7.4.09

จักรยานชุมชน: สองล้อแก้จน - พึ่งพาตัวเอง


จักรยานดีๆ สักคัน ราคาไม่แพง ซ่อมก็ง่าย แถมยังไว้ใจได้ พาเราเดินทางไปที่ต่างๆ ไม่เพียงเท่านั้น ในพื้นที่ชนบทบางแห่ง ที่ไม่มีเส้นทางคมนาคม หรือถนนดีๆ ไม่มีรถเมล์ รถราง ‘จักรยาน’ นี่แหละที่ต้องยอมรับว่ามันใช้ได้จริง ยิ่งในพื้นที่ชนบท และสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย จักรยานจึงเป็นทั้งยานพาหนะ และเพื่อนที่ดีที่สุดเลยทีเดียว ยิ่งในยุคที่เราต้องช่วยกันประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล แม้ผู้ที่มีเงินถุงเงินถัง หรือคนทั่วไป การหันมาปั่นจักรยาน หรือเดินเท้ากันมากขึ้นน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี - ดีทั้งต่อเงินในกระเป๋าของคุณ และดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ‘พลังงานจากสองขาและสองเท้า’ ดึงมาใช้กันให้สุดๆ ไปเลย!!

[ข้อมูลจาก “The Bicycle Debates” เอกสารในโครงการ Bicycle for Poverty Reduction ฉบับเดือนมิถุนายน 2008 ของ International Forum for Rural Transport and Development (www.ifrtd.org)]

ทั้ง นี้ การหันมาปั่นจักรยาน ไม่ใช่แค่เรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือประหยัดพลังงานเพียงเท่านั้น แต่มันก็คือการพึ่งพาตัวเองได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ในบางประเทศ เช่น ในเคนย่า กาน่า บังกลาเทศ อินเดีย และอีกหลายๆ แห่ง จักรยานไม่เพียงเป็นเพื่อนแท้ยามยากของผู้ยากไร้เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่จะนำพาพวกเขาไปสู่โอกาสในชีวิต ในทางเศรษฐกิจและสังคมอีกมากมาย...

1
ถึงกับมีกลุ่มเครือข่ายแห่งหนึ่ง ที่ทำงานที่มุ่งเน้นเรื่องนี้โดยเฉพาะ นั่นคือ International Forum for Rural Transport and Development หรือ IFRTD ซึ่ง เป็นเครือข่าย ที่เกิดจากการรวมตัวขององค์กรและคนทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาทางสังคม ที่ต้องการจะยกระดับความสามารถ และการเข้าถึงยานพาหนะเพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวันสำหรับคนยากจนในชนบท และเพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจ –การทำงานที่ดีขึ้น เครือข่ายนี้ยังได้วางกรอบการทำงานร่วมและแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร และความช่วยเหลือที่จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างพื้นที่วัฒนธรรมท้องถิ่น กับหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในหลายๆ ประเทศ

ว่า ด้วยเรื่องของจักรยาน สองล้อปั่นด้วยสองขานี้เอง ที่ IFRTD ได้ฉายภาพและให้ข้อมูลแก่เราว่า มันได้ช่วยบรรเทาความยากจน และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้คนในชุมชนอีกมากมาย ทั้งอุตสาหกรรมการผลิตจักรยาน ที่แม้ว่าในช่วงแรกมีการนำเข้าจักรยานจากนอกประเทศเข้ามามาก กระนั้นในระยะยาวควรจะเน้นการส่งเสริมการผลิตในประเทศ ด้วยผู้ประกอบการในประเทศ จึงจะช่วยทำให้ระบบเศรษฐกิจ หรือเงินหมุนเวียนได้ในระบบ, การเกิดขึ้นของร้านซ่อมจักรยานในท้องถิ่น, การนำจักรยานที่ถูกทิ้งขว้างจากประเทศโลกที่หนึ่ง มาปรับปรุง ซ่อมแซมและกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง, สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดการพึ่งพิงอยู่กับน้ำมันได้ดีทีเดียว

