงเรียนของรัฐทั้งหมด 6 แห่ง ในเมืองฟลอเรียโนโปลิส โดยหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้บ้าง

งาน วิจัยได้สอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเด็กนักเรียน พบว่า นักเรียนร้อยละ 80 มีจักรยาน แต่มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่ปั่นจากบ้านไปกลับโรงเรียนเกือบทุกวัน ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีเส้นทางที่เหมาะสม และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย

นอก จากนี้ งานวิจัยยังระบุว่า นักเรียนส่วนใหญ่ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนของรัฐ มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย การที่เด็กสามารถปั่นจักรยานไปโรงเรียนได้เอง ย่อมจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว แทนที่จะเสียไปกับการจ่ายเงินให้กับรถโดยสารประจำทาง ไม่เพียงเท่านั้น การเดินเท้าไปโรงเรียนบางครั้งก็นับว่าเป็นการออกกำลังด้วยเช่นกัน ด้วยความไม่สะดวกสบาย และความไม่ปลอดภัยดังกล่าว ในพื้นที่เมืองที่นับว่ายิ่งเติบโตและขยายวงกว้างมากขึ้น การใช้พาหนะส่วนตัว ทั้งรถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ ก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน นักวิจัยเชื่อว่า สถานการณ์อาจแย่ลง หากคนในเมืองจะหันไปใช้รถยนต์ และรถมอเตอร์กันมากขึ้น

ใน คาเมรูน ชายคนหนึ่งปั่นจักรยานคู่ใจจากหมู่บ้าน ไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่งเสมอ ในหนึ่งวัน เขาสามารถปั่นได้กว่า 80 กิโลเมตร เขายังชีพด้วยการแวะไปยังหมู่บ้านต่างๆ เพื่อซ่อมรองเท้าให้กับลูกค้า ทั้งซ่อมและขายรองเท้าคู่ใหม่ด้วย บ้างก็หอบหิ้วเครื่องครัวไปขาย

โครงการ รณรงค์เพื่อเผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี ในอุกานดา ผู้ส่งสารไปยังแต่ละหมู่บ้านก็ใช้บริการจักรยาน และรถมอเตอร์ไซด์เช่นกัน

5
ใน ขณะที่ ธนาคารโลก (World Bank) พยายามศึกษาและวางนโยบายมากมายเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจน กลยุทธ์ว่าด้วยการคมนาคมแบบใหม่ด้วยจักรยานก็อยู่ในความสนใจของธนาคารโลก เช่นกัน แต่ทว่าในสังคมหลายแห่ง ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศยังคงมีอยู่ ข้าวของเครื่องต่างๆ แม้แต่จักรยาน หลังจากซื้อมาแล้ว ล้วนแต่ตกเป็นสมบัติของฝ่ายชาย ไม่เพียงเท่านั้น ในบางแห่ง จักรยานถือเป็นสิ่งบ่งบอกทางฐานะด้วย

เครือ ข่าย IFRTD ได้มุ่งนำเสนอประเด็นเรื่องเพศสภาพนี้เช่นกัน เนื่องจากปัญหาวิกฤตด้านพลังงานที่ทั่วโลกประสบอยู่นี้ กลับสร้างความยากลำบากให้กับเพศหญิงมากที่สุด ยิ่งผู้หญิงในชนบทห่างไกล การทำหน้าที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญ ทั้งดูแลสมาชิกในครอบครัว ทำการเกษตร

ปัจจุบัน มีการจัดโครงการให้กู้ยืมเงิน หรือ ไมโครเครดิตแก่หญิงชนบทที่ยากจนในแอฟริกา ให้มีจักรยานใช้ โดยซื้อและผ่อนจ่ายให้ร้านค้า ทั้งนี้จักรยานช่วยลดแรงในการเดินทาง ประกอบอาชีพ และลดค่าใช้จ่าย ส่งผลให้การค้าขาย ขนย้ายสินค้าทำได้ง่าย และมากขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้พวกเธอเหล่านี้ เข้าถึงบริการทางสุขภาพของรัฐได้มากขึ้นด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ พวกเธอสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และช่วยนำพาโอกาสให้หลุดพ้นจากความยากจนได้อีกระดับหนึ่ง

International Forum for Rural Transport and Development หรือ IFRTD เป็นเครือข่าย ที่เกิดจากการรวมตัวขององค์กรและคนทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาทางสังคม ที่ต้องการจะยกระดับความสามารถ และการเข้าถึงยานพาหนะเพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวันสำหรับคนยากจนในชนบท และเพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจ –การทำงานที่ดีขึ้น โดยเฉพาะจักรยาน ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในศรีลังกา เคนย่า บราซิล

Green Economy - แก้โลกร้อน แก้วิกฤตแรงงาน


ล่าสุดสหประชาชาติ และขบวนแรงงานนานาชาติออกมาเผยงานวิจัยถึงมาตรการจัดการกับปัญหาโลกร้อน สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานในตลาดโลกได้ ด้วยว่าหากธุรกิจหรือบริษัทต่างๆ หันมาลงทุนกับการจัดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะเดียวกันมันจะช่วยลดต้นทุนในอนาคต และช่วยให้เกิดการจ้างงานได้ด้วย แบบยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวก็ว่าได้!

(แปลและเรียบเรียงจาก: http://www.guardian.co.uk/environment/2008/sep/25/climate.jobs)
ล่าสุดสหประชาชาติ และขบวนแรงงานนานาชาติออกมาเผยงานวิจัยถึงมาตรการจัดการกับปัญหาสภาพภูมิ อากาศโลกเปลี่ยนแปลง (Climate Change) นั้น สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานในตลาดโลกได้ ด้วยว่าหากธุรกิจหรือบริษัทต่างๆ หันมาลงทุนกับการจัดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะเดียวกันมันจะช่วยลดต้นทุนในอนาคต และช่วยให้เกิดการจ้างงานได้ด้วย แบบยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวก็ว่าได้!

มาตรการ จัดการกับปัญหาเรื่องโลกร้อน (Global Warming) ที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุดคือ พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ซึ่งมีการมุ่งเน้นเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่สิ่งที่มีการถกเถียงกันมากนั่นก็คือ มีกลุ่มคนหลายกลุ่มกำลังเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างงานด้วยเช่นกัน (หากมีการลดระบบการผลิตที่พึ่งอยู่กับปิโตรเลียมเป็นหลัก)

Guy Ryder เลขาธิการสมาพันธ์สหภาพการค้านานาชาติ (International Trade Union Confederation) กล่าวต่อประเด็นนี้ว่า การเคลื่อนไหวเรื่องนี้ถูกขยับไปในทางที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยการพูดถึงจุด เปลี่ยนที่สำคัญ และระบุถึงประเด็นเรื่องแรงงานที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไป พร้อมๆ กันด้วย ไม่เพียงเท่านั้น การต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน ไม่ใช่การคุกคามความมั่นคงของแรงงาน แต่เป็นการทำให้แรงงานมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น มั่นคงขึ้นในระยะยาว

สิ่ง ที่หลายฝ่ายพยายามนำเสนออยู่ในเวลานี้ ที่เรียกว่า “Green Economy, Green Job” ในสภาวะที่เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังประสบวิกฤต แนวทางนี้จึงไม่ใช่ทางออกสำหรับสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว แต่คือความอยู่รอดของพนักงาน และแรงงานจำนวนมหาศาลทั่วโลก ที่จะสามารถมีงานทำและยืดเวลาให้โลกใบนี้ ด้วยเพียงหากบริษัทและรัฐบาลต่างๆ จะหันมาให้ความสนใจในการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ แห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยแนวทาง วิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีการขยายงาน ขยายโอกาสให้กับคนงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

องค์กร ด้านแรงงานนานาชาติ (International Labour Organization - ILO) ร่วมกับองค์การผู้ประกอบการนานาชาติ องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ สถาบัน Worldwatch และมหาวิทยาลัยคอร์แนล จัดทำการศึกษาเกี่ยวกับ Green Economy เผยถึงข้อมูลว่าจะช่วยสร้างงานในตลาด-ธุรกิจได้มากทีเดียว

รายงาน ฉบับนี้ได้มุ่งทำการศึกษาในพื้นที่ที่คาดว่ามี ศักยภาพมากที่สุดที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าการสร้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจเป็น ไปได้จริงในหลายๆ แบบด้วยกัน อาทิ ทำการศึกษาในพื้นที่ที่มีแหล่งพลังงาน มีระบบการขนส่ง มีอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน (เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก และเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ หรืออุตสาหกรรมกระดาษ) รวมไปถึงพื้นที่ทางการเกษตร และป่าไม้

กล่าว คือ การศึกษาที่มุ่งเน้นเพื่อการลดการปล่อยก๊าซสู่ชั้นบรรยากาศโลก หรือลดปัญหาโลกร้อน คาดคะเนว่า หากมีการปรับเปลี่ยน หรือดัดแปลงรูปแบบ วิธีการในการผลิต, ในขณะที่อัตราการจ้างงานบางประเภท ในบางอุตสาหกรรม เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันปิโตรเลียม หรืออุตสาหกรรมหนักจะลดลงไป ในขณะที่อัตราการจ้างงานจะมีเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ หากมีการปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนแทน หรือการเปลี่ยนจากการใช้รถส่วนตัวไปใช้บริการรถขนส่งมวลชน ก็เป็นการเพิ่มตำแหน่งงาน หรืออัตราการจ้างงานในสังคมด้วย

แม้ กระนั้นก็ตามนักวิจารณ์บางฝ่ายกลับมองว่า การเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเช่นนี้ อาจนำไปสู่ปัญหาการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่มีประสิทธิผลได้ ทั้งนี้ สตีเฟ่น เพอร์ซี่ ผู้อำนวยการด้านนโยบายขององค์การแรงงานนานาชาติ กล่าวว่า ประสิทธิผลหรือประสิทธิภาพที่กล่าวถึงนั้น ต่างก็ถูกวัดจากมาตรฐานเพื่อสร้างความมั่งคั่งที่ไม่ได้คำนึง หรือคำนวณต้นทุนการผลิตอื่นๆ ในสังคมเข้าไปด้วยเลย เช่น อุตสาหกรรมหนัก และใช้แรงงานอย่างหนัก ต่างก็ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อม ก่อมลพิษ (ละเมิดสิทธิแรงงาน) หรือแม้แต่ส่งผลต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงด้วย

“เรา สามารถเปลี่ยนแนวทางที่เราจะยึดถือปฏิบัติได้ อย่างถูกต้องมากขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราอยากได้ เช่น เมืองที่เราอยู่มีมลพิษน้อยลง อากาศสะอาดขึ้น เป็นต้น” สตีเฟ่น เพอร์ซี่ กล่าว

นอก จากนั้น ในรายงานฉบับนี้ ยังได้กล่าวถึงเงื่อนไขที่สำคัญที่ได้ช่วยให้แนวคิดเรื่อง Green Economy นี้ให้ประโยชน์ได้มากขึ้น คือ นโยบายรัฐ และองค์กรภาคส่วนต่างๆ ต้องให้การสนับสนุนด้วย เช่น รัฐบาลเยอรมันได้สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิ และโครงการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ (เครื่องแปลงแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า) 1 ล้านจุด ในหมู่บ้านชนบทของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนร่วมจากองค์กรไม่แสวงหากำไร กรามีนแบงค์ (Grameen Bank)

การ เรียกร้องถึงสภาพการทำงานของแรงงานที่ดีขึ้น ก็เป็นสิ่งที่รายงานฉบับนี้กล่าวถึงเช่นกัน และหมายรวมถึงความเป็น Green Economy ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการกำจัดของเสีย และการรีไซเคิล รวมไปถึงรัฐบาลต้องกระจายการลงทุนในกิจการต่างๆ ที่หลากหลายด้วย

ท้ายสุด ฮวน โซมาเวีย (Juan Somavia) ผู้อำนวยการทั่วไปของ ILO กล่าวว่า ใน การร่วมมือกันเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานการใช้คาร์บอนในระดับต่ำ นั้น ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยี หรือเงินๆ ทองๆ เท่านั้น แต่มันเป็นเรื่องของสังคมและผู้คนด้วย มันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเพื่อนำไปสู่ความตระหนักด้านสิ่งแวด ล้อมอย่างแท้จริง และเปิดโอกาสสำหรับการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้นมันเกี่ยวข้องกับภาวะความเป็นผู้นำ ในการร่วมสร้างเศรษฐกิจแบบใหม่ด้วย.

