9 เว็บไซด์ของคนตัวเล็กที่ถูกมองข้าม แต่มีประโยชน์อย่างมากมาย
เริ่มจาก 1. ‘เครือข่ายพลเมืองเน็ต’ ผู้พิทักษ์เสรีภาพในโลกไซเบอร์ (www.thainetizen.org)...
2. โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (www.thailabour.org)
3. พรรคเลี้ยวซ้าย – สมานฉันท์ สันติภาพ เสมอภาค (www.pcpthai.org)
4. เยาวชนยุคพลังงานสะอาด (www.greenpeace.org/seasia/th/solargen/)
5. ปิดทีวี เปิดชีวิต กับ We Change555 (www.wechange555.com)
6. Border Green Energy Team - BGET (www.bget.org)
7. RabbitHood กับโครงการ ‘ใจหาย’ (www.rabbithood.net)
8. สาละวินโพสต์ - แบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน (www.salweennews.org)
9. The Story of Stuff (www.storyofstuff.com)
1. ‘เครือข่ายพลเมืองเน็ต’ ผู้พิทักษ์เสรีภาพในโลกไซเบอร์ (www.thainetizen.org)
เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยกับ ‘เครือข่ายพลเมืองเน็ต’ (Thai Netizen Network) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนในลักษณะเครือข่ายของพลเมืองผู้ใช้สื่ออิน เทอร์เน็ต ซึ่งมีความเชื่อมั่นร่วมกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพ การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น แสดงออก การปกป้องสิทธิพลเมือง เสรีภาพของสื่อออนไลน์ และการสนับสนุนการเติบโตเชิงคุณภาพของสื่อพลเมือง
สฤนี อาชวานันทกุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า ในภาวะที่สังคมไม่เป็นประชาธิปไตยมากนัก ผู้คนจะเข้าหาแหล่งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายในอินเทอร์เน็ต ยิ่งสังคมมีความขัดแย้ง คนก็ยิ่งอยากใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง แสดงความคิดเห็น แต่ปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ยังมีความล่อแหลมที่จะถูกลิดรอน กดขี่โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะไม่เข้าใจธรรมชาติของอินเทอร์เน็ต จึงอยากจะร่วมแลกเปลี่ยนกันเพื่อหาจุดร่วมว่าควรมองสังคมออนไลน์อย่างไร คาบเกี่ยวกับสังคมจริงอย่างไร เป็นไปได้ไหมในการหาทางสายกลางไปสู่สังคมอุดมปัญญา มีสิทธิเสรีภาพพร้อมไปกับความรับผิดชอบด้วย
ด้านจีรนุช เปรมชัยพร กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ตอีกคน กล่าวว่า ระยะหลังมีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเสวนากันในโลกออนไลน์ ที่ผ่านมาไม่เคยคิดว่าต้องรวมตัวกันเป็นเครือข่ายจริงจัง ทุกคนเป็นหน่วยอิสระ แต่ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา ทั้งบรรยากาศทางสังคม และบรรยากาศในโลกเสมือน อินเตอร์เน็ตถูกพูดถึงทั้งบวกลบ และโลกเสมือนก็เริ่มจะจริงขึ้นเรื่อยๆ อย่างหนึ่งที่ทำให้มันจริงคือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งมีน่าจะผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน แม้ในช่วงเริ่มต้นคนจะมองกระทบต่อผู้ประกอบการ ผู้ดำเนินกิจการเว็บไซต์มากกว่า แต่ในความเป็นจริง มันกลับกระทบประชาชนที่อาจไม่เท่าทันกับข้อกฎหมาย หรือเมื่อเกิดความผิดทางกฎหมายแล้วก็ไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร เราจึงต้องรวมตัวกันที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือ เพราะผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปไม่ได้มีกลไกใดๆ ที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว ยกเว้นในส่วนของสมาคมผู้ดูแลเว็บที่เน้นในกลุ่มผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ เครือข่ายฯ มีจุดยืน คือรวมตัวเพื่อทำงานรณรงค์เชิงนโยบายในระดับประเทศเพื่อการธำรงและปกป้อง อิสรภาพในโลกไซเบอร์ (Cyber-liberty) ซึ่งหมายถึงสิทธิพลเมืองเน็ต (Netizens' rights) และเสรีภาพสื่อออนไลน์ (Freedom of online media) บนพื้นฐานของหลัก 5 ประการดังนี้
1. สิทธิเสรีภาพในการเข้าถึง และรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็น สาระบันเทิง และอื่นๆ (Right to Access) 2.สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งความคิดเห็น ความรู้สึก ต่อเรื่อง สังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ชีวิต ฯลฯ (Freedom of Expression) 3.สิทธิในการความเป็นส่วนตัว (Right to Privacy) และการได้รับการปกป้องคุ้มครองอันปลอดภัยจากการสอดส่องโดยรัฐและหน่วยงาน อื่นๆ (Surveillance) 4.ความรับผิดชอบร่วมกันของชุมชนสื่อออนไลน์ การกำกับดูแลกันเอง (Self-regulation) ไม่ใช่การปิดกั้น (Censorship) โดยไม่มีขอบเขตจากหน่วยงานรัฐ การสร้างความชัดเจน และกำหนดเส้นแบ่งระหว่างเสรีภาพในการสื่อสารซึ่งแตกต่างจากอาชญากรรมทาง คอมพิวเตอร์ และ 5.ความเสมอภาค ความเป็นเจ้าของร่วมกัน ความเป็นสมบัติสาธารณะ การไม่ผูกขาดทางเศรษฐกิจ และทรัพย์สินทางปัญญา (Common Property)
นอกจากนี้ ยังได้มีข้อเสนอต่อรัฐและสังคม ต่อเรื่องการกำกับดูแลสื่ออินเทอร์เน็ตและการบังคับใช้กฎหมายด้วย ได้แก่ 1.รัฐ ต้องเน้นการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมอิสรภาพการสื่อสารของสื่อออนไลน์มากกว่า การควบคุม โดยต้องสนับสนุนกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำหนด นโยบายและการบังคับใช้กฎหมาย 2.รัฐสภา ควรมีการปรับแก้กฎหมาย พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้มีความชัดเจนในการเรื่องการจำแนก อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ออกจาก เสรีภาพในการสื่อสาร ทั้งนี้ควรมีกระบวนการที่ปกป้องสิทธิพลเมืองเน็ตและเสรีภาพของสื่อออนไลน์ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และหลักสิทธิมนุษยชนในการสื่อสาร
3. พรรคการเมือง กลุ่มทางการเมืองและสังคม ไม่ควรคุกคามสิทธิพลเมืองเน็ตและเสรีภาพสื่อออนไลน์ ด้วยวิถีทางการเมืองและมาตรการทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม อีกทั้งไม่ควรใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทำลายล้างทางการ เมือง โดยปราศจากการเคารพหลักการสากลว่าด้วยเรื่องเสรีภาพการสื่อสารผ่านสื่ออิน เทอร์เน็ต
จุดยืนทางการเมืองของกลุ่ม คือเครือข่ายพลเมืองเน็ต เคารพรสนิยมและความเชื่อที่แตกต่างทางการเมืองของทุกคน และเราประกาศตัวเป็นกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองใดๆ ทั้งมีจุดยืนพื้นฐานร่วมกันคือความเชื่อมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องเพราะสิ่งนี้จะเป็นรากฐานสำคัญของสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร และสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการธำรงอิสรภาพแห่งโลกไซเบอร์.