ใน กาน่า โครงการจักรยานชุมชนเริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1999 เพื่อให้คนในชุมชนสามารถหาซื้อจักรยานได้, IFRTD ทำงานใน 3 พื้นที่หลัก โดยจัดให้แต่ละครอบครัวมีจักรยานเป็นของตัวเอง รวมไปถึงการช่วยเหลือด้านชิ้นส่วนและอะไหล่ เครื่องมือซ่อมต่างๆ และยังมีโปรแกรมฝึกอบรม หรือสอนการซ่อมจักรยานให้แก่คนที่สนใจด้วย ในเขตพื้นที่ชนบท หากใครสนใจเข้าฝึกอบรมการซ่อมจักรยานให้เป็นแล้ว จะได้สิทธิพิเศษซื้อจักรยานได้ ในราคาเพียงครึ่งเดียว ในขณะที่โครงการนี้ช่วยให้คนในชุมชนมีจักรยานใช้แล้ว ที่สำคัญได้ช่วยเพิ่มอำนาจให้คนในท้องถิ่นชนบทห่างไกล สามารถดูแลตัวเองและสมาชิกในครอบครัวให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย

2
สำหรับ ที่ ศรีลังกา การครอบครองรถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซด์สักคันถือว่าเป็นเรื่องเกินกำลัง เพราะมีราคาแพงมาก แถมยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนในท้องถิ่นที่ห่างไกล ดังนั้นในการเดินทางไปมาในชนบท หรือการเดินทางไปยังถนนสายหลัก จักรยานจึงกลายเป็นตัวเลือกเดียวสำหรับผู้ที่ต้องการสัญจรไปยังที่ต่างๆ

นับ ตั้งแต่ ศรีลังกาประยุกต์ใช้นโยบายเปิดตลาด และเศรษฐกิจมากขึ้น ในปี 1977 ทำให้มีการนำเข้ายวดยานพาหนะจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งรถยนต์ ตุ๊กตุ๊ก รถตู้ รถมอเตอร์ไซด์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมผลิตจักรยานภายในประเทศซบเซาลงไป ไม่เพียงเท่านั้นการนำเข้าจักรยานจากประเทศพัฒนาแล้วเข้ามา ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ทำให้การเพิ่มขึ้นของจักรยานบนท้องถนนตั้งแต่ช่วงปี 1970 เป็นต้นมา เพิ่มขึ้นจาก 150,000 เป็น 200,000 คัน ในระยะเวลาเพียงหนึ่งปีมานี้เอง

ใน ศรีลังกา จักรยานนับว่าเป็นยานพาหนะที่ครอบครัวที่มีรายได้น้อย สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด และยังใช้ประโยชน์ได้หลากหลายอีกด้วย โดยเฉลี่ยแล้ว ทุก 2 ใน 3 ของครอบครัวชนบท มักจะมีจักรยานหนึ่งคันไว้ใช้ นับรวมแล้ว มีประมาณ 3.5 ล้านคันทั่วทั้งประเทศ มีร้านซ่อมจักรยานประมาณ 3,500 ร้าน – หากคุณได้เดินทางไปเที่ยวที่ศรีลังกา คุณจะพบว่า มีจักรยานหลากหลายรูปแบบ ที่ใช้งานแบบสารพัดประโยชน์ ทั้งการเพิ่มตะกร้าข้างหน้า หรือรถพวงข้างๆ และข้างหลัง เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้สอย มีการใช้จักรยานตั้งแต่ปั่นธรรมดาทั่วๆ ไป ไปจนถึงการปั่นพร้อมเร่ขายสินค้า มะพร้าว หนังสือพิมพ์ และน้ำมันกันเลยทีเดียว

3
ที่ เคนย่า การที่รัฐบาลลดภาษีการนำเข้าจักรยาน มันกลับสร้างความเจ็บปวดและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ เหลือเพียงแต่ร้านซ่อม หรือธุรกิจประกอบจักรยานในท้องถิ่น แต่ในขณะเดียวกัน การนำเข้าจักรยานเข้ามา กลับทำให้ธุรกิจแท็กซี่จักรยาน หรือที่เรียกกันว่า โบดา โบด้า (boda boda) เติบโตขึ้น