ของขวัญออนไลน์ 2009 : 9 เว็บไซต์ของคนตัวเล็ก


9 เว็บไซด์ของคนตัวเล็กที่ถูกมองข้าม แต่มีประโยชน์อย่างมากมาย
เริ่มจาก 1. ‘เครือข่ายพลเมืองเน็ต’ ผู้พิทักษ์เสรีภาพในโลกไซเบอร์ (www.thainetizen.org)...
2. โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (www.thailabour.org)
3. พรรคเลี้ยวซ้าย – สมานฉันท์ สันติภาพ เสมอภาค (www.pcpthai.org)
4. เยาวชนยุคพลังงานสะอาด (www.greenpeace.org/seasia/th/solargen/)
5. ปิดทีวี เปิดชีวิต กับ We Change555 (www.wechange555.com)
6. Border Green Energy Team - BGET (www.bget.org)
7. RabbitHood กับโครงการ ‘ใจหาย’ (www.rabbithood.net)
8. สาละวินโพสต์ - แบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน (www.salweennews.org)
9. The Story of Stuff (www.storyofstuff.com)



1. ‘เครือข่ายพลเมืองเน็ต’ ผู้พิทักษ์เสรีภาพใน
โลกไซเบอร์ (www.thainetizen.org)
เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยกับ ‘เครือข่ายพลเมืองเน็ต’ (Thai Netizen Network) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนในลักษณะเครือข่ายของพลเมืองผู้ใช้สื่ออิน เทอร์เน็ต ซึ่งมีความเชื่อมั่นร่วมกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพ การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น แสดงออก การปกป้องสิทธิพลเมือง เสรีภา
พของสื่อออนไลน์ และการสนับสนุนการเติบโตเชิงคุณภาพของสื่อพลเมือง

สฤนี อาชวานันทกุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า ในภาวะที่สังคมไม่เป็นประชาธิปไตยมากนัก ผู้คนจะเข้าหาแหล่งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายในอินเทอร์เน็ต ยิ่งสังคมมีความขัดแย้ง คนก็ยิ่งอยากใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง แสดงความคิดเห็น แต่ปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ยังมีความล่อแหลมที่จะถูกลิดรอน กดขี่โดยฝ่าย
ใดฝ่ายหนึ่ง เพราะไม่เข้าใจธรรมชาติของอินเทอร์เน็ต จึงอยากจะร่วมแลกเปลี่ยนกันเพื่อหาจุดร่วมว่าควรมองสังคมออนไลน์อย่างไร คาบเกี่ยวกับสังคมจริงอย่างไร เป็นไปได้ไหมในการหาทางสายกลางไปสู่สังคมอุดมปัญญา มีสิทธิเสรีภาพพร้อมไปกับความรับผิดชอบด้วย

ด้านจีรนุช เปรมชัยพร กรรมการเครือข่ายพ
ลเมืองเน็ตอีกคน กล่าวว่า ระยะหลังมีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเสวนากันในโลกออนไลน์ ที่ผ่านมาไม่เคยคิดว่าต้องรวมตัวกันเป็นเครือข่ายจริงจัง ทุกคนเป็นหน่วยอิสระ แต่ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา ทั้งบรรยากาศทางสังคม และบรรยากาศในโลกเสมือน อินเตอร์เน็ตถูกพูดถึงทั้งบวกลบ และโลกเสมือนก็เริ่มจะจริงขึ้นเรื่อยๆ อย่างหนึ่งที่ทำให้มันจริงคือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งมีน่าจะผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน แม้ในช่วงเริ่มต้นคนจะมองกระทบต่อผู้ประกอบการ ผู้ดำเนินกิจการเว็บไซต์มากกว่า แต่ในความเป็นจริง มันกลับกระทบประชาชนที่อาจไม่เท่าทันกับข้อกฎหมาย หรือเมื่อเกิดความผิดทางกฎหมายแล้วก็ไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร เราจึงต้องรวมตัวกันที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือ เพราะผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปไม่ได้มีกลไกใดๆ ที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว ยกเว้นในส่วนของสมาคมผู้ดูแลเว็บที่เน้นในกลุ่มผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ เครือข่ายฯ มีจุดยืน คือรวมตัวเพื่อทำงานรณรงค์เชิงนโยบายในระดับประเทศเพื่อการธำรงและปกป้อง อิสรภาพในโลกไซเบอร์ (Cyber-liberty) ซึ่งหมายถึงสิทธิพลเมืองเน็ต (Netizens' rights) และเสรีภาพสื่อออนไลน์ (Freedom of online media) บนพื้นฐานของหลัก 5 ประการดังนี้

1. สิทธิเสรีภาพในการเข้าถึง และรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็น สาระบันเทิง และอื่นๆ (Right to Access) 2.สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก
ซึ่งความคิดเห็น ความรู้สึก ต่อเรื่อง สังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ชีวิต ฯลฯ (Freedom of Expression) 3.สิทธิในการความเป็นส่วนตัว (Right to Privacy) และการได้รับการปกป้องคุ้มครองอันปลอดภัยจากการสอดส่องโดยรัฐและหน่วยงาน อื่นๆ (Surveillance) 4.ความรับผิดชอบร่วมกันของชุมชนสื่อออนไลน์ การกำกับดูแลกันเอง (Self-regulation) ไม่ใช่การปิดกั้น (Censorship) โดยไม่มีขอบเขตจากหน่วยงานรัฐ การสร้างความชัดเจน และกำหนดเส้นแบ่งระหว่างเสรีภาพในการสื่อสารซึ่งแตกต่างจากอาชญากรรมทาง คอมพิวเตอร์ และ 5.ความเสมอภาค ความเป็นเจ้าของร่วมกัน ความเป็นสมบัติสาธารณะ การไม่ผูกขาดทางเศรษฐกิจ และทรัพย์สินทางปัญญา (Common Property)

นอกจากนี้ ยังได้มีข้อเสนอต่อรัฐและสังคม ต่อเรื่องการกำกับดูแลสื่ออินเทอร์เน็ตและการบังคับใช้กฎหมายด้วย ได้แก่ 1.รัฐ ต้องเน้นการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมอิสรภาพการสื่อสารของสื่อออนไลน์มากกว่า การควบคุม โดยต้องสนับสนุนกลไกการ
มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำหนด นโยบายและการบังคับใช้กฎหมาย 2.รัฐสภา ควรมีการปรับแก้กฎหมาย พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้มีความชัดเจนในการเรื่องการจำแนก อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ออกจาก เสรีภาพในการสื่อสาร ทั้งนี้ควรมีกระบวนการที่ปกป้องสิทธิพลเมืองเน็ตและเสรีภาพของสื่อออนไลน์ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และหลักสิทธิมนุษยชนในการสื่อสาร

3. พรรคการเมือง กลุ่มทางการเมืองและสังคม ไม่ควรคุกคามสิทธิพลเมืองเน็ตและเสรีภาพสื่อออนไลน์ ด้วยวิถีทางการเมืองและมาตรการทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม อีกทั้งไม่ควรใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทำลายล้างทางการ เมือง
โดยปราศจากการเคารพหลักการสากลว่าด้วยเรื่องเสรีภาพการสื่อสารผ่านสื่ออิน เทอร์เน็ต

จุดยืนทางการเมืองของกลุ่ม คือเครือข่ายพลเมืองเน็ต เคารพรสนิยมและความเชื่อที่แตกต่างทางการเมืองของทุกคน และเราประกาศตัวเป็นกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองใดๆ ทั้งมีจุดยืนพื้นฐานร่วมกันคือความเชื่อมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องเพราะสิ่งนี้จะเป็นรากฐานสำคัญของสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร และสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการธำรงอิสรภาพแห่งโลกไซเบอร์.2. โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (www.thailabour.org)
โครงการ รณรงค์เพื่อแรงงานไทย หรือ Thai Labour Canpaign – TLC เป็นองค์กรที่ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับแรงงานมายาวนานกว่า 8 ปีแล้ว โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2543 โดยเริ่มแรกนั้นเพื่อทำการรณรงค์และเผยแพร่ข้อมูลความเคลื่อนไหวของแรงงาน ไทยต่อกับองค์กรแรงงานทั้งในประเทศและสากล เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การต่อสู้ของขบวนการแรงงานไทย

โดยมีวัตถุ ประสงค์ขององค์กร คือ 1.เพื่อวิจัยและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานใน ประเทศไทยในทุกรูปแบบ 2.เพื่อเผยแพร่และเปิดโปงการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและการละเมิดสิทธิของ ลูกจ้าง ให้เป็นที่รับทราบของเครื่องข่ายองค์กรในระดับประเทศและต่างประเทศ

3. เพื่อเผยแพร่เอกสาร ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานไทย มาตรฐานแรงงานสากลและกฎหมาย และข้อปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง เช่น จรรยาบรรณด้านแรงงาน 4.เพื่อเป็นเวทีอภิปรายและการศึกษาเกี่ยวกับเงื่อนไขด้านแรงงาน กฎหมายแรงงาน จรรยาบรรณแรงงาน และมาตรฐานด้านแรงงาน 5.เพื่อเรียกร้องให้มีการดำเนินการ และรณรงค์ร่วมกันต่อประเด็นปัญหาด้านแรงงานในประเทศไทย และ 6.เพื่อรณรงค์ต่อต้านบรรษัทข้ามชาติที่ละเมิดสิทธิแรงงานของลูกจ้าง

ขณะ นี้ โครงการกำลังจัดทำ “คาราวานสิทธิแรงงาน” หนังกลางแปลง: เทศกาลหนังแรงงานนานาชาติ, ณ ลานบ้าน-ลานวัน-กลางย่านอุตสาหกรรม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 - กุมภาพันธ์ 2552 โดย ที่คาราวานซึ่งประกอบด้วยรถบัสจากโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยและคาราวาน รณรงค์สิทธิแรงงาน ด้วยความร่วมมือกับสหภาพแรงงานในพื้นที่อุตสาหกรรม จะเดินทางไปยังนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศไทย เพื่อจัดฉายหนังในนิคมอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ จะกิจกรรมต่างๆ ในงานฉายหนังด้วย ได้แก่ เวทีสัมมนาเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ , นิทรรศการเกี่ยวกับสิทธิแรงงาน มาตรฐานแรงงานสากล และข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานต่อรัฐบาลไทย หลังจากนั้น ก็จะฉายหนังสารคดีที่คัดเลือกมา 5 - 7 เรื่องของไทยและจากทั่วโลกเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงาน

ทั้งนี้ ในปัจจุบันการเคลื่อนย้ายของทุน ภายใต้การคุ้มครองของกลไกการค้าเสรีใหม่ที่นำโดยองค์การการค้าโลก (WTO) และการทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ (FTA) หรือข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาค นั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปได้อย่างราบรื่น แต่ต้องเผชิญกับการต่อต้านทั้งในระดับนานาชาติ ในระดับภูมิภาค และในแต่ละประเทศเช่นกัน ทั้งจากประชาชน สหภาพแรงงาน และองค์กรรณรงค์เพื่อสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชน และรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม

การ ประท้วงอันมากมายเกิดขึ้นมาเพราะในกระบวนการจับมือระหว่างทุนกับ รัฐบาลทั่วโลกนั้นได้สร้างผลกระทบในทุกๆ ด้านต่อวิถีชีวิต สภาพการจ้างงานและสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงาน การขยายการลงทุนจากนักลงทุนยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ได้นำความมั่งคั่งและคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างที่ประกาศไว้ต่อเจ้าของพื้นที่ที่ถูกใช้เป็นแรงงานใน สายพานการผลิต หรือถูกขับไล่ออกจากพื้นที่เพื่อเปิดทางให้นายทุนเข้าไปใช้ทรัพยากรได้อย่าง เสรี

ภาพการประท้วงของชาวเอกวาดอร์ ในการต่อต้านโครงการท่อก๊าซ เป็นคำตอบได้ดีถึงความไม่เห็นด้วยของประชาชนกับนโยบายการเปิดประเทศอย่าง เสรีให้นักลงทุน ผลกระทบของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์สำหรับโรงพยาบาลในยุโรป โดยแลกกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของชาวปากีสถานและชาวอินเดียในหนังสารคดี ‘The Dark Side of Healthcare’ การสมานฉันท์ของคนงานท่าเรืออเมริกากับคนงานท่าเรืออังกฤษในสารคดีเรื่อง

เมื่อ ได้รวบรวมสารคดีหลายสิบเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิต ผลกระทบ และการลุกขึ้นสู้และสร้างทางเลือกใหม่ของขบวนการภาคประชาชน และแรงงานจากทั่วทุกมุมโลก ประกอบกับสารคดีเพื่อตีแผ่ปัญหาแรงงานในประเทศไทยร่วมสิบเรื่องที่โครงการ รณรงค์เพื่อแรงงานไทยผลิตในรอบหลายปีที่ผ่านมา ทางโครงการฯ จึงมีความคิดที่จะนำเสนอเรื่องราวของชีวิตและการต่อสู้ของคนจน คนงานจากทั่วทุกภูมิภาคของโลกให้พี่น้องแรงงาน และเครือข่ายภาคประชาชนในประเทศไทยได้ร่วมรับชมด้วย ดังนั้นโครงการหนัง “กลางแปลง: เทศกาลหนังแรงงานนานาชาติ” จึงได้เกิดขึ้นมา เพื่อนำเสนอภาพ “ผู้คน ชาวรากหญ้า ลุกขึ้นสู้”