โครงการ รณรงค์เพื่อแรงงานไทย หรือ Thai Labour Canpaign – TLC เป็นองค์กรที่ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับแรงงานมายาวนานกว่า 8 ปีแล้ว โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2543 โดยเริ่มแรกนั้นเพื่อทำการรณรงค์และเผยแพร่ข้อมูลความเคลื่อนไหวของแรงงาน ไทยต่อกับองค์กรแรงงานทั้งในประเทศและสากล เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การต่อสู้ของขบวนการแรงงานไทย
โดยมีวัตถุ ประสงค์ขององค์กร คือ 1.เพื่อวิจัยและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานใน ประเทศไทยในทุกรูปแบบ 2.เพื่อเผยแพร่และเปิดโปงการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและการละเมิดสิทธิของ ลูกจ้าง ให้เป็นที่รับทราบของเครื่องข่ายองค์กรในระดับประเทศและต่างประเทศ
3. เพื่อเผยแพร่เอกสาร ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานไทย มาตรฐานแรงงานสากลและกฎหมาย และข้อปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง เช่น จรรยาบรรณด้านแรงงาน 4.เพื่อเป็นเวทีอภิปรายและการศึกษาเกี่ยวกับเงื่อนไขด้านแรงงาน กฎหมายแรงงาน จรรยาบรรณแรงงาน และมาตรฐานด้านแรงงาน 5.เพื่อเรียกร้องให้มีการดำเนินการ และรณรงค์ร่วมกันต่อประเด็นปัญหาด้านแรงงานในประเทศไทย และ 6.เพื่อรณรงค์ต่อต้านบรรษัทข้ามชาติที่ละเมิดสิทธิแรงงานของลูกจ้าง
ขณะ นี้ โครงการกำลังจัดทำ “คาราวานสิทธิแรงงาน” หนังกลางแปลง: เทศกาลหนังแรงงานนานาชาติ, ณ ลานบ้าน-ลานวัน-กลางย่านอุตสาหกรรม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 - กุมภาพันธ์ 2552 โดย ที่คาราวานซึ่งประกอบด้วยรถบัสจากโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยและคาราวาน รณรงค์สิทธิแรงงาน ด้วยความร่วมมือกับสหภาพแรงงานในพื้นที่อุตสาหกรรม จะเดินทางไปยังนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศไทย เพื่อจัดฉายหนังในนิคมอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ จะกิจกรรมต่างๆ ในงานฉายหนังด้วย ได้แก่ เวทีสัมมนาเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ , นิทรรศการเกี่ยวกับสิทธิแรงงาน มาตรฐานแรงงานสากล และข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานต่อรัฐบาลไทย หลังจากนั้น ก็จะฉายหนังสารคดีที่คัดเลือกมา 5 - 7 เรื่องของไทยและจากทั่วโลกเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงาน
ทั้งนี้ ในปัจจุบันการเคลื่อนย้ายของทุน ภายใต้การคุ้มครองของกลไกการค้าเสรีใหม่ที่นำโดยองค์การการค้าโลก (WTO) และการทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ (FTA) หรือข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาค นั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปได้อย่างราบรื่น แต่ต้องเผชิญกับการต่อต้านทั้งในระดับนานาชาติ ในระดับภูมิภาค และในแต่ละประเทศเช่นกัน ทั้งจากประชาชน สหภาพแรงงาน และองค์กรรณรงค์เพื่อสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชน และรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม
การ ประท้วงอันมากมายเกิดขึ้นมาเพราะในกระบวนการจับมือระหว่างทุนกับ รัฐบาลทั่วโลกนั้นได้สร้างผลกระทบในทุกๆ ด้านต่อวิถีชีวิต สภาพการจ้างงานและสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงาน การขยายการลงทุนจากนักลงทุนยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ได้นำความมั่งคั่งและคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างที่ประกาศไว้ต่อเจ้าของพื้นที่ที่ถูกใช้เป็นแรงงานใน สายพานการผลิต หรือถูกขับไล่ออกจากพื้นที่เพื่อเปิดทางให้นายทุนเข้าไปใช้ทรัพยากรได้อย่าง เสรี
ภาพการประท้วงของชาวเอกวาดอร์ ในการต่อต้านโครงการท่อก๊าซ เป็นคำตอบได้ดีถึงความไม่เห็นด้วยของประชาชนกับนโยบายการเปิดประเทศอย่าง เสรีให้นักลงทุน ผลกระทบของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์สำหรับโรงพยาบาลในยุโรป โดยแลกกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของชาวปากีสถานและชาวอินเดียในหนังสารคดี ‘The Dark Side of Healthcare’ การสมานฉันท์ของคนงานท่าเรืออเมริกากับคนงานท่าเรืออังกฤษในสารคดีเรื่อง
เมื่อ ได้รวบรวมสารคดีหลายสิบเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิต ผลกระทบ และการลุกขึ้นสู้และสร้างทางเลือกใหม่ของขบวนการภาคประชาชน และแรงงานจากทั่วทุกมุมโลก ประกอบกับสารคดีเพื่อตีแผ่ปัญหาแรงงานในประเทศไทยร่วมสิบเรื่องที่โครงการ รณรงค์เพื่อแรงงานไทยผลิตในรอบหลายปีที่ผ่านมา ทางโครงการฯ จึงมีความคิดที่จะนำเสนอเรื่องราวของชีวิตและการต่อสู้ของคนจน คนงานจากทั่วทุกภูมิภาคของโลกให้พี่น้องแรงงาน และเครือข่ายภาคประชาชนในประเทศไทยได้ร่วมรับชมด้วย ดังนั้นโครงการหนัง “กลางแปลง: เทศกาลหนังแรงงานนานาชาติ” จึงได้เกิดขึ้นมา เพื่อนำเสนอภาพ “ผู้คน ชาวรากหญ้า ลุกขึ้นสู้”
“เพื่อแนะนำคาราวานสิทธิแรงงานให้คน งานในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศไทยได้ รู้จัก โดยการจัดนิทรรศการและฉายสารคดีด้านแรงงานจากทั่วทุกมุมโลก อันจะทำให้คนงานในเมืองอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ที่ประชาชนทั่วโลกต่างก็ตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน”
3. พรรคเลี้ยวซ้าย – สมานฉันท์ สันติภาพ เสมอภาค (www.pcpthai.org)
เมื่อ “วันที่ 8 พฤษภาคม 2548 เป็นวันที่จะต้องถูกจารึกไว้ในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะได้มีการจัดตั้ง พรรคการเมืองแนวร่วมภาคประชาชน ขึ้นอย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะยังไม่มีการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองก็ตาม”... พรรคเลี้ยวซ้าย (เดิมชื่อ พรรคการเมืองแนวร่วมภาคประชาชน)
