ล่าสุดสหประชาชาติ และขบวนแรงงานนานาชาติออกมาเผยงานวิจัยถึงมาตรการจัดการกับปัญหาโลกร้อน สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานในตลาดโลกได้ ด้วยว่าหากธุรกิจหรือบริษัทต่างๆ หันมาลงทุนกับการจัดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะเดียวกันมันจะช่วยลดต้นทุนในอนาคต และช่วยให้เกิดการจ้างงานได้ด้วย แบบยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวก็ว่าได้!
(แปลและเรียบเรียงจาก: http://www.guardian.co.uk/environment/2008/sep/25/climate.jobs)
ล่าสุดสหประชาชาติ และขบวนแรงงานนานาชาติออกมาเผยงานวิจัยถึงมาตรการจัดการกับปัญหาสภาพภูมิ อากาศโลกเปลี่ยนแปลง (Climate Change) นั้น สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานในตลาดโลกได้ ด้วยว่าหากธุรกิจหรือบริษัทต่างๆ หันมาลงทุนกับการจัดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะเดียวกันมันจะช่วยลดต้นทุนในอนาคต และช่วยให้เกิดการจ้างงานได้ด้วย แบบยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวก็ว่าได้!
มาตรการ จัดการกับปัญหาเรื่องโลกร้อน (Global Warming) ที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุดคือ พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ซึ่งมีการมุ่งเน้นเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่สิ่งที่มีการถกเถียงกันมากนั่นก็คือ มีกลุ่มคนหลายกลุ่มกำลังเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างงานด้วยเช่นกัน (หากมีการลดระบบการผลิตที่พึ่งอยู่กับปิโตรเลียมเป็นหลัก)
Guy Ryder เลขาธิการสมาพันธ์สหภาพการค้านานาชาติ (International Trade Union Confederation) กล่าวต่อประเด็นนี้ว่า การเคลื่อนไหวเรื่องนี้ถูกขยับไปในทางที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยการพูดถึงจุด เปลี่ยนที่สำคัญ และระบุถึงประเด็นเรื่องแรงงานที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไป พร้อมๆ กันด้วย ไม่เพียงเท่านั้น การต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน ไม่ใช่การคุกคามความมั่นคงของแรงงาน แต่เป็นการทำให้แรงงานมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น มั่นคงขึ้นในระยะยาว
สิ่ง ที่หลายฝ่ายพยายามนำเสนออยู่ในเวลานี้ ที่เรียกว่า “Green Economy, Green Job” ในสภาวะที่เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังประสบวิกฤต แนวทางนี้จึงไม่ใช่ทางออกสำหรับสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว แต่คือความอยู่รอดของพนักงาน และแรงงานจำนวนมหาศาลทั่วโลก ที่จะสามารถมีงานทำและยืดเวลาให้โลกใบนี้ ด้วยเพียงหากบริษัทและรัฐบาลต่างๆ จะหันมาให้ความสนใจในการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ แห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยแนวทาง วิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีการขยายงาน ขยายโอกาสให้กับคนงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
องค์กร ด้านแรงงานนานาชาติ (International Labour Organization - ILO) ร่วมกับองค์การผู้ประกอบการนานาชาติ องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ สถาบัน Worldwatch และมหาวิทยาลัยคอร์แนล จัดทำการศึกษาเกี่ยวกับ Green Economy เผยถึงข้อมูลว่าจะช่วยสร้างงานในตลาด-ธุรกิจได้มากทีเดียว