“เพื่อแนะนำคาราวานสิทธิแรงงานให้คน งานในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศไทยได้ รู้จัก โดยการจัดนิทรรศการและฉายสารคดีด้านแรงงานจากทั่วทุกมุมโลก อันจะทำให้คนงานในเมืองอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ที่ประชาชนทั่วโลกต่างก็ตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน”


3. พรรคเลี้ยวซ้าย – สมานฉันท์ สันติภาพ เสมอภาค (www.pcpthai.org)
เมื่อ “วันที่ 8 พฤษภาคม 2548 เป็นวันที่จะต้องถูกจารึกไว้ในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะได้มีการจัดตั้ง พรรคการเมืองแนวร่วมภาคประชาชน ขึ้นอย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะยังไม่มีการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองก็ตาม”... พรรคเลี้ยวซ้าย (เดิมชื่อ พรรคการเมืองแนวร่วมภาคประชาชน)

พรรคมีการ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ หลากหลายรูปแบบ ทั้งการจัดเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเดินรณรงค์ แจกเอกสารฯลฯ ทั้งนี้กิจกรรมจะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับนโยบายหลักๆ ของพรรคคือ ยืนยันจุดยืน “สองไม่เอา” คัดค้านรัฐประหาร เร่งทำงานมวลชน และผลักดันนโยบายต่างๆ เช่น นโยบายสร้างพลังภาคประชาชน นโยบายปกป้องสิ่งแวดล้อม ด้านสื่อสารมวลชน ด้านสิทธิเสรีภาพทางเพศ ด้านพรมแดนรัฐชาติ และนโยบายระหว่างประเทศ นโยบายเพิ่มสิทธิชุมชน เคารพวัฒนธรรมหลากหลาย นโยบายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และตำรวจ/ทหาร นโยบายการบริหารสังคมรูปแบบใหม่ นโยบายขยายกรรมสิทธิ์ส่วนรวมสาธารณะ นโยบายการปฏิรูประบบการศึกษา และนโยบายด้านสวัสดิการ – นอกจากนี้ ยังมีการผลิตหนังสือที่เกี่ยวพันกับประเด็นเหล่านี้มากมาย รวมทั้งหนังสือพิมพ์รายเดือน “เลี้ยวซ้าย” อีกด้วย

ที่มาของพรรค : การสร้างพรรคการเมืองของภาคประชาชนเป็นที่ถกเถียงกันมานานแล้วจากขบวนการใน ภาค ประชาชนบางกลุ่ม แต่ยังไม่เคยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเสียที ทั้งยังมีนักกิจกรรมรวมไปถึงNGOบางกลุ่มออกมาคัดค้านว่า เราไม่ควรจัดตั้งพรรคการเมืองเพราะท้ายที่สุดมันจะทำให้เรากลายเป็นรัฐและ เป็นผู้กดขี่เสียเอง คาดว่าคนเหล่านี้อาจจะฝังใจอยู่กับอดีตคงจะกลัวว่าเมืองไทยจะเป็นคิวบาแห่ง ที่ 2 (ฟิเดล คาสโตร ในอดีตเป็นนักศึกษาหัวก้าวหน้าที่กลับมาปฏิวัติยึดอำนาจจากจอมเผด็จการบาติ สตา และกลายเป็นผู้ปกครองจอมเผด็จการเสียเอง)

ต่อมาเมื่อวันที่ 5 และ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มีการจัดเสวนาเรื่องวิกฤต? ภาคประชาชนไทยภายใต้รัฐบาลทักษิณ2 ? ได้ มีการเชิญตัวแทนของภาคประชาชนหลายๆกลุ่มมามาร่วมการเสวนา บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเต็มไปด้วยความแตกต่างทางความคิดแต่ก็มีความสมานฉันท์ เพราะทุกคนมีศัตรูตัวเดียวกันนั่นคือระบบทุนนิยมที่ขูดเลือดขูดเนื้อและกด ขี่ชนชั้นกรรมาชีพและคนชั้นล่างชนิดโงหัวไม่ขึ้น

ทั้งยังเจาะเวลาหา อดีตไปยุคสมัยจอมพล ป. นำเอาลัทธิชาตินิยมมาใช้ (ปลุกใจให้คนรักชาติและรังเกียจคนที่แตกต่างจากตน) การเสวนาในช่วงแรกๆ ก็จะเป็นไปในลักษณะการหยิบยกเอาปัญหาของภาคประชาชนในกลุ่มต่างๆ ขึ้นมาถกกัน ในวันที่ 6 (ตรงกับวันเลือกตั้ง) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายได้มีการร่วมกันเสนอทางออกซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เราจะไม่หวังพึ่งพรรครัฐบาลที่หวังกอบโกยจากประชาชนให้มากที่สุด และเราก็ไม่สามารถพึ่งพรรคฝ่ายค้านที่พร้อมจะปกป้องผลประโยชน์ของตนแต่ไม่ พร้อมที่จะปกป้องผลประชาชนดังนั้นคำตอบสุดท้ายคือเราต้องจัดตั้งพรรคที่เป็น ของเราอย่างแท้จริง

หลังการเสวนาในวัน ที่ 6 เสร็จสิ้นลง ได้มีผู้ลงนามแสดงเจตจำนงที่จะตั้งพรรคและได้ตกลงกันว่าในวันที่ 19 มีนาคม เราจะมาประชุมกันอีก เมื่อถึงวันนัดก็ได้มีการประชุมกันเพื่อร่วมกันร่างนโยบายขึ้นมา การประชุมครั้งนี้แม้จะเครียดแต่ก็มีบรรยากาศของมิตรภาพ ท้ายสุดได้มีการร่างออกมาเป็นนโยบาย 9 ข้อ ซึ่งทุกข้อเป็นนโยบายการทวงคืนสิทธิของกรรมาชีพและชนชั้นล่างที่ได้ถูกนาย ทุนและชนชั้นปกครองเบียดบังไป และว่าที่สมาชิกพรรคก็ได้มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการจัดตั้งพรรค จำนวน 7 คน เพื่อไปร่างนโยบายที่ได้ประชุมกันไว้ออกมาและร่างกฎระเบียบของพรรคออกมา เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในการประชุมใหญ่ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 8 พฤษภาคม 2548 โดย ระหว่างนั้นคณะกรรมการจัดตั้งพรรคได้ประชุมร่วมกันหลายครั้งเพื่อร่างกฎ ระเบียบพรรคออกมาเป็นรูปธรรมเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ให้การรับรอง ซึ่งหากที่ประชุมให้การยอมรับพรรคก็จะถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ

วันประชุมใหญ่มีผู้เข้าร่วมประชุมหลากหลาย ทั้งนักศึกษา ตัวแทนสหภาพ กรรมกร ตัวแทนชาวบ้าน นักวิชาการ และ นักเรียนมัธยม ที่ประชุมได้ทำการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารเพื่อทำงานจัดการงานบริหารแต่ คณะกรรมการชุดนี้มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ บริหารงานตามความต้องการของสมาชิกพรรคส่วนใหญ่ ไม่มีอำนาจตัดสินใจโดยพละการ และหากบริหารงานไม่เหมาะสมสมาชิกก็มีสิทธิถอดถอนได้ตลอดเวลา ซึ่งแสดงถึงประชาธิปไตยภายในองค์กรได้เป็นอย่างดี

ในที่สุดพรรคแนว ร่วมที่เป็นของภาคประชาชนโดยแท้จริงก็ได้ถือกำเนิดขึ้น แล้ว แต่การตั้งพรรคนี้จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าไม่มีประชาชนคนเดินดินมาร่วม ด้วย หมดเวลาหวังพึ่งนักการเมืองนายทุนซึ่งก็เหมือนต้นไม้ในทะเลทรายที่รอคอยน้ำ ฝน(ที่ไม่มีวันตก) เราต้องพึ่งตัวเองโดยใช้พรรคของเราเองเป็นเครื่องมือ ที่สำคัญเราต้องเลิกแบ่งแยกกันเองเพียงเพราะความแตกต่างบางประการ (ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้มักถูกตีตราขึ้นโดยรัฐเพื่อสลายความเข้มแข็งของภาค ประชาชน) เราต้องก้าวให้ข้ามอคติทำงานร่วมกันและไม่เคลื่อนไหวแยกส่วน เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองให้แก่ตัวเราเอง มาร่วมกันทำพรรคนี้ให้เป็นพรรคการเมืองของประชาชน เพื่อรับใช้ประชาชน ที่แท้จริงกันเถอะ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของพวกเราเอง


4. เยาวชนยุคพลังงานสะอาด (www.greenpeace.org/seasia/th/solargen/)
โครงการ Solar Generation หรือ เยาวชนยุคพลังงานสะอาด เป็นโครงการรณรงค์เพื่อสนับสนุนการหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน) ที่มีมนุษย์เป็นสาเหตุหลัก โดยมีกิจกรรมในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย เป็นกิจกรรมที่เด็กและเยาวชนร่วมกันจัดขึ้น โดยกรีนพีซเป็นผู้ให้ข้อมูลและความรู้แก่เยาวชนที่สนใจเรื่องภาวะโลกร้อน เพื่อร่วมกันรณรงค์หยุดใช้พลังงานสกปรก และหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด

Solar Generation มีกิจกรรมอยู่ทั่วโลก กลุ่ม Solar Generation สนับสนุนทุกกิจกรรมเกี่ยวกับการรณรงค์หยุดภาวะโลกร้อน ทั้งสิ่งพวกเขาต้องการ คือ (1) ทุกประเทศสนับสนุนให้ทบทวนข้อตกลงร่วมเกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซใน พิธีสารเกียวโต และชักจูงให้เกิดการเจรจาถึงปริมาณการลดการปล่อยก๊าซในรายละเอียดทันที (2) ประเทศอุตสาหกรรมดำเนินนโยบายของชาติในเชิงรุก และดำเนินโครงการการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ อย่างจริงจัง (3) ยกเลิกการผลิตและการใช้ถ่านหินอย่างเร่งด่วน (เพราะถ่านหินปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่บรรยากาศต่อหน่วยการผลิตพลังงานมากกว่า น้ำมันและก๊าซ) (Greenpeace Guide to Kyoto Protocol หน้า 41)

(4) ให้เงินงบประมาณสนับสนุน และสร้างการยอมรับร่วมกัน ในการพัฒนาและส่งเสริมแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน ในระดับการค้า (5) ยกเลิกความช่วยเหลือในการผลิตและใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และหันมาส่งเสริมระบบพลังงานหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม (6) จำกัดประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ให้ขุดเจาะนำแหล่งน้ำมันและก๊าซที่สำรวจพบเพิ่มขึ้น และหยุดการเสาะหาแหล่งน้ำมันและก๊าซแหล่งใหม่ ถ้าเราต้องการหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แหล่งน้ำมันและก๊าซเหล่านี้จะต้องไม่ถูกนำมาใช้ เราไม่ควรนำเงินเหล่านี้ให้สูญไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่ควรนำมาลงทุนกับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด และ (7) หยุดการเสาะหาแหล่งน้ำมันและก๊าซที่ไม่อยู่ในอนุสัญญา เช่น หินน้ำมัน (oil shale) และ ออริมัลชั่นจากเวเนซูเอลา (Orimulsion - เชื้อเพลิงเหลว ประกอบด้วยน้ำมันดิน น้ำ และสารบางอย่าง) มาใช้ผลิตไฟฟ้าแทนน้ำมัน

Solar Generation ร่วมกับกรีนพีซรณรงค์ต่อต้านการขยายตัวของการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และสนับสนุนการผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่า กล่าวคือ การรณรงค์ด้านพลังงานของกรีนพีซนั้นให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศหรือภาวะโลกร้อน การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และ การป้องกันการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษ

กรีนพีซได้ศึกษาและตี พิมพ์งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม และใช้ฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เรามีในการผลักดันรัฐบาลและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องให้หันมาใช้พลังงานสะอาด และยกเลิกการใช้พลังงานฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศ นอกจากนี้ กรีนพีซยังสนับสนุนการรณรงค์ของชุมชน และสนับสนุนกิจกรรมชุมชนในด้านต่างๆ เช่น การแบ่งปันข้อมูล จัดสัมมนา จัดอบรมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และ ประสานงานกับสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เป็นต้น