พรรคมีการ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ หลากหลายรูปแบบ ทั้งการจัดเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเดินรณรงค์ แจกเอกสารฯลฯ ทั้งนี้กิจกรรมจะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับนโยบายหลักๆ ของพรรคคือ ยืนยันจุดยืน “สองไม่เอา” คัดค้านรัฐประหาร เร่งทำงานมวลชน และผลักดันนโยบายต่างๆ เช่น นโยบายสร้างพลังภาคประชาชน นโยบายปกป้องสิ่งแวดล้อม ด้านสื่อสารมวลชน ด้านสิทธิเสรีภาพทางเพศ ด้านพรมแดนรัฐชาติ และนโยบายระหว่างประเทศ นโยบายเพิ่มสิทธิชุมชน เคารพวัฒนธรรมหลากหลาย นโยบายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และตำรวจ/ทหาร นโยบายการบริหารสังคมรูปแบบใหม่ นโยบายขยายกรรมสิทธิ์ส่วนรวมสาธารณะ นโยบายการปฏิรูประบบการศึกษา และนโยบายด้านสวัสดิการ – นอกจากนี้ ยังมีการผลิตหนังสือที่เกี่ยวพันกับประเด็นเหล่านี้มากมาย รวมทั้งหนังสือพิมพ์รายเดือน “เลี้ยวซ้าย” อีกด้วย
ที่มาของพรรค : การสร้างพรรคการเมืองของภาคประชาชนเป็นที่ถกเถียงกันมานานแล้วจากขบวนการใน ภาค ประชาชนบางกลุ่ม แต่ยังไม่เคยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเสียที ทั้งยังมีนักกิจกรรมรวมไปถึงNGOบางกลุ่มออกมาคัดค้านว่า เราไม่ควรจัดตั้งพรรคการเมืองเพราะท้ายที่สุดมันจะทำให้เรากลายเป็นรัฐและ เป็นผู้กดขี่เสียเอง คาดว่าคนเหล่านี้อาจจะฝังใจอยู่กับอดีตคงจะกลัวว่าเมืองไทยจะเป็นคิวบาแห่ง ที่ 2 (ฟิเดล คาสโตร ในอดีตเป็นนักศึกษาหัวก้าวหน้าที่กลับมาปฏิวัติยึดอำนาจจากจอมเผด็จการบาติ สตา และกลายเป็นผู้ปกครองจอมเผด็จการเสียเอง)
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 และ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มีการจัดเสวนาเรื่องวิกฤต? ภาคประชาชนไทยภายใต้รัฐบาลทักษิณ2 ? ได้ มีการเชิญตัวแทนของภาคประชาชนหลายๆกลุ่มมามาร่วมการเสวนา บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเต็มไปด้วยความแตกต่างทางความคิดแต่ก็มีความสมานฉันท์ เพราะทุกคนมีศัตรูตัวเดียวกันนั่นคือระบบทุนนิยมที่ขูดเลือดขูดเนื้อและกด ขี่ชนชั้นกรรมาชีพและคนชั้นล่างชนิดโงหัวไม่ขึ้น
ทั้งยังเจาะเวลาหา อดีตไปยุคสมัยจอมพล ป. นำเอาลัทธิชาตินิยมมาใช้ (ปลุกใจให้คนรักชาติและรังเกียจคนที่แตกต่างจากตน) การเสวนาในช่วงแรกๆ ก็จะเป็นไปในลักษณะการหยิบยกเอาปัญหาของภาคประชาชนในกลุ่มต่างๆ ขึ้นมาถกกัน ในวันที่ 6 (ตรงกับวันเลือกตั้ง) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายได้มีการร่วมกันเสนอทางออกซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เราจะไม่หวังพึ่งพรรครัฐบาลที่หวังกอบโกยจากประชาชนให้มากที่สุด และเราก็ไม่สามารถพึ่งพรรคฝ่ายค้านที่พร้อมจะปกป้องผลประโยชน์ของตนแต่ไม่ พร้อมที่จะปกป้องผลประชาชนดังนั้นคำตอบสุดท้ายคือเราต้องจัดตั้งพรรคที่เป็น ของเราอย่างแท้จริง
หลังการเสวนาในวัน ที่ 6 เสร็จสิ้นลง ได้มีผู้ลงนามแสดงเจตจำนงที่จะตั้งพรรคและได้ตกลงกันว่าในวันที่ 19 มีนาคม เราจะมาประชุมกันอีก เมื่อถึงวันนัดก็ได้มีการประชุมกันเพื่อร่วมกันร่างนโยบายขึ้นมา การประชุมครั้งนี้แม้จะเครียดแต่ก็มีบรรยากาศของมิตรภาพ ท้ายสุดได้มีการร่างออกมาเป็นนโยบาย 9 ข้อ ซึ่งทุกข้อเป็นนโยบายการทวงคืนสิทธิของกรรมาชีพและชนชั้นล่างที่ได้ถูกนาย ทุนและชนชั้นปกครองเบียดบังไป และว่าที่สมาชิกพรรคก็ได้มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการจัดตั้งพรรค จำนวน 7 คน เพื่อไปร่างนโยบายที่ได้ประชุมกันไว้ออกมาและร่างกฎระเบียบของพรรคออกมา เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในการประชุมใหญ่ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 8 พฤษภาคม 2548 โดย ระหว่างนั้นคณะกรรมการจัดตั้งพรรคได้ประชุมร่วมกันหลายครั้งเพื่อร่างกฎ ระเบียบพรรคออกมาเป็นรูปธรรมเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ให้การรับรอง ซึ่งหากที่ประชุมให้การยอมรับพรรคก็จะถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
วันประชุมใหญ่มีผู้เข้าร่วมประชุมหลากหลาย ทั้งนักศึกษา ตัวแทนสหภาพ กรรมกร ตัวแทนชาวบ้าน นักวิชาการ และ นักเรียนมัธยม ที่ประชุมได้ทำการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารเพื่อทำงานจัดการงานบริหารแต่ คณะกรรมการชุดนี้มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ บริหารงานตามความต้องการของสมาชิกพรรคส่วนใหญ่ ไม่มีอำนาจตัดสินใจโดยพละการ และหากบริหารงานไม่เหมาะสมสมาชิกก็มีสิทธิถอดถอนได้ตลอดเวลา ซึ่งแสดงถึงประชาธิปไตยภายในองค์กรได้เป็นอย่างดี
ในที่สุดพรรคแนว ร่วมที่เป็นของภาคประชาชนโดยแท้จริงก็ได้ถือกำเนิดขึ้น แล้ว แต่การตั้งพรรคนี้จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าไม่มีประชาชนคนเดินดินมาร่วม ด้วย หมดเวลาหวังพึ่งนักการเมืองนายทุนซึ่งก็เหมือนต้นไม้ในทะเลทรายที่รอคอยน้ำ ฝน(ที่ไม่มีวันตก) เราต้องพึ่งตัวเองโดยใช้พรรคของเราเองเป็นเครื่องมือ ที่สำคัญเราต้องเลิกแบ่งแยกกันเองเพียงเพราะความแตกต่างบางประการ (ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้มักถูกตีตราขึ้นโดยรัฐเพื่อสลายความเข้มแข็งของภาค ประชาชน) เราต้องก้าวให้ข้ามอคติทำงานร่วมกันและไม่เคลื่อนไหวแยกส่วน เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองให้แก่ตัวเราเอง มาร่วมกันทำพรรคนี้ให้เป็นพรรคการเมืองของประชาชน เพื่อรับใช้ประชาชน ที่แท้จริงกันเถอะ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของพวกเราเอง
4. เยาวชนยุคพลังงานสะอาด (www.greenpeace.org/seasia/th/solargen/)
โครงการ Solar Generation หรือ เยาวชนยุคพลังงานสะอาด เป็นโครงการรณรงค์เพื่อสนับสนุนการหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน) ที่มีมนุษย์เป็นสาเหตุหลัก โดยมีกิจกรรมในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย เป็นกิจกรรมที่เด็กและเยาวชนร่วมกันจัดขึ้น โดยกรีนพีซเป็นผู้ให้ข้อมูลและความรู้แก่เยาวชนที่สนใจเรื่องภาวะโลกร้อน เพื่อร่วมกันรณรงค์หยุดใช้พลังงานสกปรก และหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด
Solar Generation มีกิจกรรมอยู่ทั่วโลก กลุ่ม Solar Generation สนับสนุนทุกกิจกรรมเกี่ยวกับการรณรงค์หยุดภาวะโลกร้อน ทั้งสิ่งพวกเขาต้องการ คือ (1) ทุกประเทศสนับสนุนให้ทบทวนข้อตกลงร่วมเกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซใน พิธีสารเกียวโต และชักจูงให้เกิดการเจรจาถึงปริมาณการลดการปล่อยก๊าซในรายละเอียดทันที (2) ประเทศอุตสาหกรรมดำเนินนโยบายของชาติในเชิงรุก และดำเนินโครงการการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ อย่างจริงจัง (3) ยกเลิกการผลิตและการใช้ถ่านหินอย่างเร่งด่วน (เพราะถ่านหินปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่บรรยากาศต่อหน่วยการผลิตพลังงานมากกว่า น้ำมันและก๊าซ) (Greenpeace Guide to Kyoto Protocol หน้า 41)
