The Story of Bottled Water
Written by Annie Leonard, Jonah Sachs, and Louis Fox
Posted using ShareThis
About
The Story of Bottled Water, releasing March 22, 2010 on storyofbottledwater.org, employs the Story of Stuff style to tell the story of manufactured demand—how you get Americans to buy more than half a billion bottles of water every week when it already flows from the tap. Over seven minutes, the film explores the bottled water industry’s attacks on tap water and its use of seductive, environmental-themed advertising to cover up the mountains of plastic waste it produces. The film concludes with a call to ‘take back the tap,’ not only by making a personal commitment to avoid bottled water, but by supporting investments in clean, available tap water for all.
Our production partners on the bottled water film include five leading sustainability groups:
• Corporate Accountability International
• Environmental Working Group
• Food & Water Watch
• Pacific Institute
• Polaris Institute
Join our team: Please consider a tax-deductible gift to support the distribution of the Story of Bottled Water.
The Story of Bottled Water
Year: 2010
Length: 8:04mins
(Retrieved from http://storyofstuff.org/bottledwater/)
Watch at youtube at http://www.youtube.com/watch?v=Se12y9hSOM0
http://www.localtalk2004.com/V2005/detail.php?file=1&code=s1_23102008_01
ข้อมูลจากองค์กรด้านการป้องกันทางสิ่งแวดล้อม สหประชาชาติ รายงานว่าปริมาณการใช้ถุงพลาสติกทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 500 พันล้าน ถึง 1,000 ล้านถุงต่อหนึ่งปีเลยทีเดียว และในปริมาณการใช้นี้ มีถุงพลาสติกที่ใช้แล้วที่ถูกนำเข้าสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล คิดแล้วไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมดด้วยซ้ำไป เนื่องจากต้นทุนที่ใช้ในการรีไซเคิลถุงพลาสติกใช้แล้วเหล่านั้นเมื่อคิด คำนวณค่าใช้จ่ายต่อหน่วยแล้ว พบว่าสูงกว่าการผลิตถุงใหม่ขึ้นมาใช้อย่างมากนั่นเอง
จากการศึกษาวิจัยเมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้ว มีการขนขยะพลาสติกออกไปทิ้งในทะเลราว8 ล้านปอนด์ (ประมาณ 17 ล้านตัน) ของทุกๆ ปี เราคงจินตนาการได้ไม่ยากเลยว่า พื้นที่สำหรับทิ้งขยะหรือหลุมขยะบนพื้นดินคงมีไม่พออีกแล้ว เราจึงต้องขนไปเทลงทะเล จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ถุงพลาสติกที่ลอยไปมาในทะเล ลอยไปเกือบทุกหนแห่งที่น้ำทะเลเชื่อมต่อกับแม่น้ำหรือทะเลสาบทั้งหลาย ในขณะเดียวกันเศษขยะ – ถุงพลาสติกที่ถูกทิ้งลงในท่อน้ำ หรือแม่น้ำก็ย่อมจะลอยลงไปสู่ทะเลเช่นกัน
เมื่อเวลาผ่านไป ยิ่งนานวันเท่าไร ถุงพลาสติกหรือเศษซากเหล่านั้นก็จะฉีกขาด มีขนาดเล็กลงไปตามกาลเวลา แต่มันกลับไม่ได้ย่อยสลายไป และยิ่งแทรกซึมไปในดินและน้ำมากขึ้นเท่านั้น กล่าวได้ว่ายิ่งเล็ก ยิ่งแทรกซึมไปกับห่วงโซ่อาหารของสัตว์ และมนุษย์มากขึ้น ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ แต่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตทั้งคนและสัตว์