ยกตัวอย่างกิจกรรม เมื่อ 9 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันรณรงค์ทั่วโลกเพื่อต่อสู้ภาวะโลกร้อน เยาวชนยุคพลังงานสะอาด อาสาสมัครกรีนพีซ และชุมชนแม่เมาะ ร่วมกันติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะขนาด 0.1 กิโลวัตต์ สำหรับระบบแสงสว่าง ณ ศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของวันรณรงค์ทั่วโลกเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน (Global Day of Action) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งข้อความ "ลงมือทำอย่างจริงจังเพื่อยุติภาวะโลกร้อน (Get serious about climate change)" ไปยังผู้นำประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 14 (COP14) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโตสมัยที่ 4 (MOP4) 1-12 ธันวาคม 2551 ที่เมืองพอซแนน ประเทศโปแลนด์ ซึ่งประชุมเพื่อเจรจามาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อยุติผลกระทบ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เยาวชนยุคพลังงานสะอาด อาสาสมัครกรีนพีซ และชุมชนแม่เมาะ ร่วมกันติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะขนาด 0.1 กิโลวัตต์ สำหรับระบบแสงสว่าง ณ ศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของวันรณรงค์ทั่วโลกเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน (Global Day of Action) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งข้อความ "ลงมือทำอย่างจริงจังเพื่อยุติภาวะโลกร้อน (Get serious about climate change)" ไปยังผู้นำประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 14 (COP14) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโตสมัยที่ 4 (MOP4) 1-12 ธันวาคม 2551 ที่เมืองพอซแนน ประเทศโปแลนด์ ซึ่งประชุมเพื่อเจรจามาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อยุติผลกระทบ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

5. ปิดทีวี เปิดชีวิต กับ We Change555 (www.wechange555.com)
We Change555 เริ่มก่อตัวขึ้นมาจากกลุ่ม ชาวต้นกล้า (รู้จักต้นกล้าได้ที่ www.tonkla.org) ต่อมากลุ่มได้เริ่มกันจัดค่าย และร่วมคิดออกมาเป็น "ทุกวันฉันเปลี่ยนแปลงโลก" หรือ we change (we can change the world everyday) อย่างในปัจจุบัน ซึ่งก็ยังต้อง ต่อเติมเสริมแต่ง ต่อยอด แตกหน่อกันต่อไปเรื่อยๆ เพื่อหาคนมาร่วมทำให้โลกนี้ดีขึ้นทุกวันๆ

ทั้ง การรณรงค์ we change ก็เพื่อสร้างให้เกิดวัฒนธรรม และบรรยากาศ ของการทำเพื่อสังคมแบบง่ายๆ จากจุดที่ทุกคนเป็น จากวิถีประจำวันของแต่ละคน (Changing by living) ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็สามารถเปลี่ยนแปลงสังคม เปลี่ยนแปลงโลกได้ด้วยกัน เริ่มจาก โครงการรณรงค์ปิดทีวี มาจนถึงการรณรงค์สัปดาห์ไม่ซื้อ โดย we change จะเรียกว่าเป็นแนวคิด หรือแนวทางก็ได้ เป็นสิ่งที่เราทำและประกาศให้ใครๆ รู้ว่า เราแต่ละคน ล้วนเปลี่ยนแปลงโลกนี้ ให้น่าอยู่ได้ด้วยกันทั้งนั้น ภายใต้นิยามสั้นๆ ว่า ขัดขืน คืนคุณค่า ค้นหาความสัมพันธ์

การขัดขืนกับคุณค่าเดิมที่ทำ ร้ายโลก ขัดขืนวิถีแบบเดิมที่เบียดเบียนตัวเองและสรรพสิ่งอื่น การใช้สัญลักษณ์ใดร่วมกัน ก็ถือว่าเป็นชุมชนได้แล้ว การพูดคุยในเรื่องราวเดียวกัน แบ่งปัน ประสบการณ์ร่วมกันผ่านเว็บไซด์หรือบล็อก ฯลฯ ก็ถือเป็นเครือข่ายเกื้อกูลกันได้แล้ว มาเป็นส่วนหนึ่งของการ change ด้วยการสร้างปฏิบัติการ ของตัวเอง (ไม่ใช้พลาสติก ซื้อของร้านชำ ไม่ดูทีวี งดใช้มือถือ ยิ้มให้คนอื่น ฯลฯ) แล้วอย่าลืมบอกต่อให้รับรู้กันไปถ้วนทั่วเลยนะจ๊ะ การสร้างคุณค่าใหม่ให้เกิดขึ้น หลังจากที่เราเปลี่ยนแปลงอะไรแล้ว ก็ต้องหาบางสิ่งมาแทนที่นั่นเอง การสร้างความสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายจะทำให้การเปลี่ยนแปลงของเราไม่โดด เดี่ยวหรือรู้สึกว่าตัวเองบ้าไปคนเดียว

ส่วนเป้าหมายของการรณรงค์ปิด ทีวี ฮ่า ฮ่า ฮ่า ไม่ได้ต้องการทำลายทีวีหรือให้เลิกดูอย่างเด็ดขาดถอนรากถอนโคน การรณรงค์ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นที่จะตั้งคำถามกับชีวิตของเราในโลกของทุน นิยมบริโภคนิยม อาจเป็นจุดเริ่มของการตั้งถามว่ามันแทรกซึมเข้ามาในวิถีชีวิตของเราอย่างไร อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการฉุกคิดว่าเราทำอะไรต่อมิอะไรได้มากมายเพียงไร อาจเป็นจุดเริ่มต้นของอะไรอีกหลายหลาก ลดใช้มือถือ งดเล่นเกมส์ออนไลน์ งดออนไลน์ msnฯลฯ

อย่างน้อยที่สุด เราจะไม่เป็นเพียงผู้รับสารที่เฉื่อยชาหรือผู้รับสารที่เปลี่ยนพฤติกรรมส่วน ตัวเท่านั้น แต่ยังจะกลายเป็นผู้รณรงค์ได้ด้วยตนเองอีกด้วย ก็ด้วยการบอกต่อชักชวนทำเป็นแบบอย่างไงล่ะ

ข้อมูลจากสมาคมกุมาร เวชศาสตร์ของอเมริกัน ได้แนะนำว่าเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรดูทีวี นอกจากนั้นยังแนะนำผู้ปกครองอีกว่าไม่ควรวางทีวีไว้ในห้องนอนเด็กจำกัดเวลา ดูทีวีไว้วันละไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง และอย่าใช้ทีวีเป็นพี่เลี้ยงเด็ก

แน่ นอนว่าเบื้องหลังคำแนะนำนั้นย่อมมีที่มาที่ไปซึ่งคนเป็นพ่อแม่ควรให้ ความสนใจ Joseph Chilton Pearce เขียนไว้ในหนังสือ Evolution's End ของเขาว่า ศักยภาพของเด็กเปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ต้องการการดูแลเอาใจใส่ที่ดี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เติบโตอย่างถูกต้องเหมาะสม เด็กทารกนั้นเกิดมาพร้อมกับเซลล์สมองหมื่นล้านเซลล์ ใช้เวลาสามปีแรกของชีวิตสร้างเซลล์เพิ่มขึ้นอีกพันล้านเซลล์ จากนั้นเซลล์ประสาทก็จะสร้างเส้นใยเชื่อมต่อกันเป็นตาข่าย

พอเด็ก อายุหกขวบมีขนาดสมองเป็น 2/3 ของผู้ใหญ่ แต่มีเส้นใยประสาทที่เชื่อมต่อกันเป็นตาข่ายนี้มากกว่าผู้ใหญ่และเด็กอายุ 18 เดือนถึง 5-7 เท่า สมองของเด็ก 6-7 ขวบจึงมีศักยภาพมหาศาล ศักยภาพที่ว่านี้จะหยุดพัฒนาประมาณอายุ 10-11 ขวบ ถึงตอนนั้นเด็กจะเสียเส้นใยประสาทนี้ไปประมาณ 80% (Pearce 1992, Buzzell 1998) ปรากฏว่าสิ่งที่เราไม่ได้ใช้ไม่ได้พัฒนาเราจะเสียไป โดยเอนไซม์ชนิดหนึ่งจะถูกปล่อยออกมาในสมองและค่อยๆ ละลายไมอีลินซึ่งเป็นสารโปรตีนที่หุ้มรอบเส้นใยประสาทออก ไมอีลินนี้เป็นเหมือนเส้นทางเดินของสัญญาณประสาทไมอีลินยิ่งหนาเท่าไร ประสาทก็ยิ่งไวเท่านั้น แต่ก็ต้องการสิ่งเร้ามากระตุ้น ขณะที่การนั่งดูทีวีนิ่ง ๆ นาน ๆ ถูกยัดเยียดด้วยภาพ เสียง ที่ผ่านหูผ่านตาอย่างรวดเร็ว เพื่อตรึงผู้ชมไว้กับที่ทำให้สมองไม่ได้ทำงานมากนัก

ด้านดร.ซิกแมน กล่าวหาภาครัฐที่ละเลยความเชื่อมโยงระหว่างทีวีกับผลลบมากมายที่ เกิดกับเยาวชน เช่น ขัดขวางพัฒนาการความก้าวหน้าในโรงเรียน และถ่ายทอดสุขภาพย่ำแย่ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น รัฐบาลควรกำหนดให้การจำกัดเวลาการดูทีวีของเด็กๆ เป็นภารกิจสำคัญอันดับต้นๆ เพื่อยกระดับภาวะที่เป็นสุขของเยาวชน และลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข

รายงาน ของดร.ซิกแมนที่อิงกับผลสำรวจภายในอังกฤษยังระบุว่า เฉลี่ยแล้วเด็กจะเริ่มใช้เวลาดูทีวีตลอดทั้งปีเมื่ออายุ 6 ขวบ และกว่าครึ่งของเด็กอายุ 3 ขวบมีทีวีในห้องนอน

ดร.ซิกแมนจากบริติช ไซโคโลจิคัล โซไซตี้ เสริมว่าเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีไม่ควรดูทีวีเลย ส่วนเด็กที่โตกว่านั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรพิจารณาเรื่องการดูทีวีของเด็กอย่างรอบคอบ ทั้งนี้เด็กอายุระหว่าง 3-5 ขวบควรดู ‘รายการดีๆ มีคุณภาพ’ ไม่เกินวันละครึ่งชั่วโมง และเพิ่มเป็น 1 ชั่วโมงสำหรับเด็กอายุ 5-12 ขวบ และ 1 ชั่วโมงครึ่งสำหรับวัยรุ่น

นอกจากจะมีรายงานเปิดเผยออกมาก่อน หน้านี้ไม่กี่วันว่า เด็กอังกฤษไม่มีความสุขและมีสุขภาพอ่อนแอที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ดร.ซิกแมนสำทับว่า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใดที่เด็กอังกฤษได้ชื่อว่าดูทีวีมากที่สุดใน ยุโรปด้วยเช่นกัน “การดูทีวี ไม่ว่ารายการรูปแบบใด มีความเชื่อมโยงมากขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาและกระบวนการคิดในทางลบ และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครรู้ เนื่องจากในเอกสารของทางการไม่เคยมีการพาดพิงถึงทีวีเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ประหลาดมาก

รายงานของ ดร.ซิกแมน ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสารไบโอโลจิสต์ ระบุว่า การดูทีวีมากเกินไปมีความเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ส่งเสริมโรคอ้วน และกระทั่งทำให้ภูมิต้านทานโรคต่างๆ ลดลง การดูทีวียังส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง เนื่องจากไม่มีการกระตุ้นให้สมองใช้ความคิดตรึกตรองเหมือนการอ่านหนังสือ รวมถึงมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคสมาธิสั้น

กาศึกษาระยะยาวใน นิวซีแลนด์ที่ติดตามผลเด็กตั้งแต่แรกเกิด ได้ข้อสรุปว่า การดูทีวีมากเกินไปขณะเป็นเด็ก เกี่ยวโยงกับโอกาสประสบความสำเร็จทางการศึกษาที่ลดต่ำลงเมื่ออายุ 26 ปี ขณะที่การศึกษาของอิตาลีพบว่า เด็กที่ไม่ค่อยได้ดูทีวี มีระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่ช่วยชะลอการเจริญเติบโตทางเพศ สูงกว่าเด็กที่ดูทีวีบ่อย

อนึ่งรายงานของดร.ซิกแมนจำแนกพิษภัยของ ทีวีต่อเยาวชนไว้ละเอียดลออถึง 15 ข้อดังนี้ โรคอ้วน เนื่องจากมีการออกกำลังกายน้อยมาก แสงจากทีวียับยั้งการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน ภูมิคุ้มกันโรคลดลง การที่เมลาโทนินลดลงอาจทำให้มีโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะเกิดการกลายพันธุ์ในเซลล์ ดีเอ็นเอ ซึ่งทำให้เกิดมะเร็ง โตเป็นสาว/หนุ่มก่อนวัย ซึ่งเกี่ยวโยงกับการลดลงของเมลาโทนินเช่นเดียวกัน มีปัญหาในการนอนหลับ เนื่องจากความตื่นเต้นเร้าอารมณ์ของรายการทีวี