(4) ให้เงินงบประมาณสนับสนุน และสร้างการยอมรับร่วมกัน ในการพัฒนาและส่งเสริมแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน ในระดับการค้า (5) ยกเลิกความช่วยเหลือในการผลิตและใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และหันมาส่งเสริมระบบพลังงานหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม (6) จำกัดประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ให้ขุดเจาะนำแหล่งน้ำมันและก๊าซที่สำรวจพบเพิ่มขึ้น และหยุดการเสาะหาแหล่งน้ำมันและก๊าซแหล่งใหม่ ถ้าเราต้องการหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แหล่งน้ำมันและก๊าซเหล่านี้จะต้องไม่ถูกนำมาใช้ เราไม่ควรนำเงินเหล่านี้ให้สูญไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่ควรนำมาลงทุนกับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด และ (7) หยุดการเสาะหาแหล่งน้ำมันและก๊าซที่ไม่อยู่ในอนุสัญญา เช่น หินน้ำมัน (oil shale) และ ออริมัลชั่นจากเวเนซูเอลา (Orimulsion - เชื้อเพลิงเหลว ประกอบด้วยน้ำมันดิน น้ำ และสารบางอย่าง) มาใช้ผลิตไฟฟ้าแทนน้ำมัน
Solar Generation ร่วมกับกรีนพีซรณรงค์ต่อต้านการขยายตัวของการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และสนับสนุนการผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่า กล่าวคือ การรณรงค์ด้านพลังงานของกรีนพีซนั้นให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศหรือภาวะโลกร้อน การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และ การป้องกันการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษ
กรีนพีซได้ศึกษาและตี พิมพ์งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม และใช้ฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เรามีในการผลักดันรัฐบาลและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องให้หันมาใช้พลังงานสะอาด และยกเลิกการใช้พลังงานฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศ นอกจากนี้ กรีนพีซยังสนับสนุนการรณรงค์ของชุมชน และสนับสนุนกิจกรรมชุมชนในด้านต่างๆ เช่น การแบ่งปันข้อมูล จัดสัมมนา จัดอบรมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และ ประสานงานกับสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เป็นต้น
ยกตัวอย่างกิจกรรม เมื่อ 9 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันรณรงค์ทั่วโลกเพื่อต่อสู้ภาวะโลกร้อน เยาวชนยุคพลังงานสะอาด อาสาสมัครกรีนพีซ และชุมชนแม่เมาะ ร่วมกันติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะขนาด 0.1 กิโลวัตต์ สำหรับระบบแสงสว่าง ณ ศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของวันรณรงค์ทั่วโลกเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน (Global Day of Action) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งข้อความ "ลงมือทำอย่างจริงจังเพื่อยุติภาวะโลกร้อน (Get serious about climate change)" ไปยังผู้นำประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 14 (COP14) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโตสมัยที่ 4 (MOP4) 1-12 ธันวาคม 2551 ที่เมืองพอซแนน ประเทศโปแลนด์ ซึ่งประชุมเพื่อเจรจามาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อยุติผลกระทบ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เยาวชนยุคพลังงานสะอาด อาสาสมัครกรีนพีซ และชุมชนแม่เมาะ ร่วมกันติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์สุริยะขนาด 0.1 กิโลวัตต์ สำหรับระบบแสงสว่าง ณ ศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของวันรณรงค์ทั่วโลกเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน (Global Day of Action) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งข้อความ "ลงมือทำอย่างจริงจังเพื่อยุติภาวะโลกร้อน (Get serious about climate change)" ไปยังผู้นำประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 14 (COP14) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโตสมัยที่ 4 (MOP4) 1-12 ธันวาคม 2551 ที่เมืองพอซแนน ประเทศโปแลนด์ ซึ่งประชุมเพื่อเจรจามาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อยุติผลกระทบ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
5. ปิดทีวี เปิดชีวิต กับ We Change555 (www.wechange555.com)
We Change555 เริ่มก่อตัวขึ้นมาจากกลุ่ม ชาวต้นกล้า (รู้จักต้นกล้าได้ที่ www.tonkla.org) ต่อมากลุ่มได้เริ่มกันจัดค่าย และร่วมคิดออกมาเป็น "ทุกวันฉันเปลี่ยนแปลงโลก" หรือ we change (we can change the world everyday) อย่างในปัจจุบัน ซึ่งก็ยังต้อง ต่อเติมเสริมแต่ง ต่อยอด แตกหน่อกันต่อไปเรื่อยๆ เพื่อหาคนมาร่วมทำให้โลกนี้ดีขึ้นทุกวันๆ
ทั้ง การรณรงค์ we change ก็เพื่อสร้างให้เกิดวัฒนธรรม และบรรยากาศ ของการทำเพื่อสังคมแบบง่ายๆ จากจุดที่ทุกคนเป็น จากวิถีประจำวันของแต่ละคน (Changing by living) ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็สามารถเปลี่ยนแปลงสังคม เปลี่ยนแปลงโลกได้ด้วยกัน เริ่มจาก โครงการรณรงค์ปิดทีวี มาจนถึงการรณรงค์สัปดาห์ไม่ซื้อ โดย we change จะเรียกว่าเป็นแนวคิด หรือแนวทางก็ได้ เป็นสิ่งที่เราทำและประกาศให้ใครๆ รู้ว่า เราแต่ละคน ล้วนเปลี่ยนแปลงโลกนี้ ให้น่าอยู่ได้ด้วยกันทั้งนั้น ภายใต้นิยามสั้นๆ ว่า ขัดขืน คืนคุณค่า ค้นหาความสัมพันธ์
การขัดขืนกับคุณค่าเดิมที่ทำ ร้ายโลก ขัดขืนวิถีแบบเดิมที่เบียดเบียนตัวเองและสรรพสิ่งอื่น การใช้สัญลักษณ์ใดร่วมกัน ก็ถือว่าเป็นชุมชนได้แล้ว การพูดคุยในเรื่องราวเดียวกัน แบ่งปัน ประสบการณ์ร่วมกันผ่านเว็บไซด์หรือบล็อก ฯลฯ ก็ถือเป็นเครือข่ายเกื้อกูลกันได้แล้ว มาเป็นส่วนหนึ่งของการ change ด้วยการสร้างปฏิบัติการ ของตัวเอง (ไม่ใช้พลาสติก ซื้อของร้านชำ ไม่ดูทีวี งดใช้มือถือ ยิ้มให้คนอื่น ฯลฯ) แล้วอย่าลืมบอกต่อให้รับรู้กันไปถ้วนทั่วเลยนะจ๊ะ การสร้างคุณค่าใหม่ให้เกิดขึ้น หลังจากที่เราเปลี่ยนแปลงอะไรแล้ว ก็ต้องหาบางสิ่งมาแทนที่นั่นเอง การสร้างความสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายจะทำให้การเปลี่ยนแปลงของเราไม่โดด เดี่ยวหรือรู้สึกว่าตัวเองบ้าไปคนเดียว