กองทุนสัตว์ป่าโลกรายงานเมื่อปี ค.ศ.2005 ว่า มีสัตว์น้ำทะเลจำนวนหลากหลายชนิด อาทิ ปลาวาฬ ปลาโลมา แมวน้ำ และเต่าทะเล ตายไป เนื่องมาจากการกลืนกินถุงขยะพลาสติกเข้าไป เกือบ 200 ตัว... “หากแต่พวกเราร่วมใจหันมาใช้ถุงผ้ากัน เพียงมีไว้คนละหนึ่งถุง เราแต่ละคนจะช่วยประหยัดการใช้ถุงพลาสติกลงได้ถึง 6 ถุงต่อวัน นั้นหมายความว่า เราลดการใช้ถุงพลาสติกลงได้ 42 ถุง ต่อสัปดาห์, 288 ถุงต่อเดือน, 22,176 ถุงใน ช่วงอายุเฉลี่ยของมนุษย์เราที่เดียว และถ้าคนเพียง 1 ใน 5 ของแต่ละประเทศทั่วโลกทำอย่างนี้ เราจะลดการถุงพลาสติกได้มากกว่า 1 พันล้านล้านใบในช่วงอายุหนึ่งชั่วคน! และแน่นอนว่า เราทำได้ เราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและช่วยโลกได้”
-
ประเทศรวันดา ห้ามใช้ถุงพลาสติกไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2005
-
ประเทศบังกลาเทศ ห้ามใช้ถุงพลาสติกไปแล้วเหมือนกัน ตั้งแต่ต้นปี 2007 ที่ผ่านมา
-
จีนได้สั่งห้ามแจกถุงพลาสติกให้ใช้กันฟรีๆ ตั้งแต่ต้นปีนี้แล้ว
-
ไอร์แลนด์ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในยุโรป เริ่มเก็บภาษีจากการผลิตถุงพลาสติกตั้งแต่ปี 2002 ทำให้การผลิตและการใช้ถุงพลาสติกในประเทศลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์
-
ประเทศอิสราเอล, แคนาดา, อินเดียตะวันตก, บอสวานา, เคนย่า, ทานซาเนีย, แอฟริกาใต้, ไต้หวั่น และสิงคโปร์ ได้ห้ามการใช้ถุงพลาสติกและรณรงค์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน
-
ส่วนเมืองซานฟรานซิสโก เป็นเมืองแรกในสหรัฐอเมริกาที่ออกมาห้ามใช้ถุงพลาสติก เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ปีที่แล้วนี่เอง ส่วนโอ๊คแลนด์และบอสตัน กำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่
ขยะพลาสติริมชายฝั่งแห่งหนึ่งในกรุง มะนิลา - ฟิลิปปินส์ (ภาพโดย สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์)
หากเราย้อนกลับมาพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตถุง พลาสติกที่เราใช้กันอยู่ที่วันนี้ ก็จะพบว่ามันถูกผลิตขึ้นจากพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติก (thermoplastic) ชนิดโพลีเอทธีลีน (polyethylene)ซึ่งได้มาจากน้ำมันนั่นเอง ดั้งนั้น ยิ่งเราช่วยกันลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากเท่าไหร่ ก็ย่อมหมายถึงการลดการพึ่งพาน้ำมัน ที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศด้วยนั่นเอง ยกตัวอย่าง ประเทศจีน ที่จะสามารถลดการใช้น้ำมันได้ถึง 37 ล้านบาร์เรล หากเพียงในแต่ละปีจะไม่มีการใช้และผลิตถุงพลาสติกออกม
นอกจากถุงพลาสติกแล้ว ปริมาณการใช้ขวดน้ำพลาสติกจำนวนมากมายมหาศาลทั่วโลกก็สร้างปัญหาให้กับสิ่ง แวดล้อม เป็นปรากฏการณ์การต่อสู้ที่ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และนักสิ่งแวดล้อมกำลังเผชิญอยู่ด้วย...