โรค ออทิสซึม หรือความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา การสื่อความหมาย พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ เกิดจากการขาดการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ไขมันในร่างกายเพิ่ม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเลปตินและเกรลินที่ผลิตไขมันและ กระตุ้นความอยากอาหาร ขาดสมาธิ เนื่องจากการพัฒนาเซลล์สมองที่ควบคุมช่วงความสนใจบกพร่อง มีปัญหาในการอ่าน ผลจากการขาดสิ่งกระตุ้นสติปัญญาขณะเป็นเด็ก เบาหวานประเภท 2 จากการกินอาหารแคลอรีสูงระหว่างดูทีวี คลื่นที่แผ่ออกมาจากทีวีมีความเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ภูมิคุ้ม กันบนผิวหนัง ทำให้คอเลสเตอรอลเพิ่ม เนื่องจากเด็กไม่ค่อยทำกิจกรรมอื่น นอกจากนั่งเฝ้าหน้าจอทีวี การดูทีวีอาจทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารช้าลงกว่าการไม่ทำอะไรเลย สายตาสั้น การดูทีวีมากๆ ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์


6. Border Green Energy Team - BGET (www.bget.org)
The Border Green Energy Team หรือ BGET เป็นองค์กรที่จัดฝึกอบรม การสร้าง ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านพลังงาน และช่วยหา แหล่งเงินสนับสนุน ชุมชนในเขตชนกลุ่มน้อย ทั้งสองด้านของชายแดน ไทย-พม่า

บีเจ็ททำงาน หลักๆ 4 อย่าง คือ 1.จัดฝึกอบรมช่างท้องถิ่น เพื่อให้ระบบไฟฟ้า เซลล์แสงอาทิตย์ ในโครงการเอื้ออาทร มีอายุการใช้งาน ที่ยาวนานขึ้น 2.จัดฝึกอบรม ด้านพลังงานหมุนเวียน ในค่ายผู้อพยพ 3.ติดตั้งและซ่อมบำรุง ระบบไฟฟ้าพลังงานน้ำ ขนาดเล็กในชุมชน และ 4.จัดฝึกอบรม การติดตั้งและซ่อมบำรุง ระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ตามแนวชายแดน (ติดตามข่าวความคืบหน้าและพื้นที่ตัวอย่างได้ที่เว็บไซด์)

นอกจากนี้ บีเจ็ทยังทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรอีกมากมาย อาทิ (1) พลังไท เป็นองค์กรอิสระไม่แสวงผลกำไร จัดตั้งในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมนโยบายที่ปฏิรูปภาคพลังงานในภูมิภาคนี้ โดยคำนึงถึงความสมดุลทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (2) Green Empowerment มีเป้าหมายขององค์กร คือ การส่งเสริมโครงการ ที่พัฒนาการใช้ พลังงานหมุนเวียน ระดับชุมชน และแหล่งน้ำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมในชุมชนห่างไกลทั่วโลก

(3) ZOA-Refugee Care ทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้อพยพ ผู้ถูกโยกย้ายถิ่นฐาน (IDPs) ผู้ย้ายกลับถิ่นเดิม หรือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยสงครามหรือภัยทางธรรมชาติ (4) TOPS (Taipei Oversea Peace Service) เป็นองค์กรอิสระไต้หวัน ที่ให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม โดยมากเพื่อการศึกษาสำหรับผู้อพยพ และชุมชนที่ผู้อพยพ หลั่งไหลเข้าไปอาศัยอยู่ รวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่หลีกหนีภัยสงครามจากพม่า (เวบไซต์เป็นภาษาจีน) (5) มูลนิธิช่วยเหลือเด็กชายแดนจังหวัดตาก (Tak Border Child Assistance Foundation) เป็นมูลนิธิไม่แสวงผลกำไร และไม่จำเพาะศาสนา จัดตั้งขึ้นโดยชุมชนท้องถิ่น ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ในปี 2548 มีเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กที่มาจากครอบครัวยากจน หรือครอบครัวที่จำเป็น ต้องหาเลี้ยงชีพ และไม่ได้ใส่ใจดูแลเด็กให้ได้รับการศึกษา เพื่อให้เด็กเหล่านี้ มีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ การศึกษาระดับสูง

ตามมาด้วย (6) Knightsbridge International, Inc., เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ทำงานให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติทั่วโลก โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เพื่อให้มีองค์กรที่สามารถทำงานได้โดยอิสระ และมุ่งให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์และด้านมนุษยธรรม

(7) เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (KNCE) - เป็นองค์กรอิสระ ที่ส่งเสริมการพัฒนา คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ในชุมชนชาวกะเหรี่ยง โดยการผสมผสานวัฒนธรรมและความรู้ ด้านเทคโนโลยี งานหลัก 4 ประการ ขององค์กรได้แก่ 1) จัดอบรมความ เป็นผู้นำให้แก่ผู้นำชุมชน และผู้นำในอนาคต 2) เสริมสร้าง และสนับสนุนการใช้วิถีชีวิตตามแนวกะเหรี่ยงในชีวิตประจำวัน 3) สนับสนุนให้ชุมชน เคารพอานุภาพของจักรวาล และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ที่สอดคล้องกับ วิธีทางธรรมชาติ อย่างยั่งยืนและสมดุล 4) บันทึกภูมิความรู้ และความเชื่อของ ชนชาวกะเหรี่ยง

(8) Karen Department of Health and Welfare (KDHW) - ทำงานเพื่อช่วยเหลือ ชาวกะเหรี่ยง ผู้ต้องอพยพ โยกย้ายถิ่นฐานในพม่า โดยจัดตั้งและสนับสนุนเครือข่ายสถานีอนามัย 29 แห่ง ที่ให้การรักษาพยาบาลแก่ประชาชนมากกว่า 100,000 คนในแต่ละปี ที่ต้องมีชีวิตอยู่ในการปราบปรามอย่างรุนแรงของทหารพม่า และ (9) SunEnergy Power International เป็นองค์กรสาธารณะที่ไม่แสวงหาผลกำไร ได้พัฒนาและทำการส่งเสริมโครงการพลังงานทดแทนต่างๆ ในพื้นที่ห่างไกล, ในส่วนปกครองต่างๆ ของโลก


7. RabbitHood กับโครงการ ‘ใจหาย’ (www.rabbithood.net)
RabbitHood คือองค์กรอิสระขนาดกระทัดรัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2550 เพื่อผลิตและจัดการโครงการศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย งานด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ ความตั้งใจหลักคือการสร้างชุมชนทางศิลปวัฒธรรมร่วมสมัยให้แข็งแรง อันจะเป็นรากฐานของการมีชีวิตที่ดีในโลกปัจจุบัน (หวังว่านะ)

ล่าสุด มานี้ร่วมกับองค์กรพันธมิตรจัดงาน "ทะลุหูขวา ครั้งที่ 21" ฉลองครบรอบสองปี! Fall On Deaf Ears พร้อมกับเปิดโครงการ 'ใจหาย' (Breathless) ไปเมื่อวันศุกร์ที่ 19 ธันวาคมนี้ เวลา 3 ทุ่มถึงเที่ยงคืน ที่ปันนาเพลส นิมมานฯ ซอย 6 อ.เมือง จ.เชียงใหม่

'ใจหาย' คือโครงการล่าสุดของ Rabbithood ที่ทำร่วมกับ ภาคีคนฮักเจียงใหม่ และ British Council โดยได้รับการสนับสนุนจาก สถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการศิลปะเพื่อสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วยชิ้นงานย่อยๆ จำนวน 7 ชิ้น เน้นจำเพาะไปที่ปัญหาสภาพหมอกควันในเชียงใหม่ รายละเอียดอื่นๆ ของโครงการนั้น สามารถเข้าไปติดตามได้ที่ www.beautifulbreathless.com ได้เลย

สำหรับงานเปิด+งานฉลองครบรอบสองปี เมื่อวันที่ 19 ธันวานั้น RabbitHood ทำเป็น Disco Night ตั้งชื่องานว่า WE ARE THE DESTROYER ชื่องานอาจจะแปลกๆ ไปหน่อย แต่มันก็มีที่มาที่ไปนะ เพราะว่าปาร์ตี้เปิดตัวนี้ก็เป็นหนึ่งในชิ้นงานเจ็ดชิ้นของ 'ใจหาย' ด้วย

เรา จะจัดปาร์ตี้กันสนุกสนานตามปกติ แต่คราวนี้มีความพิเศษอยู่ตรงที่เราจะคำนวณพลังงานที่ใช้ไประหว่างความสนุก สนานนั้น ออกมาเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น ทั้งไฟฟ้า แก้ว ขวด ยานพาหนะที่ใช้มากัน ฯลฯ จากนั้นทีมงานก็จะคำนวณออกมาเป็นตัวเลข แล้วก็มี graphic artist ทำออกมาเป็นภาพ ฉายขึ้นบนจอ ในขณะที่เรากำลังสนุกสนานสุดเหวี่ยงกัน จากนั้นเราจะสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้แล้วเอาไปใช้ในงานชิ้นต่อๆ ไป ไม่เพียงเท่านั้น (สำนวนรายการขายของในทีวีตอนดึก) เรายังมีฟุตเทจหนังสารคดีของ เจ-สันติภาพ อินกองงาม ที่มาถ่ายทำโครงการ 'ใจหาย' ตั้งแต่ต้น เปิดฉายให้ชมเป็นครั้งแรกที่งานนี้ด้วย (ติดตามความคืบหน้า และกิจกรรมต่อเนื่องได้จากเว็บไซต์ของกลุ่ม อีกทั้งโลคัลทอล์คจะนำข้อมูลมาประชาสัมพันธ์เป็นระยะๆ ต่อไป)


8. สาละวินโพสต์ - แบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน (www.salweennews.org)
ศูนย์ ข่าวสาละวิน หรือ Salween News Network Project (SNN) เป็นองค์กรเอกชนซึ่งก่อตั้งโดยนักข่าวไทยซึ่งมีประสบการณ์ทำงาน เกี่ยวกับประเทศพม่ามานานกว่า 7 ปี และเป็นองค์กรอิสระไม่ขึ้นกับกลุ่มการเมืองใดๆ ศูนย์ข่าวสาละวินเริ่มทำงานภายใต้ชื่อสำนักข่าวเชื่อม ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคภาษาไทยของสำนักข่าวชาน (S.H.A.N) ของกลุ่มไทยใหญ่ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2545 และแยกตัวออกเป็นศูนย์ข่าวสาละวินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2546 เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานข่าวเกี่ยวกับพม่าให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ศูนย์ ข่าวสาละวินเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมและผลิตข่าวสารเกี่ยว กับประเทศ พม่าเพื่อสังคมไทย เนื่องจากประเทศไทยและประเทศพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน มากกว่าสองพันกิโลเมตร และปัจจุบันมีประชาชนจากประเทศพม่ามากมายที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทย แต่สังคมไทยกลับยังคงรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศพม่าน้อยมาก ทำให้เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับประเทศพม่า สังคมไทยไม่สามารถหาทางออกในการแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

สาเหตุที่ สังคมไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศพม่า เนื่องมาจากตลอดเวลาที่ผ่านมา ยังไม่มีองค์กรใดที่ทำงานรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศพม่า เป็นภาษาไทยอย่างจริงจัง ศูนย์ข่าวสาละวินจึงก่อตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่นี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า องค์กรของเราจะช่วยให้สังคมไทยมีความเข้าใจประเทศพม่ามากยิ่งขึ้น

โดย มีลักษณะการดำเนินงาน คือ 1. รวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศพม่าจากสำนักข่าวต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่เป็นภาษาอังกฤษ ทางศูนย์ข่าวจะดำเนินการแปลเป็นภาษาไทย ส่งให้ผู้อ่านผ่านทาง อีเมลของผู้สมัครเป็นสมาชิก จดหมายข่าว และเว็บไซต์ 2. ผลิตจดหมายข่าวและหนังสือเกี่ยวกับประเทศพม่า 3. ฝึกอบรมบุคลากรผู้ผลิตงานข่าวเกี่ยวกับประเทศพม่า และ 4. จัดพบปะระหว่างสำนักข่าวอิสระจากประเทศพม่าและสื่อมวลชนไทย

งานการ เผยแพร่หลักๆ ของศูนย์ข่าวคือส่งข่าวทางอีเมลล์ และจัดทำจดหมายข่าวราย 6 สัปดาห์ชื่อ สาละวินโพสต์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์หนังสือชุดเพื่อความเข้าใจในประเทศพม่า และจัดทำสื่ออื่นๆ อีกด้วย


9. The Story of Stuff (www.storyofstuff.com)
เรื่อง ราวที่ดังข้ามปีกับ “The Story of Stuff”... ที่ออกฉายครั้งแรกทางอินเตอร์เน็ตเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2550 จากวันนั้นถึงวันนี้ มีคนหลายล้านคนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ จากกว่า 224 ประเทศทั่วโลก และมีคน องค์กรต่างๆ หลายพันแห่งที่เรียกร้องให้แปลภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นนี้ออกเป็นภาษาอื่นๆ ด้วย...