ส่วนเป้าหมายของการรณรงค์ปิด ทีวี ฮ่า ฮ่า ฮ่า ไม่ได้ต้องการทำลายทีวีหรือให้เลิกดูอย่างเด็ดขาดถอนรากถอนโคน การรณรงค์ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นที่จะตั้งคำถามกับชีวิตของเราในโลกของทุน นิยมบริโภคนิยม อาจเป็นจุดเริ่มของการตั้งถามว่ามันแทรกซึมเข้ามาในวิถีชีวิตของเราอย่างไร อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการฉุกคิดว่าเราทำอะไรต่อมิอะไรได้มากมายเพียงไร อาจเป็นจุดเริ่มต้นของอะไรอีกหลายหลาก ลดใช้มือถือ งดเล่นเกมส์ออนไลน์ งดออนไลน์ msnฯลฯ
อย่างน้อยที่สุด เราจะไม่เป็นเพียงผู้รับสารที่เฉื่อยชาหรือผู้รับสารที่เปลี่ยนพฤติกรรมส่วน ตัวเท่านั้น แต่ยังจะกลายเป็นผู้รณรงค์ได้ด้วยตนเองอีกด้วย ก็ด้วยการบอกต่อชักชวนทำเป็นแบบอย่างไงล่ะ
ข้อมูลจากสมาคมกุมาร เวชศาสตร์ของอเมริกัน ได้แนะนำว่าเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรดูทีวี นอกจากนั้นยังแนะนำผู้ปกครองอีกว่าไม่ควรวางทีวีไว้ในห้องนอนเด็กจำกัดเวลา ดูทีวีไว้วันละไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง และอย่าใช้ทีวีเป็นพี่เลี้ยงเด็ก
แน่ นอนว่าเบื้องหลังคำแนะนำนั้นย่อมมีที่มาที่ไปซึ่งคนเป็นพ่อแม่ควรให้ ความสนใจ Joseph Chilton Pearce เขียนไว้ในหนังสือ Evolution's End ของเขาว่า ศักยภาพของเด็กเปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ต้องการการดูแลเอาใจใส่ที่ดี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เติบโตอย่างถูกต้องเหมาะสม เด็กทารกนั้นเกิดมาพร้อมกับเซลล์สมองหมื่นล้านเซลล์ ใช้เวลาสามปีแรกของชีวิตสร้างเซลล์เพิ่มขึ้นอีกพันล้านเซลล์ จากนั้นเซลล์ประสาทก็จะสร้างเส้นใยเชื่อมต่อกันเป็นตาข่าย
พอเด็ก อายุหกขวบมีขนาดสมองเป็น 2/3 ของผู้ใหญ่ แต่มีเส้นใยประสาทที่เชื่อมต่อกันเป็นตาข่ายนี้มากกว่าผู้ใหญ่และเด็กอายุ 18 เดือนถึง 5-7 เท่า สมองของเด็ก 6-7 ขวบจึงมีศักยภาพมหาศาล ศักยภาพที่ว่านี้จะหยุดพัฒนาประมาณอายุ 10-11 ขวบ ถึงตอนนั้นเด็กจะเสียเส้นใยประสาทนี้ไปประมาณ 80% (Pearce 1992, Buzzell 1998) ปรากฏว่าสิ่งที่เราไม่ได้ใช้ไม่ได้พัฒนาเราจะเสียไป โดยเอนไซม์ชนิดหนึ่งจะถูกปล่อยออกมาในสมองและค่อยๆ ละลายไมอีลินซึ่งเป็นสารโปรตีนที่หุ้มรอบเส้นใยประสาทออก ไมอีลินนี้เป็นเหมือนเส้นทางเดินของสัญญาณประสาทไมอีลินยิ่งหนาเท่าไร ประสาทก็ยิ่งไวเท่านั้น แต่ก็ต้องการสิ่งเร้ามากระตุ้น ขณะที่การนั่งดูทีวีนิ่ง ๆ นาน ๆ ถูกยัดเยียดด้วยภาพ เสียง ที่ผ่านหูผ่านตาอย่างรวดเร็ว เพื่อตรึงผู้ชมไว้กับที่ทำให้สมองไม่ได้ทำงานมากนัก
ด้านดร.ซิกแมน กล่าวหาภาครัฐที่ละเลยความเชื่อมโยงระหว่างทีวีกับผลลบมากมายที่ เกิดกับเยาวชน เช่น ขัดขวางพัฒนาการความก้าวหน้าในโรงเรียน และถ่ายทอดสุขภาพย่ำแย่ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น รัฐบาลควรกำหนดให้การจำกัดเวลาการดูทีวีของเด็กๆ เป็นภารกิจสำคัญอันดับต้นๆ เพื่อยกระดับภาวะที่เป็นสุขของเยาวชน และลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข
รายงาน ของดร.ซิกแมนที่อิงกับผลสำรวจภายในอังกฤษยังระบุว่า เฉลี่ยแล้วเด็กจะเริ่มใช้เวลาดูทีวีตลอดทั้งปีเมื่ออายุ 6 ขวบ และกว่าครึ่งของเด็กอายุ 3 ขวบมีทีวีในห้องนอน
ดร.ซิกแมนจากบริติช ไซโคโลจิคัล โซไซตี้ เสริมว่าเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีไม่ควรดูทีวีเลย ส่วนเด็กที่โตกว่านั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรพิจารณาเรื่องการดูทีวีของเด็กอย่างรอบคอบ ทั้งนี้เด็กอายุระหว่าง 3-5 ขวบควรดู ‘รายการดีๆ มีคุณภาพ’ ไม่เกินวันละครึ่งชั่วโมง และเพิ่มเป็น 1 ชั่วโมงสำหรับเด็กอายุ 5-12 ขวบ และ 1 ชั่วโมงครึ่งสำหรับวัยรุ่น
นอกจากจะมีรายงานเปิดเผยออกมาก่อน หน้านี้ไม่กี่วันว่า เด็กอังกฤษไม่มีความสุขและมีสุขภาพอ่อนแอที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ดร.ซิกแมนสำทับว่า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใดที่เด็กอังกฤษได้ชื่อว่าดูทีวีมากที่สุดใน ยุโรปด้วยเช่นกัน “การดูทีวี ไม่ว่ารายการรูปแบบใด มีความเชื่อมโยงมากขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาและกระบวนการคิดในทางลบ และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครรู้ เนื่องจากในเอกสารของทางการไม่เคยมีการพาดพิงถึงทีวีเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ประหลาดมาก
รายงานของ ดร.ซิกแมน ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสารไบโอโลจิสต์ ระบุว่า การดูทีวีมากเกินไปมีความเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ส่งเสริมโรคอ้วน และกระทั่งทำให้ภูมิต้านทานโรคต่างๆ ลดลง การดูทีวียังส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง เนื่องจากไม่มีการกระตุ้นให้สมองใช้ความคิดตรึกตรองเหมือนการอ่านหนังสือ รวมถึงมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคสมาธิสั้น
กาศึกษาระยะยาวใน นิวซีแลนด์ที่ติดตามผลเด็กตั้งแต่แรกเกิด ได้ข้อสรุปว่า การดูทีวีมากเกินไปขณะเป็นเด็ก เกี่ยวโยงกับโอกาสประสบความสำเร็จทางการศึกษาที่ลดต่ำลงเมื่ออายุ 26 ปี ขณะที่การศึกษาของอิตาลีพบว่า เด็กที่ไม่ค่อยได้ดูทีวี มีระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่ช่วยชะลอการเจริญเติบโตทางเพศ สูงกว่าเด็กที่ดูทีวีบ่อย
อนึ่งรายงานของดร.ซิกแมนจำแนกพิษภัยของ ทีวีต่อเยาวชนไว้ละเอียดลออถึง 15 ข้อดังนี้ โรคอ้วน เนื่องจากมีการออกกำลังกายน้อยมาก แสงจากทีวียับยั้งการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน ภูมิคุ้มกันโรคลดลง การที่เมลาโทนินลดลงอาจทำให้มีโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะเกิดการกลายพันธุ์ในเซลล์ ดีเอ็นเอ ซึ่งทำให้เกิดมะเร็ง โตเป็นสาว/หนุ่มก่อนวัย ซึ่งเกี่ยวโยงกับการลดลงของเมลาโทนินเช่นเดียวกัน มีปัญหาในการนอนหลับ เนื่องจากความตื่นเต้นเร้าอารมณ์ของรายการทีวี