ขวดพลาสติกที่บรรจุน้ำดื่มใส สะอาด(หรือเปล่า?) หรือน้ำอัดลม น้ำดื่มเกลือแร่ รวมไปถึงเครื่องดื่มต่างๆ มากมายหลากหลายชนิดนั้น ดูเหมือนเป็นสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้บริโภคทั้งด้านความอร่อยและความพอใจในรูปลักษณ์ของขวดพลาสติกรูปร่างแปลกใหม่ จูงใจ น่าซื้อ แต่ในอีกด้านมืดของความงดงามเหล่านี้ คือขวดพลาสติกเหล่านั้นอีกไม่นานกำลังจะกลายเป็นขยะอันตรายสำหรับโลกของเรา
บริษัทให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านการปกป้องสิ่ง แวดล้อม หรือ Environmental Protection Industries (EPI) ได้ทำการวิจัย และเปิดเผยว่าปริมาณการใช้พลาสติกเพื่อทำไปผลิตขวดน้ำในแต่ละปีนั้นมีปริมาณ มากถึง 2.7 ล้านตัน นั่นเป็นข้อมูลหนึ่งที่พวกเรายิ่งต้องคิดให้มากว่า “ถึง เวลาแล้วที่เราทุกคนจะช่วยกันลดการใช้ หรือซื้อขวดน้ำพลาสติกเสียที” และตามข้อมูลเบื้องต้นที่ว่า พลาสติกชนิดโพลิเอทธิลีน หรือไม่ว่าจะเป็นพลาสติกต่างๆ นั้นก็ล้วนแต่ผลิตมาจากน้ำมันดิบทั้งสิ้น “ใน การผลิตขวดน้ำพลาสติกเพื่อตอบสนองความต้องการของคนอเมริกันอย่างเพียงพอนั้น จำเป็นต้องให้น้ำมันดิบราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อปีที่เดียว ซึ่งมันเท่ากับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เติมรถยนต์ประมาณ 1 แสน คันต่อปีนั่นเอง”
“ในจำนวนการใช้ขวดน้ำพลาสติกที่มากมายมหาศาลนั้น กลับพบว่าประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีการนำเข้าสู่ กระบวนการรีไซเคิล แต่อีกกว่า 86 เปอร์เซ็นต์ต้องทิ้งเป็น เพียงขยะไปเท่านั้น” ข้อมูลจากสถาบันการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ ในวอชิงตัน ดีซี สหรัฐฯ “ไม่เพียงเท่านั้น ขยะที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมโลกของเรา จำต้องใช้เวลากว่า 400 – 1,000 ปีในการย่อยสลายอีกด้วย”
จากการศึกษาวิจัยในสหรัฐอเมริกา ยังพบอีกว่า น้ำที่นำมาบรรจุขวดขายนั้น 25 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดก็คือใช้น้ำประปาจากเทศบาลมาบรรจุขายนั้นเอง ทั้งน้ำดื่มบริสุทธิ์ และน้ำดื่มอัดลม ก็นำน้ำประปามาใช้ (ทั้งๆ ที่เสียเงินซื้อน้ำเพียงน้อยนิด แต่นำกลับมาขายในอัตราที่สูงกว่าต้นทุนหลายร้อยเท่าตัว เช่น ในประเทศแคนาดา บริษัทผลิตเครื่องดื่มน้ำดำรสซ่า เสียเงินคิดเป็นเพียง 0.001 ของหนึ่งดอลล่าร์ ต่อน้ำหนึ่งลิตร แต่ผลิตเครื่องดื่มมาขายสูงขึ้นหลายพันเท่า)
ในบางรัฐบางแห่ง น้ำประปาก็ยังสะอาดสามารถบริโภคได้ และอาจจะสะอาดกว่าน้ำที่บรรจุในขวดด้วยซ้ำไป เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว เจ้าหน้าที่จะมีการตรวจคุณภาพน้ำประปาโดยตลอด มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่หากเป็นบริษัท โรงงานผลิตน้ำแล้ว พบว่าจะมีเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้นเอง
จากตัวเลข 22 เปอร์เซ็นต์ ของยี่ห้อสินค้าที่ถูกตรวจสอบยังพบสารเคมีปนเปื้อนในน้ำ เกินมาตรฐานทางสาธารณสุขอีกด้วย หากผู้บริโภคดื่มต่อไปในระยะยาว อาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งและปัญหาทางสุขภาพด้านอื่นๆ ด้วย – เราน่าจะลองมองหาทางเลือกใหม่ๆ ดูดีกว่านะคะ