เรื่อง Story of Stuff เริ่มต้นด้วยภาพและเสียงว่า “คุณเคยสงสัยไหมว่า ข้าวของเครื่องใช้รอบตัวเรามาจากไหนกันบ้าง และมันจะเดินทางไปไหนต่อเมื่อเราโยนทิ้ง”...แอนนี่ ลีโอนาร์ด (Annie Leonard ผู้หญิงคนที่อยู่ในรูปนั้นแหละ) มีคำตอบ

ด้วยความยาวประมาณ 20 นาทีที่จะกระตุกให้คุณหันมาสนใจ “ข้าวของ” ต่างๆ มากขึ้น ผ่านการบรรยายประกอบภาพการ์ตูน สอดแทรกด้วยมุขตลกร้ายๆ เธอใช้เวลานานกว่า 10 ปีเดินทางไปทั่วโลกเพื่อที่จะพบว่า เรื่องราวเกี่ยวกับข้าวของต่างๆ นั้น ไม่ได้มีแค่การใช้ทรัพยากร การผลิต การจัดจำหน่าย การบริโภค และการกำจัดขยะ เหมือนอย่างที่เขียนไว้ในตำราว่าด้วย “Material Economy”

แอ นนี่อธิบายว่า ทุกขั้นตอนล้วนต้องสัมพันธ์กันสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม มีผู้คนจำนวนมากใช้ชีวิตและทำงานอยู่ในระบบนี้ แต่ความจริงก็คือ..ทั้ง 5 ขั้นตอนรวมกันเป็นระบบที่เรียกว่า “linear system” นี้ไม่เหมาะเลยกับโลกที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด ได้แก่ 1.การใช้ทรัพยากร หรือถ้าจะเรียกให้ถูกควรใช้คำว่า การ “ผลาญ” ใช้ทรัพยากร เพราะมันร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ และกำลังจะหมดเกลี้ยงในไม่ช้า

เราใช้มันในการผลิตข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มากเกินไปแล้ว

2. ทรัพยากรจำนวนมากถูกป้อนเข้าสู่การผลิตในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งใช้พลังงานมหาศาล สารเคมีปริมาณนับไม่ถ้วน จึงไม่น่าแปลกใจที่ผลผลิตที่ได้จะปนเปื้อนไปด้วยสารที่เป็นอันตราย หรือเขียนเป็นสมการง่ายๆ ได้ว่า ทรัพยากรธรรมชาติ + พลังงาน + สารเคมี = ผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนสารเคมี

เราไม่มีทางรู้ว่า.. สารเคมีสังเคราะห์นับแสนชนิดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง

แต่ ที่แน่ๆ มันแทรกซึมและสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร และตกค้างอย่างเข้มข้นอยู่ในร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้าย นั่นทำให้น้ำนมแม่กลายเป็นอาหารที่มีระดับการปนเปื้อนของสารพิษมากที่สุด

เด็กทารกจึงได้รับสารเคมีอันตรายปริมาณสูงผ่านการดื่มนมแม่

คน อีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าคือ คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม พวกเขาจำนวนมากไม่มีทางเลือกมากนัก จึงต้องก้มหน้าก้มตารับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายในระหว่างการทำงานต่อไป สิ่งที่น่าสะพรึงกลัวอีกอย่างหนึ่งคือ ผลพลอยได้อันน่ารังเกียจจากกระบวนการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่ชื่อ “มลพิษ” นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมประเทศที่พัฒนาแล้วจึงย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศกำลัง พัฒนา (หนึ่งในนั้นคือประเทศไทยและตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือนิคมอุตสาหกรรมมาบ ตาพุด-เพิ่มเติมโดยผู้เขียน)

3. เมื่อมาถึงขั้นตอนการจัดจำหน่าย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ขายสินค้าที่ปนเปื้อนสารพิษให้หมดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยการตั้งราคา ให้ถูกเข้าไว้ ราคาสินค้าจะถูกลงได้ก็ต่อเมื่อจ่ายค่าแรงถูก+สวัสดิการต่ำ (หลายกรณีละเลยการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยเลยยิ่งผลิตสินค้าได้ในราคาถูกเข้าไป อีก-เพิ่มเติมโดยผู้เขียน)

นั่นหมาย ความว่า ต้นทุนที่แท้จริงไม่ได้นำมาคิดรวมไว้ในราคาสินค้า หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้บริโภคไม่ได้จ่ายเงินซื้อสินค้าตามราคาที่แท้จริง ผู้ต้องที่จ่ายคือ คนในชุมชนที่ทรัพยากรถูกผลาญมาป้อนโรงงานและคนงานที่ล้มป่วยจากการทำงานใน โรงงานอุตสาหกรรมต่างหาก

4. แล้วก็มาถึงการบริโภคซึ่งเป็นหัวใจของระบบ ใช่แล้ว..ผู้บริโภคทุกคนต่างช่วยกันขับเคลื่อนระบบนี้ด้วยการชอปปิ้ง!!! ยิ่งซื้อมากเท่าไหร่ ยิ่งชอปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้การจัดจำหน่ายไหลลื่นมากเท่านั้น

เมื่อซื้อมาก จำหน่ายมาก ก็ต้องผลิตมาก และผลาญทรัพยากรมากตามไปด้วย..ใช่ไหม ไม่รู้ว่าสถิติของประเทศไทยจะเป็นเท่าไหร่ แต่ที่อเมริกาเหนือมีตัวเลขว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของข้าวของเครื่องใช้ที่ซื้อจะกลายเป็นขยะภายในเวลาเพียง 6 เดือน!!! 99 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งที่ผ่าน 3 ขั้นตอนแรกของระบบกลายเป็นขยะภายในเวลาเพียง 6 เดือน เหลือเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ยังใช้งานกันต่อไป โลกจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าเราใช้ทรัพยากรให้หมดเปลืองไปด้วยอัตราเร็วขนาดนี้

กลยุทธ์ ที่นิยมใช้เพื่อให้เกิดการซื้อเร็ว-ทิ้งเร็วมี 2 ประการ ประการแรก..การออกแบบสินค้าให้กลายเป็นขยะ หรือการออกแบบสินค้าให้เจ๊งหรือใช้งานไม่ได้ภายในเวลาอันสั้น เพื่อที่ผู้บริโภคจะได้โยนอันเก่าทิ้งแล้วสอยอันใหม่มาครอบครอง ผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบให้ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ได้แก่ ถุงพลาสติก ถ้วยกาแฟ และคอมพิวเตอร์ (เมื่อแอนนี่พูดถึงตรงนี้ มีการล้อเลียนได้อย่างแสบสุดๆ ขอไม่เล่ารายละเอียด เพราะอยากให้ดูเองมากกว่า)

ประการที่สอง..การทำ ให้รู้สึกว่าล้าสมัย ซึ่งเป็นวิธีการจูงใจให้ทิ้งข้าวของที่ “ยังใช้ได้” รูปลักษณ์ที่ถูกออกแบบให้ทันสมัยช่วยกระตุ้นความอยากทิ้งข้าวของเก่าๆ ได้มาก หรือแม้แต่แฟชั่นรองเท้าสตรีที่เปลี่ยนไป เดี๋ยวส้นเล็กแหลม เดี๋ยวส้นหนา และเดี๋ยวก็กลับมาฮิตมาส้นเล็กแหลมอีกแล้ว ซึ่งถ้าคุณไม่เปลี่ยนตามแฟชั่น คุณก็จะเชยจนทนไม่ได้ที่จะต้องควักเงินซื้อรองเท้าคู่ใหม่ ตัวจักรสำคัญของการทำให้รู้สึกเชยหรือทันสมัยคือ “โฆษณา” มันพยายามพร่ำบอกซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้เราไม่มีความสุขกับข้าวของเครื่อง ใช้ที่มีอยู่และก้าวออกจากบ้านไปชอปปิ้ง

5. สุดท้ายก็คือการกำจัดขยะ ด้วยการโยนเข้าเตาเผาขยะหรือไม่ก็ขุดหลุมฝังกลบ ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดมลพิศทางอากาศ, ดิน และน้ำ ยังจำได้ไหมว่าในขั้นตอนการผลิตนั้น มีการใส่สารเคมีเข้าไปในผลผลิต (เกือบ) ทุกประเภท พอมันถูกส่งเข้าเตาเผาขยะ มันจะกลายเป็น “Super Toxic” หรือ “โ-ค-ต-ร” สารพิษ แอนนี่ยกตัวอย่างถึง ไดออกซินซึ่งเป็นสารพิษสังเคราะห์โดยฝีมือมนุษย์ที่มีอันตรายมากที่สุด

คุณอาจจะยังไม่รู้ว่า..เตาเผาขยะผลิตไดออกซินสู่สิ่งแวดล้อมมากเป็น อันดับหนึ่ง วิธีการง่ายๆ ที่จะหยุดการพ่นไดออกซินก็คือ..หยุดการเผาขยะ

รีไซเคิลช่วยได้มั้ย..ได้ แต่มันยังไม่พอด้วยเหตุผล 2 ข้อ ข้อ 1 ขยะที่ถูกไปรีไซเคิลเป็นแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น (นึกออกไหม โผล่พ้นน้ำมานิดเดียว จมอยู่ใต้น้ำก้อนเบ้อเร่อ) ข้อ 2 ยังมีขยะอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เพราะมีสารพิษเป็นส่วนประกอบมากเกินไป หรือไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรีไซเคิล เช่น กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ ฟลอยล์ กระดาษ พลาสติก ผสานรวมเป็นเนื้อเดียวกันจนแยกไม่ออก

ส่วนบทส่งท้าย แอนนี่บอกให้มองเรื่องนี้ทั้งระบบ ไม่ใช่แยกส่วน ทางออกของปัญหามีอยู่แล้ว อย่าคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้หรืออุดมคติเกินไป ทั้งหมดนี้ มนุษย์เป็นคนสร้างขึ้นมา เราก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งใช่มั้ย

ฉะนั้นมา ช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อโลกของเรากันดีกว่า..เอ้า ลงมือกันเลย... (ขอบคุณข้อมูล บทแนะนำเรื่องนี้จาก Story of Stuff – รู้ทันบริโภคนิยม ได้อย่างน่าอ่านที่ http://blog.sukiflix.com/?p=353)

6.4.09

Severn : การปฏิวัติทางสิ่งแวดล้อมเริ่มที่ตัวเราเอง


Severn Suzuki ปราศรัยประเด็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเมื่อเธออายุเพียง 12 ปีใน ‘เอิร์ธซัมมิท” ของสหประชาชาติในปีพ.ศ. 2535 จนกระทั่งผู้แทนประเทศบางคนถึงกับหลั่งน้ำตา แต่เมื่อเวลาผ่านไปเธอเริ่มไม่มั่นใจในผู้มีอำนาจหรืออำนาจของปัจเจกชน และในวันนี้สิ่งที่เธอตั้งคำถามกับตัวเองและคนอื่นว่า ‘What do they want for the future? – เราต้องการอะไรสำหรับอนาคต’

ฉัน ตื่นขึ้นมาในเช้าของวันอากาศสดใสวันหนึ่ง ลมพัดเย็นสบาย แสงแดดยังไม่แผดเผาในเวลาช่วงก่อนเที่ยงเช่นนี้ ไฟล์วีดีโออันหนึ่งถูกส่งต่อๆ กัน จนมาปรากฏอยู่ในกล่องข้อความของอีเมลล์ของฉัน...

ฉันเปิดดู ดูแล้ว ดูอีก แล้วตัดสินใจส่งต่อให้เพื่อนๆ อีกร่วมร้อยคน

เชื่อว่าหลายคนอาจเคยเห็นวิดีโอนี้กันมาแล้ว แต่ฉันไม่เคย! ตกยุค ตกสมัย ไม่รู้เรื่องมาก่อนเลย แต่นั่นไม่สำคัญว่าฉันได้พลาดอะไรไปบ้าง สำคัญที่ว่า เมื่อเราได้รู้ ได้ดู ได้ฟังแล้ว เราจะทำอะไรต่อไปต่างหาก...