โรค ออทิสซึม หรือความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา การสื่อความหมาย พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ เกิดจากการขาดการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ไขมันในร่างกายเพิ่ม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเลปตินและเกรลินที่ผลิตไขมันและ กระตุ้นความอยากอาหาร ขาดสมาธิ เนื่องจากการพัฒนาเซลล์สมองที่ควบคุมช่วงความสนใจบกพร่อง มีปัญหาในการอ่าน ผลจากการขาดสิ่งกระตุ้นสติปัญญาขณะเป็นเด็ก เบาหวานประเภท 2 จากการกินอาหารแคลอรีสูงระหว่างดูทีวี คลื่นที่แผ่ออกมาจากทีวีมีความเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ภูมิคุ้ม กันบนผิวหนัง ทำให้คอเลสเตอรอลเพิ่ม เนื่องจากเด็กไม่ค่อยทำกิจกรรมอื่น นอกจากนั่งเฝ้าหน้าจอทีวี การดูทีวีอาจทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารช้าลงกว่าการไม่ทำอะไรเลย สายตาสั้น การดูทีวีมากๆ ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์
6. Border Green Energy Team - BGET (www.bget.org)
The Border Green Energy Team หรือ BGET เป็นองค์กรที่จัดฝึกอบรม การสร้าง ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านพลังงาน และช่วยหา แหล่งเงินสนับสนุน ชุมชนในเขตชนกลุ่มน้อย ทั้งสองด้านของชายแดน ไทย-พม่า
บีเจ็ททำงาน หลักๆ 4 อย่าง คือ 1.จัดฝึกอบรมช่างท้องถิ่น เพื่อให้ระบบไฟฟ้า เซลล์แสงอาทิตย์ ในโครงการเอื้ออาทร มีอายุการใช้งาน ที่ยาวนานขึ้น 2.จัดฝึกอบรม ด้านพลังงานหมุนเวียน ในค่ายผู้อพยพ 3.ติดตั้งและซ่อมบำรุง ระบบไฟฟ้าพลังงานน้ำ ขนาดเล็กในชุมชน และ 4.จัดฝึกอบรม การติดตั้งและซ่อมบำรุง ระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ตามแนวชายแดน (ติดตามข่าวความคืบหน้าและพื้นที่ตัวอย่างได้ที่เว็บไซด์)
นอกจากนี้ บีเจ็ทยังทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรอีกมากมาย อาทิ (1) พลังไท เป็นองค์กรอิสระไม่แสวงผลกำไร จัดตั้งในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมนโยบายที่ปฏิรูปภาคพลังงานในภูมิภาคนี้ โดยคำนึงถึงความสมดุลทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (2) Green Empowerment มีเป้าหมายขององค์กร คือ การส่งเสริมโครงการ ที่พัฒนาการใช้ พลังงานหมุนเวียน ระดับชุมชน และแหล่งน้ำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมในชุมชนห่างไกลทั่วโลก
(3) ZOA-Refugee Care ทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้อพยพ ผู้ถูกโยกย้ายถิ่นฐาน (IDPs) ผู้ย้ายกลับถิ่นเดิม หรือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยสงครามหรือภัยทางธรรมชาติ (4) TOPS (Taipei Oversea Peace Service) เป็นองค์กรอิสระไต้หวัน ที่ให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม โดยมากเพื่อการศึกษาสำหรับผู้อพยพ และชุมชนที่ผู้อพยพ หลั่งไหลเข้าไปอาศัยอยู่ รวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่หลีกหนีภัยสงครามจากพม่า (เวบไซต์เป็นภาษาจีน) (5) มูลนิธิช่วยเหลือเด็กชายแดนจังหวัดตาก (Tak Border Child Assistance Foundation) เป็นมูลนิธิไม่แสวงผลกำไร และไม่จำเพาะศาสนา จัดตั้งขึ้นโดยชุมชนท้องถิ่น ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ในปี 2548 มีเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กที่มาจากครอบครัวยากจน หรือครอบครัวที่จำเป็น ต้องหาเลี้ยงชีพ และไม่ได้ใส่ใจดูแลเด็กให้ได้รับการศึกษา เพื่อให้เด็กเหล่านี้ มีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ การศึกษาระดับสูง
ตามมาด้วย (6) Knightsbridge International, Inc., เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ทำงานให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติทั่วโลก โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เพื่อให้มีองค์กรที่สามารถทำงานได้โดยอิสระ และมุ่งให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์และด้านมนุษยธรรม
(7) เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (KNCE) - เป็นองค์กรอิสระ ที่ส่งเสริมการพัฒนา คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ในชุมชนชาวกะเหรี่ยง โดยการผสมผสานวัฒนธรรมและความรู้ ด้านเทคโนโลยี งานหลัก 4 ประการ ขององค์กรได้แก่ 1) จัดอบรมความ เป็นผู้นำให้แก่ผู้นำชุมชน และผู้นำในอนาคต 2) เสริมสร้าง และสนับสนุนการใช้วิถีชีวิตตามแนวกะเหรี่ยงในชีวิตประจำวัน 3) สนับสนุนให้ชุมชน เคารพอานุภาพของจักรวาล และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ที่สอดคล้องกับ วิธีทางธรรมชาติ อย่างยั่งยืนและสมดุล 4) บันทึกภูมิความรู้ และความเชื่อของ ชนชาวกะเหรี่ยง
(8) Karen Department of Health and Welfare (KDHW) - ทำงานเพื่อช่วยเหลือ ชาวกะเหรี่ยง ผู้ต้องอพยพ โยกย้ายถิ่นฐานในพม่า โดยจัดตั้งและสนับสนุนเครือข่ายสถานีอนามัย 29 แห่ง ที่ให้การรักษาพยาบาลแก่ประชาชนมากกว่า 100,000 คนในแต่ละปี ที่ต้องมีชีวิตอยู่ในการปราบปรามอย่างรุนแรงของทหารพม่า และ (9) SunEnergy Power International เป็นองค์กรสาธารณะที่ไม่แสวงหาผลกำไร ได้พัฒนาและทำการส่งเสริมโครงการพลังงานทดแทนต่างๆ ในพื้นที่ห่างไกล, ในส่วนปกครองต่างๆ ของโลก
7. RabbitHood กับโครงการ ‘ใจหาย’ (www.rabbithood.net)
RabbitHood คือองค์กรอิสระขนาดกระทัดรัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2550 เพื่อผลิตและจัดการโครงการศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย งานด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ ความตั้งใจหลักคือการสร้างชุมชนทางศิลปวัฒธรรมร่วมสมัยให้แข็งแรง อันจะเป็นรากฐานของการมีชีวิตที่ดีในโลกปัจจุบัน (หวังว่านะ)
ล่าสุด มานี้ร่วมกับองค์กรพันธมิตรจัดงาน "ทะลุหูขวา ครั้งที่ 21" ฉลองครบรอบสองปี! Fall On Deaf Ears พร้อมกับเปิดโครงการ 'ใจหาย' (Breathless) ไปเมื่อวันศุกร์ที่ 19 ธันวาคมนี้ เวลา 3 ทุ่มถึงเที่ยงคืน ที่ปันนาเพลส นิมมานฯ ซอย 6 อ.เมือง จ.เชียงใหม่
'ใจหาย' คือโครงการล่าสุดของ Rabbithood ที่ทำร่วมกับ ภาคีคนฮักเจียงใหม่ และ British Council โดยได้รับการสนับสนุนจาก สถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการศิลปะเพื่อสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วยชิ้นงานย่อยๆ จำนวน 7 ชิ้น เน้นจำเพาะไปที่ปัญหาสภาพหมอกควันในเชียงใหม่ รายละเอียดอื่นๆ ของโครงการนั้น สามารถเข้าไปติดตามได้ที่ www.beautifulbreathless.com ได้เลย