ก่อน หน้านี้ ในช่วงปี 1980s โรงงานผลิตจักรยานในระดับท้องถิ่นของเคนย่าถูกทิ้งร้างไป เนื่องมาจากไม่มีตลาดรองรับ อีกทั้งไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่มาจากจีนหรืออินเดียได้ มีแต่การนำเข้าชิ้นส่วนเข้ามาประกอบในประเทศเท่านั้น มาจนกระทั่งปี 2002 รัฐบาลเคนย่าประกาศลดภาษีการนำเข้าจักรยานจากต่างประเทศ ยิ่งทำให้จักรยานราคาถูกลง และหลั่งไหลเข้ามาในประเทศอย่างมาก จากข้อมูลทางสถิติของรัฐบาลเคนย่า พบว่า จากปี 2002 มีการนำเข้ามา 386,503 คัน, ในปี 2003 นำเข้ามาเพิ่มขึ้นเป็น 446,638 คัน และในปี 2004 จำนวนนำเข้าขึ้นไปอยู่ 722,418 คัน โดยในปี 2002-2005 มีจักรยานนำเข้าเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 87% ในขณะที่จำนวนการนำเข้ายานพานะชนิดอื่นๆ อยู่ที่ร้อยละ 28% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ทว่า ‘โบดา โบด้า’ ได้รับความนิยมอย่างมาก ประกอบกับมีคนว่างงานจำนวนมาก ที่หันมายึดอาชีพนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองขนาดกลางของเคนย่า คาดว่ามีแท็กซี่จักรยานประมาณ 5,000 และมีมากถึง 20,000 คันในบางเมือง ทว่าก็ยังมีปัญหาอยู่ เนื่องจากจักรยานไม่ถูกจัดว่าเป็นพาหนะโดยสารที่ได้รับความคุ้มครองทาง กฎหมายจากรัฐ ความคุ้มครองด้านอุบัติเหตุ หรือการจัดเลนถนนสำหรับจักรยานโดยเฉพาะที่มีความปลอดภัย รวมไปถึงที่จอดรถ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ยังไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นมากเท่าที่ควร นอกจากนี้ เมื่อปี 2007 รัฐบาลเคนย่าประกาศขึ้นภาษีการนำเข้าจักรยานขึ้นมาอีกร้อยละ 10 ทำให้ราคาจักรยานในประเทศเพิ่มขึ้น จากโดยเฉลี่ยคันละ 48 ดอลล่าร์ (ประมาณ 1,680 บาท) ไปอยู่ที่ 71 ดอลลาร์ (ประมาณ 2,485 บาท)

4
แม้ ว่าในตัวเมือง บราซิล มีคนหันมาปั่นจักรยานจะมีเพิ่มมากขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ เบื่อกับการจราจรติดขัด หรือจะด้วยปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมฯลฯ แต่อย่างไรก็ดี ความปลอดภัยสำหรับนักปั่นทั้งหลาย ยังคงเป็นประเด็นสำคัญ ผู้ปกครองและเด็กที่ต้องปั่นจักรยานไปโรงเรียนยังคงวิตกกังวลเรื่องนี้ จนมีนักวิจัยสองกลุ่มที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับเส้นทางสำหรับจักรยานที่เชื่อมต่อ ระหว่างโรงเรียนของรัฐทั้งหมด 6 แห่ง ในเมืองฟลอเรียโนโปลิส โดยหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้บ้าง

งาน วิจัยได้สอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเด็กนักเรียน พบว่า นักเรียนร้อยละ 80 มีจักรยาน แต่มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่ปั่นจากบ้านไปกลับโรงเรียนเกือบทุกวัน ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีเส้นทางที่เหมาะสม และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย

นอก จากนี้ งานวิจัยยังระบุว่า นักเรียนส่วนใหญ่ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนของรัฐ มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย การที่เด็กสามารถปั่นจักรยานไปโรงเรียนได้เอง ย่อมจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว แทนที่จะเสียไปกับการจ่ายเงินให้กับรถโดยสารประจำทาง ไม่เพียงเท่านั้น การเดินเท้าไปโรงเรียนบางครั้งก็นับว่าเป็นการออกกำลังด้วยเช่นกัน ด้วยความไม่สะดวกสบาย และความไม่ปลอดภัยดังกล่าว ในพื้นที่เมืองที่นับว่ายิ่งเติบโตและขยายวงกว้างมากขึ้น การใช้พาหนะส่วนตัว ทั้งรถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ ก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน นักวิจัยเชื่อว่า สถานการณ์อาจแย่ลง หากคนในเมืองจะหันไปใช้รถยนต์ และรถมอเตอร์กันมากขึ้น

ใน คาเมรูน ชายคนหนึ่งปั่นจักรยานคู่ใจจากหมู่บ้าน ไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่งเสมอ ในหนึ่งวัน เขาสามารถปั่นได้กว่า 80 กิโลเมตร เขายังชีพด้วยการแวะไปยังหมู่บ้านต่างๆ เพื่อซ่อมรองเท้าให้กับลูกค้า ทั้งซ่อมและขายรองเท้าคู่ใหม่ด้วย บ้างก็หอบหิ้วเครื่องครัวไปขาย

โครงการ รณรงค์เพื่อเผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี ในอุกานดา ผู้ส่งสารไปยังแต่ละหมู่บ้านก็ใช้บริการจักรยาน และรถมอเตอร์ไซด์เช่นกัน

5
ใน ขณะที่ ธนาคารโลก (World Bank) พยายามศึกษาและวางนโยบายมากมายเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจน กลยุทธ์ว่าด้วยการคมนาคมแบบใหม่ด้วยจักรยานก็อยู่ในความสนใจของธนาคารโลก เช่นกัน แต่ทว่าในสังคมหลายแห่ง ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศยังคงมีอยู่ ข้าวของเครื่องต่างๆ แม้แต่จักรยาน หลังจากซื้อมาแล้ว ล้วนแต่ตกเป็นสมบัติของฝ่ายชาย ไม่เพียงเท่านั้น ในบางแห่ง จักรยานถือเป็นสิ่งบ่งบอกทางฐานะด้วย

เครือ ข่าย IFRTD ได้มุ่งนำเสนอประเด็นเรื่องเพศสภาพนี้เช่นกัน เนื่องจากปัญหาวิกฤตด้านพลังงานที่ทั่วโลกประสบอยู่นี้ กลับสร้างความยากลำบากให้กับเพศหญิงมากที่สุด ยิ่งผู้หญิงในชนบทห่างไกล การทำหน้าที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญ ทั้งดูแลสมาชิกในครอบครัว ทำการเกษตร

ปัจจุบัน มีการจัดโครงการให้กู้ยืมเงิน หรือ ไมโครเครดิตแก่หญิงชนบทที่ยากจนในแอฟริกา ให้มีจักรยานใช้ โดยซื้อและผ่อนจ่ายให้ร้านค้า ทั้งนี้จักรยานช่วยลดแรงในการเดินทาง ประกอบอาชีพ และลดค่าใช้จ่าย ส่งผลให้การค้าขาย ขนย้ายสินค้าทำได้ง่าย และมากขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้พวกเธอเหล่านี้ เข้าถึงบริการทางสุขภาพของรัฐได้มากขึ้นด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ พวกเธอสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และช่วยนำพาโอกาสให้หลุดพ้นจากความยากจนได้อีกระดับหนึ่ง

International Forum for Rural Transport and Development หรือ IFRTD เป็นเครือข่าย ที่เกิดจากการรวมตัวขององค์กรและคนทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาทางสังคม ที่ต้องการจะยกระดับความสามารถ และการเข้าถึงยานพาหนะเพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวันสำหรับคนยากจนในชนบท และเพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจ –การทำงานที่ดีขึ้น โดยเฉพาะจักรยาน ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในศรีลังกา เคนย่า บราซิล

No comments:

Post a Comment