มีคำกล่าวหนึ่ง ที่ยังมีคนพูดย้ำๆ อยู่เสมอว่า “คนไม่รู้ ย่อมไม่ผิด” กระนั้นก็ยังไม่แย่เท่ากับ “คนที่รู้แล้ว แต่ไม่ยอมทำ” ฉะนั้นฉันจึงอยากสื่อสารกับผู้อ่านของฉันทั้งหลาย ขอเขียนถึงสิ่งที่ฉันได้ดู ได้ฟัง และอยากจะบอกเล่าให้กับคนที่ยังไม่เคยรู้ เพราะสำหรับตัวฉันแล้ว สิ่งที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งได้ใช้ความกล้า ความสัตย์ซื่อต่อโลก ต่อเพื่อนสัตว์และพืชที่อยู่ร่วมโลกใบนี้กับเรา – พูดถึงสิ่งที่เราทุกคนกำลังเผชิญกันอยู่ได้อย่างมีพลังยิ่งนัก และสิ่งที่เธอเคยพูดไว้ ไม่เคยเก่า หรือตกยุคไปเลย

ต่อจากนี้ คือถ้อยคำของ Severn Suzuki ปราศรัยในการประชุมสุดยอดของโลก หรือ ‘เอิร์ธซัมมิท” ของสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ที่เมืองริโอ เด จาเนโร ประเทศบราซิล - ขณะนั้น เธออายุเพียง 12 ปี

[ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกที่สหประชาชาติรับรองความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวโลกในฐานะ “หุ้นส่วนในการพัฒนาที่ยั่งยืน”]

ซึ่งนับแต่นั้นเรื่อยมา Severn Cullis-Suzuki ได้ ทำงานเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เป็นคนรุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง คนหนึ่งของยุคสมัย เธอเป็นทั้งนักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว นักพูดและนักเขียน

ย้อนกลับไปเมื่อกว่า 16 ปีก่อน นี่คือสิ่งที่หลายคนกล่าวถึง “เด็กผู้หญิง ที่ทำให้ทั้งโลกเงียบงันไป 6 นาที”

“ฉันเป็นแค่เด็ก แต่ฉันก็รู้ว่า โลกใบนี้จะสวยงามและจะน่าอยู่สักเท่าไร หากเงินที่ใช้ไปในสงคราม จะถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ยุติความยากจน และเยียวยาปัญหาต่างๆ”

“ฉัน มาที่นี่ในวันนี้ ไม่มีวาระซ่อนเร้นใดๆ - ฉันกำลังสู้ สู้เพื่ออนาคตของตัวฉันเอง เพราะว่าการสูญสิ้นอนาคตนั้น มันไม่เหมือนการพ่ายแพ้การเลือกตั้ง ไม่เหมือนกับตัวเลขในตลาดหุ้นที่ตกลงเพียงไม่กี่จุด”

“ฉันมาที่นี่เพื่อจะพูดเพื่อให้คนทุกเพศทุกวัยมาร่วมมือกัน”

“ฉันยืนอยู่ที่นี่ เพื่อเป็นตัวแทนของเด็กๆ ที่กำลังอดอยากหิวโหยมากมายทั่วโลก ซึ่งเสียงร่ำไห้ของพวกเขาไม่มีใครได้ยิน ฉันมาเพื่อที่จะพูดให้กับหลายๆ ประเทศที่สัตว์นานาพันธุ์กำลังตาย เพราะไม่มีที่จะอยู่อีกต่อไปแล้ว”

“เพราะโลกใบนี้ ที่ชั้นบรรยากาศ (โอโซน) มีรูพรุนมากมาย ฉันกลัวที่จะหายใจ เพราะฉันไม่รู้ว่ามีสารพิษอะไรบ้างในอากาศที่ฉันสูดเข้าไป ฉันเคยไปตกปลากับพ่อในแวนคูเวอร์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของฉัน แต่เมื่อไม่นานมานี้ เราก็พบว่า ปลาในแม่น้ำเต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง”

“และช่วงเวลานี้ ที่เราได้ยิน ได้ฟัง และรู้ว่า สัตว์และพืชบนโลกมากมายหลายชนิด กำลังจะสูญพันธุ์ไปทุกๆ วัน และจะสูญหายไปตลอดกาล”

“ในช่วงชีวิตนี้ของฉัน ฉันฝันว่าจะได้เห็นฝูงสัตว์ในป่า ได้เห็นฝูงนกนานาพันธุ์ในเขตป่าฝน และผีเสื้อโบยบินในท้องฟ้า แต่ขณะนี้ฉันสงสัยเหลือเกินว่า พวกเขาจะยังเหลือให้ลูกหลานของฉันเห็นอยู่อีกไหม”

“พวกคุณต้องกังวลกับสิ่งต่างๆ นี้หรือไม่ เมื่อครั้งที่พวกคุณมีอายุเท่ากับฉันในตอนนี้”

“สิ่ง เหล่านี้ กำลังเกิดขึ้นอยู่เบื้องหน้าเราแล้ว แต่พวกเราก็ยังไม่ทำอะไร ยิ่งทำเหมือนกับว่าเรามีเวลาเท่าที่เราต้องการ เรามีทางออกสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง แน่ล่ะ ฉันเป็นเพียงเด็กคนหนึ่ง และฉันก็ไม่มีทางออกให้กับปัญหาทุกอย่าง แต่ฉันก็อยากให้พวกคุณตระหนักว่า พวกคุณก็ไม่มีเช่นกัน”

“เมื่อ พวกคุณไม่รู้ว่าจะอุดรูโหว่ในชั้นบรรยากาศได้ อย่างไร เมื่อพวกคุณไม่รู้ว่าจะนำปลาแซลมอนกลับคืนมาสู่ลำธารที่แห้งเหือดไปได้อย่าง ไร พวกคุณไม่รู้ว่าจะนำสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกลับคืนมาได้อย่างไร ไม่รู้ว่าจะนำป่าไม้กลับมายังที่ที่มันเคยอยู่ ซึ่งได้กลายเป็นทะเลทรายไปแล้ว คืนมาได้อย่างไร ถ้าคุณไม่รู้ ก็ขอจงอย่าได้ทำลายสิ่งเหล่านั้นอีกเลย”

“พวกคุณที่อยู่ ณ ที่นี้ อาจเป็นตัวแทนจากรัฐบาล เป็นนักธุรกิจ ผู้สื่อข่าว และนักการเมือง แต่แท้จริงแล้ว พวกคุณทุกคนก็คือพ่อแม่ พี่น้อง ลุงป้า น้าอา และเป็นเด็กของใครสักคน ฉันก็เป็นเด็กคนหนึ่ง เป็นสมาชิกของครอบครัว ในครอบครัวใหญ่ 5 พันกว่าล้านคน ของสัตว์และพืชอีกกว่า 30 ล้านชนิด เราต่างก็ร่วมแบ่งปันและสูดอากาศเดียวกัน ใช้สายน้ำ และดินเดียวกัน ไม่มีสิ่งใดมากางกั้น และรัฐบาลใดๆ ก็มาเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ไม่ได้”

“ในโรงเรียน แม้แต่ในชั้นอนุบาล พวกคุณสอนพวกเราให้ปฏิบัติตัวอย่างไรต่อโลก สอนให้เราอย่ารบราฆ่าฟันกับคนอื่น ให้เรารับผิดชอบกับการกระทำของตัวเอง อย่าได้ล่าเอาชีวิตผู้อื่น หรือสัตว์อื่น รู้จักแบ่งปัน ไม่ละโมบ แต่ทำไมพวกคุณถึงออกไปและทำสิ่งเหล่านี้เสียเอง ทั้งๆ ที่บอกพวกเราว่าอย่าทำ”

“เราควรจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ดั่งโลกเดียวกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน”

“ความโกรธที่มีในใจ ไม่ได้บังตาฉัน และในความกลัว ฉันก็ไม่หวั่นเกรงที่จะบอกกับโลกว่า ฉันรู้สึกอย่างไร... ประเทศบ้านเกิดของฉัน เราสร้างขยะและของเสียมากมายเหลือเกิน เราซื้อแล้วทิ้ง ซื้อแล้วทิ้ง ประเทศโลกเหนือ เราไม่แบ่งปันกับผู้ที่ขัดสนเลย แม้ว่าเราจะมีมาก มากเกินกว่าที่เราต้องการ แต่เราก็ยังกลัวที่จะแบ่งปัน กลัวว่าจะต้องสูญเสียความมั่งคั่งของเราไป”

“เมื่อสองวันที่แล้วที่บราซิลแห่งนี้ เราตกใจมาก เมื่อเราได้ใช้เวลาพูดคุยกับเด็กที่ใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนน เด็กคนหนึ่งบอกกับพวกเราว่า เขาปรารถนาว่า หากวันหนึ่งเขาเกิดร่ำรวยขึ้นมา เขาจะนำไปให้กับเด็กๆ ข้างถนนทั้งหมด ให้อาหาร ให้เสื้อผ้า ให้ยารักษาโลก ให้ที่อยู่อาศัย และให้ความรักและความอบอุ่น”

“ถ้าเด็กคนหนึ่งริมถนน ที่แทบไม่มีอะไรเลย ตั้งมั่นว่าจะแบ่งปัน แล้วทำไม เราที่มีทุกสิ่งทุกอย่างยังคงโลภมาก ฉันหยุดคิดไม่ได้เลยว่าเด็กที่อายุรุ่นเดียวกับฉัน แค่เราเกิดในที่ต่างกันเท่านั้น ทำไมเราถึงได้แตกต่างกันอย่างมโหฬาร ฉันอาจเกิดเป็นเด็กคนหนึ่งใช้ชีวิตอยู่ข้างถนนที่เมืองริโอ ฉันอาจเกิดเป็นเด็กที่อดยากหิวโหยในโซมาเลีย ฉันอาจเป็นเหยื่อสงครามในตะวันออกกลาง ฉันอาจจะเป็นเด็กขอทานในอินเดีย”

“ฉันเป็นแค่เด็ก แต่ฉันก็รู้ว่า โลกใบนี้จะสวยงามและจะน่าอยู่สักเท่าไร หากเงินที่ใช้ไปในสงคราม จะถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ยุติความยากจน และเยียวยาปัญหาต่างๆ”

“ในโรงเรียน แม้แต่ในชั้นอนุบาล พวกคุณสอนพวกเราให้ปฏิบัติตัวอย่างไรต่อโลก สอนให้เราอย่ารบราฆ่าฟันกับคนอื่น ให้เรารับผิดชอบกับการกระทำของตัวเอง อย่าได้ล่าเอาชีวิตผู้อื่น หรือสัตว์อื่น รู้จักแบ่งปัน ไม่ละโมบ แต่ทำไม พวกคุณถึงออกไปและทำสิ่งเหล่านี้เสียเอง ทั้งๆ ที่บอกพวกเราว่าอย่าทำ”

“พ่อแม่อาจพยายามปลอบโยนลูกๆ และพยายามจะบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันจะดีขึ้นเอง นี่ไม่ใช่จุดอวสานของโลกเสียหน่อย เราทำดีที่สุดแล้วนะ - ฉันไม่คิดว่าพวกคุณจะสามารถพร่ำบอกกับพวกเราอย่างนี้ได้อีกต่อไปแล้ว... พ่อบอกกับฉันเสมอว่า ‘คุณเป็นอย่างที่คุณได้ลงมือทำ ไม่ใช่สิ่งที่คุณพูด’ ”

“นั่นแหละค่ะ สิ่งที่คุณทำอยู่ ทำให้ทุกค่ำคืน ฉันนอนร้องไห้ พวกผู้ใหญ่บอกว่ารักพวกเรานักหนา ฉันขอท้าพวกคุณ ได้โปรดลงมือทำอะไรสักอย่างเถอะค่ะ เพื่อพิสูจน์ว่าพวกคุณรักพวกเราจริงๆ”...

นี่คือ 6 นาที เวลาที่ทั้งโลกเงียบงัน เพื่อให้เสียงดังกังวานของเธอ ได้เขย่าหัวใจคนทั้งโลก

“เรากำลังตกอยู่ในยุคสมัยที่เราน่าจะต้องตระหนักต่อ ปัญหาต่างๆ บนโลกให้มาก – ปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังถูกทำลาย สภาวะอากาศของโลกเปลี่ยน และผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ – แต่พวกเราจำนวนมาก ก็ยังไม่ทำอะไรกัน”

ในเวลาต่อมา Severn ได้เขียนบทความ [18 สิงหาคม ค.ศ. 2002, พ.ศ. 2545] เล่าถึงเหตุการณ์นี้ของตัวเอง

“ฉันใช้เวลาพูดราว 6 นาที ผู้แทนประเทศบางคนถึงกับหลั่งน้ำตา ฉันเคยคิดว่า บางทีสิ่งที่ฉันพูดอาจเข้าถึง หรือกระทบจิตใจของพวกเขาบ้าง คำปราศรัยของฉันอาจจะกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำอะไรบางอย่างขึ้นมาจริงๆ ก็ได้ แต่เมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านไป นานกว่าทศวรรษแล้ว ฉันไม่มั่นใจเลยว่า ฉันได้ทำมันสำเร็จ ความเชื่อมั่นต่อกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจ หรือพลังของปัจเจกชนที่จะสร้างแรงสั่นสะเทือนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ในใจของฉันตอนนี้ มันได้ถูกสั่นคลอนอย่างแรง”

เธอกล่าวว่า กระนั้น เธอก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในบ้านเกิดของเธอเช่นกัน ที่แวนคูเวอร์ คนจำนวนมากหันมารีไซเคิลมากขึ้น มีร้านขายของชำที่ขายสินค้า และผลผลิตเกษตรอินทรีย์ คนหันมาปั่นจักรยานเพิ่มขึ้น มีการใช้รถไฮบริด [รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานทางเลือก - พลังงานจากน้ำมันครึ่งหนึ่ง กับพลังงานไฟฟ้าครึ่งหนึ่ง และในอนาคตอาจจะเป็นพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และพลังงานจากการทำปฏิกิริยาของน้ำ]

ทว่าหนุ่มสาวร่วมสมัยเดียวกับเธออีกจำนวนมาก ยังคงใช้ชีวิตที่แสนจะเหินห่างจากธรรมชาติ – พวกเขามักจะซื้อและดื่มน้ำจากขวดน้ำพลาสติก (ขวดพลาสติกใส หรือ Poly Ethylene Terephthalate - PET) ยังบริโภคสินค้าตัดต่อดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) และพวกเขาก็ยังคงขับรถคันโตอยู่นั่นเอง