สำหรับงานเปิด+งานฉลองครบรอบสองปี เมื่อวันที่ 19 ธันวานั้น RabbitHood ทำเป็น Disco Night ตั้งชื่องานว่า WE ARE THE DESTROYER ชื่องานอาจจะแปลกๆ ไปหน่อย แต่มันก็มีที่มาที่ไปนะ เพราะว่าปาร์ตี้เปิดตัวนี้ก็เป็นหนึ่งในชิ้นงานเจ็ดชิ้นของ 'ใจหาย' ด้วย
เรา จะจัดปาร์ตี้กันสนุกสนานตามปกติ แต่คราวนี้มีความพิเศษอยู่ตรงที่เราจะคำนวณพลังงานที่ใช้ไประหว่างความสนุก สนานนั้น ออกมาเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น ทั้งไฟฟ้า แก้ว ขวด ยานพาหนะที่ใช้มากัน ฯลฯ จากนั้นทีมงานก็จะคำนวณออกมาเป็นตัวเลข แล้วก็มี graphic artist ทำออกมาเป็นภาพ ฉายขึ้นบนจอ ในขณะที่เรากำลังสนุกสนานสุดเหวี่ยงกัน จากนั้นเราจะสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้แล้วเอาไปใช้ในงานชิ้นต่อๆ ไป ไม่เพียงเท่านั้น (สำนวนรายการขายของในทีวีตอนดึก) เรายังมีฟุตเทจหนังสารคดีของ เจ-สันติภาพ อินกองงาม ที่มาถ่ายทำโครงการ 'ใจหาย' ตั้งแต่ต้น เปิดฉายให้ชมเป็นครั้งแรกที่งานนี้ด้วย (ติดตามความคืบหน้า และกิจกรรมต่อเนื่องได้จากเว็บไซต์ของกลุ่ม อีกทั้งโลคัลทอล์คจะนำข้อมูลมาประชาสัมพันธ์เป็นระยะๆ ต่อไป)
8. สาละวินโพสต์ - แบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน (www.salweennews.org)
ศูนย์ ข่าวสาละวิน หรือ Salween News Network Project (SNN) เป็นองค์กรเอกชนซึ่งก่อตั้งโดยนักข่าวไทยซึ่งมีประสบการณ์ทำงาน เกี่ยวกับประเทศพม่ามานานกว่า 7 ปี และเป็นองค์กรอิสระไม่ขึ้นกับกลุ่มการเมืองใดๆ ศูนย์ข่าวสาละวินเริ่มทำงานภายใต้ชื่อสำนักข่าวเชื่อม ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคภาษาไทยของสำนักข่าวชาน (S.H.A.N) ของกลุ่มไทยใหญ่ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2545 และแยกตัวออกเป็นศูนย์ข่าวสาละวินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2546 เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานข่าวเกี่ยวกับพม่าให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ศูนย์ ข่าวสาละวินเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมและผลิตข่าวสารเกี่ยว กับประเทศ พม่าเพื่อสังคมไทย เนื่องจากประเทศไทยและประเทศพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน มากกว่าสองพันกิโลเมตร และปัจจุบันมีประชาชนจากประเทศพม่ามากมายที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทย แต่สังคมไทยกลับยังคงรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศพม่าน้อยมาก ทำให้เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับประเทศพม่า สังคมไทยไม่สามารถหาทางออกในการแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน
สาเหตุที่ สังคมไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศพม่า เนื่องมาจากตลอดเวลาที่ผ่านมา ยังไม่มีองค์กรใดที่ทำงานรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศพม่า เป็นภาษาไทยอย่างจริงจัง ศูนย์ข่าวสาละวินจึงก่อตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่นี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า องค์กรของเราจะช่วยให้สังคมไทยมีความเข้าใจประเทศพม่ามากยิ่งขึ้น
โดย มีลักษณะการดำเนินงาน คือ 1. รวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศพม่าจากสำนักข่าวต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่เป็นภาษาอังกฤษ ทางศูนย์ข่าวจะดำเนินการแปลเป็นภาษาไทย ส่งให้ผู้อ่านผ่านทาง อีเมลของผู้สมัครเป็นสมาชิก จดหมายข่าว และเว็บไซต์ 2. ผลิตจดหมายข่าวและหนังสือเกี่ยวกับประเทศพม่า 3. ฝึกอบรมบุคลากรผู้ผลิตงานข่าวเกี่ยวกับประเทศพม่า และ 4. จัดพบปะระหว่างสำนักข่าวอิสระจากประเทศพม่าและสื่อมวลชนไทย
งานการ เผยแพร่หลักๆ ของศูนย์ข่าวคือส่งข่าวทางอีเมลล์ และจัดทำจดหมายข่าวราย 6 สัปดาห์ชื่อ สาละวินโพสต์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์หนังสือชุดเพื่อความเข้าใจในประเทศพม่า และจัดทำสื่ออื่นๆ อีกด้วย
9. The Story of Stuff (www.storyofstuff.com)
เรื่อง ราวที่ดังข้ามปีกับ “The Story of Stuff”... ที่ออกฉายครั้งแรกทางอินเตอร์เน็ตเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2550 จากวันนั้นถึงวันนี้ มีคนหลายล้านคนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ จากกว่า 224 ประเทศทั่วโลก และมีคน องค์กรต่างๆ หลายพันแห่งที่เรียกร้องให้แปลภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นนี้ออกเป็นภาษาอื่นๆ ด้วย...
เรื่อง Story of Stuff เริ่มต้นด้วยภาพและเสียงว่า “คุณเคยสงสัยไหมว่า ข้าวของเครื่องใช้รอบตัวเรามาจากไหนกันบ้าง และมันจะเดินทางไปไหนต่อเมื่อเราโยนทิ้ง”...แอนนี่ ลีโอนาร์ด (Annie Leonard ผู้หญิงคนที่อยู่ในรูปนั้นแหละ) มีคำตอบ
ด้วยความยาวประมาณ 20 นาทีที่จะกระตุกให้คุณหันมาสนใจ “ข้าวของ” ต่างๆ มากขึ้น ผ่านการบรรยายประกอบภาพการ์ตูน สอดแทรกด้วยมุขตลกร้ายๆ เธอใช้เวลานานกว่า 10 ปีเดินทางไปทั่วโลกเพื่อที่จะพบว่า เรื่องราวเกี่ยวกับข้าวของต่างๆ นั้น ไม่ได้มีแค่การใช้ทรัพยากร การผลิต การจัดจำหน่าย การบริโภค และการกำจัดขยะ เหมือนอย่างที่เขียนไว้ในตำราว่าด้วย “Material Economy”
แอ นนี่อธิบายว่า ทุกขั้นตอนล้วนต้องสัมพันธ์กันสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม มีผู้คนจำนวนมากใช้ชีวิตและทำงานอยู่ในระบบนี้ แต่ความจริงก็คือ..ทั้ง 5 ขั้นตอนรวมกันเป็นระบบที่เรียกว่า “linear system” นี้ไม่เหมาะเลยกับโลกที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด ได้แก่ 1.การใช้ทรัพยากร หรือถ้าจะเรียกให้ถูกควรใช้คำว่า การ “ผลาญ” ใช้ทรัพยากร เพราะมันร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ และกำลังจะหมดเกลี้ยงในไม่ช้า
เราใช้มันในการผลิตข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มากเกินไปแล้ว
2. ทรัพยากรจำนวนมากถูกป้อนเข้าสู่การผลิตในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งใช้พลังงานมหาศาล สารเคมีปริมาณนับไม่ถ้วน จึงไม่น่าแปลกใจที่ผลผลิตที่ได้จะปนเปื้อนไปด้วยสารที่เป็นอันตราย หรือเขียนเป็นสมการง่ายๆ ได้ว่า ทรัพยากรธรรมชาติ + พลังงาน + สารเคมี = ผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนสารเคมี
เราไม่มีทางรู้ว่า.. สารเคมีสังเคราะห์นับแสนชนิดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
แต่ ที่แน่ๆ มันแทรกซึมและสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร และตกค้างอย่างเข้มข้นอยู่ในร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้าย นั่นทำให้น้ำนมแม่กลายเป็นอาหารที่มีระดับการปนเปื้อนของสารพิษมากที่สุด
เด็กทารกจึงได้รับสารเคมีอันตรายปริมาณสูงผ่านการดื่มนมแม่
คน อีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าคือ คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม พวกเขาจำนวนมากไม่มีทางเลือกมากนัก จึงต้องก้มหน้าก้มตารับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายในระหว่างการทำงานต่อไป สิ่งที่น่าสะพรึงกลัวอีกอย่างหนึ่งคือ ผลพลอยได้อันน่ารังเกียจจากกระบวนการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่ชื่อ “มลพิษ” นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมประเทศที่พัฒนาแล้วจึงย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศกำลัง พัฒนา (หนึ่งในนั้นคือประเทศไทยและตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือนิคมอุตสาหกรรมมาบ ตาพุด-เพิ่มเติมโดยผู้เขียน)
3. เมื่อมาถึงขั้นตอนการจัดจำหน่าย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ขายสินค้าที่ปนเปื้อนสารพิษให้หมดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยการตั้งราคา ให้ถูกเข้าไว้ ราคาสินค้าจะถูกลงได้ก็ต่อเมื่อจ่ายค่าแรงถูก+สวัสดิการต่ำ (หลายกรณีละเลยการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยเลยยิ่งผลิตสินค้าได้ในราคาถูกเข้าไป อีก-เพิ่มเติมโดยผู้เขียน)
นั่นหมาย ความว่า ต้นทุนที่แท้จริงไม่ได้นำมาคิดรวมไว้ในราคาสินค้า หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้บริโภคไม่ได้จ่ายเงินซื้อสินค้าตามราคาที่แท้จริง ผู้ต้องที่จ่ายคือ คนในชุมชนที่ทรัพยากรถูกผลาญมาป้อนโรงงานและคนงานที่ล้มป่วยจากการทำงานใน โรงงานอุตสาหกรรมต่างหาก
4. แล้วก็มาถึงการบริโภคซึ่งเป็นหัวใจของระบบ ใช่แล้ว..ผู้บริโภคทุกคนต่างช่วยกันขับเคลื่อนระบบนี้ด้วยการชอปปิ้ง!!! ยิ่งซื้อมากเท่าไหร่ ยิ่งชอปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้การจัดจำหน่ายไหลลื่นมากเท่านั้น
เมื่อซื้อมาก จำหน่ายมาก ก็ต้องผลิตมาก และผลาญทรัพยากรมากตามไปด้วย..ใช่ไหม ไม่รู้ว่าสถิติของประเทศไทยจะเป็นเท่าไหร่ แต่ที่อเมริกาเหนือมีตัวเลขว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของข้าวของเครื่องใช้ที่ซื้อจะกลายเป็นขยะภายในเวลาเพียง 6 เดือน!!! 99 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งที่ผ่าน 3 ขั้นตอนแรกของระบบกลายเป็นขยะภายในเวลาเพียง 6 เดือน เหลือเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ยังใช้งานกันต่อไป โลกจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าเราใช้ทรัพยากรให้หมดเปลืองไปด้วยอัตราเร็วขนาดนี้
กลยุทธ์ ที่นิยมใช้เพื่อให้เกิดการซื้อเร็ว-ทิ้งเร็วมี 2 ประการ ประการแรก..การออกแบบสินค้าให้กลายเป็นขยะ หรือการออกแบบสินค้าให้เจ๊งหรือใช้งานไม่ได้ภายในเวลาอันสั้น เพื่อที่ผู้บริโภคจะได้โยนอันเก่าทิ้งแล้วสอยอันใหม่มาครอบครอง ผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบให้ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ได้แก่ ถุงพลาสติก ถ้วยกาแฟ และคอมพิวเตอร์ (เมื่อแอนนี่พูดถึงตรงนี้ มีการล้อเลียนได้อย่างแสบสุดๆ ขอไม่เล่ารายละเอียด เพราะอยากให้ดูเองมากกว่า)
ประการที่สอง..การทำ ให้รู้สึกว่าล้าสมัย ซึ่งเป็นวิธีการจูงใจให้ทิ้งข้าวของที่ “ยังใช้ได้” รูปลักษณ์ที่ถูกออกแบบให้ทันสมัยช่วยกระตุ้นความอยากทิ้งข้าวของเก่าๆ ได้มาก หรือแม้แต่แฟชั่นรองเท้าสตรีที่เปลี่ยนไป เดี๋ยวส้นเล็กแหลม เดี๋ยวส้นหนา และเดี๋ยวก็กลับมาฮิตมาส้นเล็กแหลมอีกแล้ว ซึ่งถ้าคุณไม่เปลี่ยนตามแฟชั่น คุณก็จะเชยจนทนไม่ได้ที่จะต้องควักเงินซื้อรองเท้าคู่ใหม่ ตัวจักรสำคัญของการทำให้รู้สึกเชยหรือทันสมัยคือ “โฆษณา” มันพยายามพร่ำบอกซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้เราไม่มีความสุขกับข้าวของเครื่อง ใช้ที่มีอยู่และก้าวออกจากบ้านไปชอปปิ้ง
5. สุดท้ายก็คือการกำจัดขยะ ด้วยการโยนเข้าเตาเผาขยะหรือไม่ก็ขุดหลุมฝังกลบ ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดมลพิศทางอากาศ, ดิน และน้ำ ยังจำได้ไหมว่าในขั้นตอนการผลิตนั้น มีการใส่สารเคมีเข้าไปในผลผลิต (เกือบ) ทุกประเภท พอมันถูกส่งเข้าเตาเผาขยะ มันจะกลายเป็น “Super Toxic” หรือ “โ-ค-ต-ร” สารพิษ แอนนี่ยกตัวอย่างถึง ไดออกซินซึ่งเป็นสารพิษสังเคราะห์โดยฝีมือมนุษย์ที่มีอันตรายมากที่สุด
คุณอาจจะยังไม่รู้ว่า..เตาเผาขยะผลิตไดออกซินสู่สิ่งแวดล้อมมากเป็น อันดับหนึ่ง วิธีการง่ายๆ ที่จะหยุดการพ่นไดออกซินก็คือ..หยุดการเผาขยะ
รีไซเคิลช่วยได้มั้ย..ได้ แต่มันยังไม่พอด้วยเหตุผล 2 ข้อ ข้อ 1 ขยะที่ถูกไปรีไซเคิลเป็นแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น (นึกออกไหม โผล่พ้นน้ำมานิดเดียว จมอยู่ใต้น้ำก้อนเบ้อเร่อ) ข้อ 2 ยังมีขยะอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เพราะมีสารพิษเป็นส่วนประกอบมากเกินไป หรือไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรีไซเคิล เช่น กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ ฟลอยล์ กระดาษ พลาสติก ผสานรวมเป็นเนื้อเดียวกันจนแยกไม่ออก
ส่วนบทส่งท้าย แอนนี่บอกให้มองเรื่องนี้ทั้งระบบ ไม่ใช่แยกส่วน ทางออกของปัญหามีอยู่แล้ว อย่าคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้หรืออุดมคติเกินไป ทั้งหมดนี้ มนุษย์เป็นคนสร้างขึ้นมา เราก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งใช่มั้ย
ฉะนั้นมา ช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อโลกของเรากันดีกว่า..เอ้า ลงมือกันเลย... (ขอบคุณข้อมูล บทแนะนำเรื่องนี้จาก Story of Stuff – รู้ทันบริโภคนิยม ได้อย่างน่าอ่านที่ http://blog.sukiflix.com/?p=353)
No comments:
Post a Comment