รายงาน ฉบับนี้ได้มุ่งทำการศึกษาในพื้นที่ที่คาดว่ามี ศักยภาพมากที่สุดที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าการสร้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจเป็น ไปได้จริงในหลายๆ แบบด้วยกัน อาทิ ทำการศึกษาในพื้นที่ที่มีแหล่งพลังงาน มีระบบการขนส่ง มีอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน (เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก และเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ หรืออุตสาหกรรมกระดาษ) รวมไปถึงพื้นที่ทางการเกษตร และป่าไม้
กล่าว คือ การศึกษาที่มุ่งเน้นเพื่อการลดการปล่อยก๊าซสู่ชั้นบรรยากาศโลก หรือลดปัญหาโลกร้อน คาดคะเนว่า หากมีการปรับเปลี่ยน หรือดัดแปลงรูปแบบ วิธีการในการผลิต, ในขณะที่อัตราการจ้างงานบางประเภท ในบางอุตสาหกรรม เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันปิโตรเลียม หรืออุตสาหกรรมหนักจะลดลงไป ในขณะที่อัตราการจ้างงานจะมีเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ หากมีการปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนแทน หรือการเปลี่ยนจากการใช้รถส่วนตัวไปใช้บริการรถขนส่งมวลชน ก็เป็นการเพิ่มตำแหน่งงาน หรืออัตราการจ้างงานในสังคมด้วย
แม้ กระนั้นก็ตามนักวิจารณ์บางฝ่ายกลับมองว่า การเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเช่นนี้ อาจนำไปสู่ปัญหาการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่มีประสิทธิผลได้ ทั้งนี้ สตีเฟ่น เพอร์ซี่ ผู้อำนวยการด้านนโยบายขององค์การแรงงานนานาชาติ กล่าวว่า ประสิทธิผลหรือประสิทธิภาพที่กล่าวถึงนั้น ต่างก็ถูกวัดจากมาตรฐานเพื่อสร้างความมั่งคั่งที่ไม่ได้คำนึง หรือคำนวณต้นทุนการผลิตอื่นๆ ในสังคมเข้าไปด้วยเลย เช่น อุตสาหกรรมหนัก และใช้แรงงานอย่างหนัก ต่างก็ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อม ก่อมลพิษ (ละเมิดสิทธิแรงงาน) หรือแม้แต่ส่งผลต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงด้วย
“เรา สามารถเปลี่ยนแนวทางที่เราจะยึดถือปฏิบัติได้ อย่างถูกต้องมากขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราอยากได้ เช่น เมืองที่เราอยู่มีมลพิษน้อยลง อากาศสะอาดขึ้น เป็นต้น” สตีเฟ่น เพอร์ซี่ กล่าว
นอก จากนั้น ในรายงานฉบับนี้ ยังได้กล่าวถึงเงื่อนไขที่สำคัญที่ได้ช่วยให้แนวคิดเรื่อง Green Economy นี้ให้ประโยชน์ได้มากขึ้น คือ นโยบายรัฐ และองค์กรภาคส่วนต่างๆ ต้องให้การสนับสนุนด้วย เช่น รัฐบาลเยอรมันได้สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิ และโครงการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ (เครื่องแปลงแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า) 1 ล้านจุด ในหมู่บ้านชนบทของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนร่วมจากองค์กรไม่แสวงหากำไร กรามีนแบงค์ (Grameen Bank)
การ เรียกร้องถึงสภาพการทำงานของแรงงานที่ดีขึ้น ก็เป็นสิ่งที่รายงานฉบับนี้กล่าวถึงเช่นกัน และหมายรวมถึงความเป็น Green Economy ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการกำจัดของเสีย และการรีไซเคิล รวมไปถึงรัฐบาลต้องกระจายการลงทุนในกิจการต่างๆ ที่หลากหลายด้วย
ท้ายสุด ฮวน โซมาเวีย (Juan Somavia) ผู้อำนวยการทั่วไปของ ILO กล่าวว่า ใน การร่วมมือกันเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานการใช้คาร์บอนในระดับต่ำ นั้น ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยี หรือเงินๆ ทองๆ เท่านั้น แต่มันเป็นเรื่องของสังคมและผู้คนด้วย มันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเพื่อนำไปสู่ความตระหนักด้านสิ่งแวด ล้อมอย่างแท้จริง และเปิดโอกาสสำหรับการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้นมันเกี่ยวข้องกับภาวะความเป็นผู้นำ ในการร่วมสร้างเศรษฐกิจแบบใหม่ด้วย.
No comments:
Post a Comment