“แต่ในเวลาเดียวกันนี้ เราก็กำลังตกอยู่ในยุคสมัยที่ เราน่าจะต้องตระหนักต่อปัญหาต่างๆ บนโลกให้มาก – ปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังถูกทำลาย สภาวะอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง และผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ – แต่พวกเราจำนวนมาก ก็ยังไม่ทำอะไรกัน”

“เรา เรียนรู้ที่จะมองอนาคตเพียงแค่ระยะสั้น มุ่งสนใจแต่รัฐบาลที่เข้ามาบริหาร 4 ปี รายงานเศรษฐกิจในแต่ละไตรมาส เราถูกสอนให้เห็นว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นความก้าวหน้าของสังคม มนุษย์ แต่เราไม่ได้ถูกสอนว่าจะมีความสุขอย่างไร มีสุขภาพดี หรือดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนได้อย่างไร”

“มาถึงวันนี้ ฉันไม่ได้เป็นเด็กเล็กๆ อีกต่อไปแล้ว แต่ฉันก็ยังห่วงกังวลว่า ลูกหลานในอนาคตของฉันจะเติบโตขึ้นมาในสิ่งแวดล้อมแบบไหนกัน ความรับผิดชอบต่อปัญหาต่างๆ ทั้งหมดทั้งปวงไม่ใช่เป็นของรัฐบาลทั่วโลกเท่านั้น แต่พวกเราทุกๆ คนต้องรับผิดชอบด้วย”

“การประมงในแคนาดา ได้กวาดเอาปลาแซลมอนในแถบชายฝั่งตะวันตก และปลาค็อดในแถบฝั่งตะวันออกไปจนเกือบหมด อีกทั้งพวกเราก็ยังขับรถยนต์ไปมา ทั้งๆ ที่เราก็เริ่มที่จะรู้สึกกันแล้วว่า ปัญหาสภาวะอากาศโลกเปลี่ยนแปลง (Climate Change) นั้นก็เป็นผลมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงอย่างมหาศาลนั่นแหละ”

“เราต้องจัดการกับสิ่งที่เราก่อขึ้น เราต้องเผชิญหน้ากับต้นทุน (ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เรานำมาบริโภค-อุปโภค) ที่แท้จริงในการดำเนินชีวิต เราต้องไม่รอการเปลี่ยนแปลงที่จะมาจากผู้นำเท่านั้น เพราะความเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับตัวเรา เราต้องถือว่านี่เป็นภารกิจการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น เป็นภารกิจของตัวเราเองด้วย แล้วเมื่อนั้นความเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้นได้จริงๆ – มหาตมะคานธี เคยกล่าวไว้ว่า ‘We must become the change we want to see’ – ความเปลี่ยนแปลงต้องเกิดที่ตัวเรา หรือตัวเราเองก็ต้องเปลี่ยนแปลง นั่นจึงจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่เราอยากจะเห็น”

Severn ยังได้กล่าวอีกว่า เธอรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั่นเป็นไปได้ เพราะเธอเองก็กำลังเปลี่ยน และยังคงคิดอยู่เสมอว่าจะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร ความท้าทายเป็นสิ่งดีเยี่ยมสำหรับตัว Severn ถ้าเราทุกคนยอมรับในความรับผิดชอบของตน แล้วเลือกตัวเลือกที่ทำให้การดำรงชีวิตดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน เมื่อนั้นเราทุกคนก็จะผงาดขึ้นมา และร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของกระแสการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง

“เราต้องไม่รอการเปลี่ยนแปลงที่จะมาจากผู้นำเท่านั้น เพราะความเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับเรา เราต้องถือภารกิจการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น เป็นของตัวเราเองด้วย แล้วเมื่อนั้นความเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้นได้จริงๆ”

เมื่อ ครั้งยังเด็ก Severn อายุได้เพียงหกขวบ เธอพยายามขายหนังสือของพ่อ ที่สนามหน้าบ้าน เพื่อจะระดมทุนช่วยเหลือชนพื้นเมืองที่กำลังเรียกร้องต่อสู้สิทธิบนแผ่นดิน ของตัวเองที่บริติส โคลัมเบีย

Severn เป็นลูกสาวของนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมชื่อดัง ชาวญี่ปุ่นในแคนาดา David Suzuki ผู้มีบทบาทสำคัญในการทำงานเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม นักผลิตรายการ-สารคดี นักเขียน และมีแม่เป็นนักเขียนชื่อดังนาม Tara Elizabeth Cullis นั่นเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ทำให้ Severn เติบโตขึ้นมาเป็นนักกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมคนสำคัญของยุคสมัย เพราะเธอโตขึ้นมาในครอบครัวที่เป็นทั้งนักคิด นักเขียน และเป็นนักเคลื่อนไหวอีกด้วย “พ่อและแม่บอกกับฉันเสมอว่า จงยืนหยัดในสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่น” Severn กล่าวให้สัมภาษณ์ในปี 2546

เมื่อ อายุครบสิบขวบ เธอและเพื่อนๆ อีก 5 คนร่วมกันก่อตั้งองค์กรเด็กเพื่อสิ่งแวดล้อมขึ้น (Environmental Childrean’s Organization – ECO) โดยโครงการแรกที่ Severn และเพื่อนร่วมปฏิบัติการ คือ การระดมทุนเพื่อซื้อเครื่องกรองน้ำให้กับชนพื้นเมืองในเขตป่าฝนของประเทศ มาเลเซีย เนื่องจากแหล่งน้ำของพวกเขาถูกคุกคาม และได้รับผลกระทบจากการตัดไม้ในบริเวณนั้นอย่างหนัก

มาถึงเมื่อปี ค.ศ. 1992 ขณะที่เธออายุ 12 ปี เธอก็ได้ทำให้ผู้นำ หรือตัวแทนระดับประเทศ ถึงกับน้ำตาร่วง หลังจากที่ฟังคำปราศรัยของเธอในการประชุมสุดยอดของโลกที่ประเทศบราซิล จวบจนกระทั่งในวัยยี่สิบปีต้นๆ เธอเรียนจบในระดับปริญญาตรีสาขาด้านวิทยาศาสตร์ – ระบบนิเวศและวิวัฒนาการทางชีวภาพจากมหาวิทยาลัยเยล และเธอก็ยังคงทำกิจกรรม และตระเวนไปทั่วโลกเพื่อกล่าวคำปราศรัย ให้กำลังใจ และกระตุ้นให้เกิดพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้กับคนหลากกลุ่มหลายวัย

“หลาย ต่อหลายครั้งที่ฉันกระตุ้นให้ผู้คนเริ่มคิด และตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็แค่เพียงถามพวกเขาว่า ‘อาหารที่พวกเรา พวกเขากินอยู่ทุกวันมาจากไหน? – ใครปลูก? มีสารเคมีที่ใช้ในการเพาะปลูกบ้างไหม?’ เพราะว่าสิ่งที่เรากินอยู่ทุกมื้อ ในทุกๆ วันนั่นคือ การตัดสินทางการเมืองของคุณด้วย”

เธอย้ำเสมอว่า การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากสิ่งเล็กๆ ได้ แค่เราเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต หรือการกินอาหารเท่านั้นเอง เช่น การที่เธอเข้าร่วมขบวนการอาหารเนิบช้าที่ริเริ่มขึ้นในอิตาลี และแผ่ขยายไปอีกในกว่า 122 ประเทศทั่วโลก มีสมาชิกเข้าร่วมในขบวนการ Slow Food นี้ถึง 83,000 คน ที่หันมาบริโภคอาหารที่เพาะปลูก และผลิตขึ้นในท้องถิ่น เกษตรกรผู้ปลูกไม่ใช้ สารเคมี เป็นต้น

“อาหาร คือ สิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมนั่นกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของตัวเราทุกคน ผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในระบบสังคมโลก เศรษฐกิจ สุขภาพ และประเด็นต่างๆ ทางสิ่งแวดล้อมของโลก ฉะนั้นหลายต่อหลายครั้งที่ฉันกระตุ้นให้ผู้คนเริ่มคิด และตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็แค่เพียงถามพวกเขาว่า ‘อาหารที่พวกเรา พวกเขา กินอยู่ทุกวันมาจากไหน? – ใครปลูก? มีสารเคมีที่ใช้ในการเพาะปลูกบ้างไหม?’ เพราะว่าสิ่งที่เรากินอยู่ทุกมื้อ ในทุกๆ วันนั่นคือ การตัดสินทางการเมืองของคุณด้วย

หรือแม้แต่ การหันมาปั่นจักรยาน หรือการใช้บริการรถขนส่งมวลชน การหันมาดื่มกาแฟจากแก้วที่นำกลับมาใช้ได้อีก ไม่ใช่กินเสร็จแล้วก็ทิ้งแก้วกระดาษ/พลาสติกนั้นไป และที่สำคัญเริ่มที่จะต่อต้านกับความต้องการในจิตใจตัวเองว่า ต้องซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น

ความท้าทายอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญซึ่ง Severn กล่าวถึง คือ การรักษาสิ่งแวดล้อม ในขณะที่หลายคนเชื่อว่า อย่างไรก็ตามก็ต้องรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย “เราจึงต้องพยายามทำให้บริษัท-อุตสาหกรรมต่างๆ เข้าใจให้ได้ว่า หากสิ่งใดที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่ามันย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจด้วย”

ปัจจุบัน สาววัย 29 ปีคนนี้ กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัลเบอร์ต้า ปริญญาโทสาขาชาติพันธุ์นิเวศวิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติในโลก ความเชื่อดั้งเดิม หรือแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ แนวคิดทางสังคม การเมือง – วิเคราะห์วิจัยถึงเรื่องความอยู่รอดของชนพื้นเมืองมานับพันปี ด้วยว่ามีการจัดการ และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนนั่นเอง นอกจากนี้ Severn และเพื่อนหนุ่มสาวยังร่วมกันก่อตั้งเครือข่ายองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น โดยให้ชื่อว่า The Skyfish Project [www.Skyfishproject.org] ด้วย

ไม่เพียงเท่านั้น Severn ยังร่วมในขบวนการต่อสู้โลกาภิวัตน์ของ Naomi Klein เจ้าของผลงาน No Logo และ Shock Doctrine ซึ่งวิเคราะห์ – วิพากษ์วิจารณ์กลไก และแนวคิดของระบบทุน ลัทธิเสรีนิยมใหม่ได้อย่างถึงพริกถึงขิงอีกด้วย

โดย Severn และ Naomi พร้อมทั้งเครือข่ายพันธมิตร ต่างก็เชื่อมั่นในพลังของสตรี ทั้งนี้ในฐานะของผู้เป็นแม่ และด้วยว่าสตรีมีความรู้สึกต่อความทุกข์ร้อน และปัญหาต่างๆ อย่างมาก และพร้อมที่จะเข้าร่วมในขบวนปฏิวัติอย่างเข้มแข็งเพื่อแก้ไขปัญหา ดังจะเห็นได้ว่าในการรณรงค์ต่างๆ หลายครั้ง ไม่ใช่แค่ในประเทศแคนาดาเท่านั้น ที่มีผู้หญิงจำนวนมาก ได้ก้าวขึ้นมานำขบวน และมีบทบาทสำคัญในการเรียกร้อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

Severn กล่าวทิ้งท้ายในการสัมภาษณ์เมื่อไม่นานมานี้ว่า...

“ตอนนี้ เป็นโอกาส และช่วงเวลาที่ดีสำหรับสร้างความเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ทุกคนรู้สึก เข้าใจและตระหนักแล้วว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น แล้วพวกเขาก็ห่วงใย กังวล และออกมาปฏิบัติการมากยิ่งขึ้น มันช่างน่ามหัศจรรย์ที่เราได้เห็นพลังของมวลชนจำนวนมากออกมาต่อสู้เรียกร้อง ออกมาเดินขบวนเป็นจำนวนมาก และหลายต่อหลายครั้งในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ก็เพราะพวกเขาใส่ใจและต้องการจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา (ที่เราทุกคน และโลกกำลังเผชิญอยู่) เราอยากจะทำในสิ่งที่ดี ที่ถูกต้อง”

“หากคนเราเข้าใจมากขึ้นว่ามนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของ ธรรมชาติอย่างไร พวกเขาก็จะลุกขึ้นสู้ และยืนหยัดเพื่อดูแลรักษามันไว้ - ฉันเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วในทุกๆ วัน - ถามตัวเองและคนอื่นๆ เสมอว่า ‘What do they want for the future? – เราต้องการอะไรสำหรับอนาคต เราต้องจดจำถึงอนาคตเสมอ’ ”

‘อนาคต’ เวลาสำหรับลูกหลานของเรา สัตว์ พืช และสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนโลกร่วมกับเรา...
.