ทางเลือกที่ว่านอกจากจะลด หลีกเลี่ยงการซื้อน้ำจากขวดพลาสติกดื่มแล้ว เราอาจหันมาใช้บริการบรรจุภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ในบางประเทศมีบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติ และสามารถย่อยสลายได้ภายใน 75-80 วัน เนื่องจากทำมาจากใยข้าวโพด เป็นต้น, หรือ การหันมาใช้ขวดน้ำ บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากแก้ว หรือพลาสติกที่ทนทานมากขึ้น สามารถใช้ได้นาน ใช้ซ้ำได้, หันมาติดเครื่องกรองน้ำดื่มที่บ้าน แทนการซื้อน้ำจากขวดพลาสติกมาสำหรับดื่มกินทุกๆ สัปดาห์, ดื่มน้ำประปาเทศบาล หรือจากบริการของรัฐ (ไม่แน่ใจว่าในประเทศไทยของเรา น้ำประปาสามารถใช้ดื่มได้หรือไม่ เราคงต้องช่วยกันศึกษา และเรียกร้องให้น้ำประปาบ้านเราสามารถดื่มได้ด้วยเช่นกัน)
นอกจากพวกเราชาวโลกจะช่วยกันเผาผลาญใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ไปใช้เติมรถขับขี่ ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งก็เป็นสาเหตุหนึ่งในการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นแล้ว นอกจากเราทุกคนจะปฏิเสธไม่ได้ว่า เราต่างเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาโลกร้อนที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้แล้ว ในกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเราประจำวัน ก็ยังมีส่วนทำให้สารเคมีปนเปื้อนในบรรยากาศ ดิน น้ำ ตลอดจนห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตทั้งคน ทั้งสัตว์อีกด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น ในการอุตสาหกรรมการผลิตขวดพลาสติกยังใช้น้ำจำนวนมหาศาลอีกด้วย ข้อมูลจากสถาบันแปซิฟิกกล่าวว่า ต้องใช้น้ำถึง 3 ลิตร ในการผลิตน้ำขวด 1 ลิตร และยังต้องใช้พลังงานเดินเครื่องจักรในการบรรจุน้ำลงขวด และก็ส่งขวดน้ำพลาสติกทั้งหลาย ผ่านทางรถไฟ รถยนต์ เครื่องบิน เรือ ส่งไปถึงมือผู้บริโภคอีกด้วย นำไปแช่ตู้เย็น รวมไปถึงการจับเก็บ การกำจัด การรีไซเคิล ขวดน้ำที่หลังใช้แล้วก็กลายเป็นขยะพลาสติก จะเห็นได้ว่าในกระบวนตั้งแต่ต้น ในการผลิตน้ำขวดจนมาถึงมือผู้บริโภคต้องอาศัยพลังงานมากมายทีเดียว
มูลนิธิเดวิดซูซุกิ (David Suzuki foundation) องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ยังให้ข้อมูลด้วยว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของขวดน้ำพลาสติกถูกทิ้งไป โดยปราศจากการนำกลับมารีไซเคิลใหม่อีกด้วย แต่มันไม่ได้สูญสลายไปไหนเลย มันถูกฝังอยู่ที่หลุมทิ้งขยะที่ใดที่หนึ่ง และต้องอาศัยเวลามากกว่า 1 พันปี มันถึงจะย่อยสลาย และมันอาจจะปล่อยสารพิษปนเปื้อนในดินด้วย ขวดพลาสติกบางส่วนยังถูกพัดพาไหลไปสู่ทะเล และหากมันถูกกิน หรือถูกย่อยโดยสิ่งมีชีวิตในทะเล สัตว์ทะเล หรือแม้แต่นก ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อาหาร สุดท้ายแล้ว ในวันหนึ่งมันย่อมเดินทางมาถึงเราแน่นอน
การดื่มน้ำจากขวดพลาสติก ดูเหมือนว่ามันจะกลายเป็นพฤติกรรมประจำวันไปแล้ว ทำให้ใครหลายคนขาดการตระหนักไปว่า การซื้อน้ำดื่มอย่างนี้ตลอดนั้น เราต้องจ่ายเงินแพงทีเดียว หรือหากเราจ่ายเงินซื้อวันละขวด เราก็จะพบว่า ในหนึ่งปีเราต้องเสียเงินซื้อน้ำมากกว่า 700 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปีทีเดียว (หรือประมาณ 23,400 บาทต่อปี – ข้อมูลนี้คือรายจ่ายของชาวแคนาดา) จากข้อมูลต่างๆ นี้ เราน่าจะช่วยกัน ”ลด ละ เลิก” การใช้ขวดน้ำพลาสติกแบบดื่มแล้วทิ้งเสียที ก่อนขยะจะล้นโลก ก่อนที่สภาพแวดล้อมโลกจะยิ่งแย่ไปมากกว่านี้ ก่อนที่จะสายเกินไปนะคะ.